กสทช.คุมถือครองคลื่นความถี่

กสทช.คุมถือครองคลื่นความถี่

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

กสทช.คุมถือครองคลื่นความถี่ ไม่เกิน60เมกะเฮิรตซ์ โดยในปี 2558 กสทช.ได้เตรียมดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จี ใน 2 ช่วง

 "คลื่นความถี่” ถือเป็นทรัพยากรของประเทศชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ที่สามารถนำไปใช้งานโทรศัพท์มือถือทั้งในระบบเสียงและอินเทอร์เน็ต

ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ต้องนำคลื่นความถี่ไปจัดสรรโดยวิธีการประมูลเพื่อเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลเคาะราคาเพื่อนำเงินเข้ารัฐ และนำคลื่นความถี่ไปเปิดใช้บริการประชาชน

โดยในปี 2558 กสทช.ได้เตรียมดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4จี ใน 2 ช่วง โดยช่วงแรกเป็นการประมูลคลื่นย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 11 พ.ย. 58 จำนวน 2 ใบอนุญาต และคลื่นย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 15 ธ.ค. 58

แต่เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. จึงได้เพิ่มเงื่อนไขการประมูล 4จี โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องถือครองคลื่นความถี่ในมือไม่เกิน 60 เมกะเฮิรตซ์เฉพาะผู้ที่ใช้งานและมีสิทธิใช้งาน ซึ่งหมายถึงผู้ที่รับสัมปทาน และหากถือครองคลื่นคนละนิติบุคคล มีบริษัทในเครือเป็นผู้ใช้คลื่น ก็จะต้องนำคลื่นมานับรวมทั้งหมด

ในขณะเดียวกันหากทำการประมูลคลื่นแล้ว ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมมีจำนวนคลื่นที่ถือครองเกิน 60 เมกะเฮิรตซ์ตามเงื่อนไข จะต้องนำคลื่นที่มีอยู่เดิมคืนกลับมาที่ผู้ให้สัมปทานหรือผู้ให้ใบอนุญาต เพื่อนำคลื่นนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดนี้ได้ผ่านการเห็นชอบจาก กทค.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมให้สำนักงาน กสทช.นำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 18 ก.ค. 58 ต่อไป

เมื่อกลับมาดูการถือครองคลื่นความถี่ในปัจจุบันนั้น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัท ทรู คอร์ปอเรช่ัน จำกัด (มหาชน) มีจำนวนการถือครองอยู่ที่รายละ 15 เมกะเฮิรตซ์

ส่วนบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค มีคลื่นที่ถือครองอยู่ 75 เมกะเฮิรตซ์ โดยเป็นคลื่นที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ทั้งสิ้น 25 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากที่สุด โดยดีแทคจะคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ 5 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้ กสทช.นำเอาไปประมูล 4จี นอกจากนี้จะนำคลื่นที่ไม่ใช้งานจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ ดีแทคมีแผนปรับเป็นเทคโนโลยีแอลทีอี 4จี เพื่อให้บริการลูกค้า

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มเงื่อนไขการถือครองคลื่นความถี่นั้น กสทช.ย้ำว่าต้องการสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม และที่สำคัญเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ที่มา:

 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,426 ครั้ง

คำค้นหา : "คลื่นความถี่” ถือเป็นทรัพยากรของประเทศชาติซึ่งหนึ่งในนั้นคือคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ที่สามารถนำไปใช้งานโทรศัพท์มือถือทั้งในระบบเสียงและอินเทอร์เน็ตตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. จึงได้เพิ่มเงื่อนไขการประมูล 4จี การเพิ่มเงื่อนไขการถือครองคลื่นความถี่นั้น กสทช.ย้ำว่าต้องการสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม และที่สำคัญเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป