นายเคนเน็ธ อาเรดอนโด ประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัท ซีเอเทคโนโลยี เปิดเผยว่า บริษัทวิจัย Zogby Analytics ได้ดำเนินการสำรวจและศึกษาภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยี โดยได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 1449 ราย และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจอีก 259 รายใน 5 ประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ผลการศึกษาล่าสุดที่สนับสนุนโดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยี ชี้ให้เห็นว่า แอพพลิเคชั่นต่างๆ ทั้งในรูปแบบในโมบายและเดสก์ท็อปกำลังจะเป็นสมรภูมิใหม่ของการช่วงชิงความภักดีต่อแบรนด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เพราะในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจกำลังถูกผลักดันด้วยซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น โดยผู้บริโภคทุกวันนี้จะคาดหวังมากขึ้นจากการใช้งานแอพพลิเคชั่น และหากและธุรกิจใดล้มเหลวที่จะนำเสนอประสบการณ์ใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ดี ก็กำลังเสี่ยงที่จะสูญเสียฐานลูกค้าไปอย่างน้อย 1 ใน 3 ของที่มีอยู่เดิม
ผลการศึกษาที่ใช้ชื่อว่า ซอฟต์แวร์-สมรภูมิใหม่ของความภักดีต่อแบรนด์ (Software - the new battle ground for brand loyalty) ได้ทำการศึกษา และสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภคจำนวน 1449 คนและผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจอีก 259 คนใน 5 ประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นเพื่อดูว่าแต่ละกลุ่มมีความคิดอย่างไรต่อผลที่แอพพลิเคชั่นมีผลกระทบต่อการใช้งานของผู้ใช้งานและธุรกิจที่แตกต่างกัน จะมีผลเรื่องนี้เช่นไร ซึ่งผลก็ออกมาว่าผู้ตอบแบบสอบถามได้ชี้ให้เห็นตัวแปร 3 อย่างที่มีผลกระทบมากที่สุดประสบการณ์การใช้งานของผู้บริโภคนั่นคือ
1.ต้องโหลดได้เร็ว-มีอยู่ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามได้ทิ้งแบรนด์เดิม wx ก็เพราะว่าเจอปัญหาโหลดช้าและระบุด้วยว่าเวลาโหลดที่ยอมรับได้อยู่ที่ 6 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น ในขณะที่มีอีก 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าต้องการเวลาโหลดที่น้อยกว่า 3 วินาที
2.ฟังก์ชั่นการใช้งานต้องง่าย-มีมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จัดอันดับว่าฟีเจอร์การใช้งานที่ง่าย คือตัวผลักดันที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจที่จะใช้งานหรือซื้อแอพพลิเคชั่น นอกจากนี้ยังมี 63% ที่ระบุว่าแรงผลักดันในการตัดสินใจมาจากตัวแอพพลิเคชั่นที่ทำงานได้โดยไม่มีปัญหายุ่งยาก
3.ความมั่นใจเรื่องการรักษาความปลอดภัย-พบว่ามีมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์มองว่าขีดความสามารถของแอพพลิเคชั่น ที่จะต้องปกป้องจุดอ่อนต่างๆ อย่างเช่นไวรัสและการโจมตีเพื่อปฏิเสธการใช้งานโดยแฮกเกอร์และทำงานตามฟังก์ชั่นต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยและมีการรักษาความปลอดภัยคือตัวแปรด้านฟีเจอร์การใช้งานที่สำคัญ นอกจากนี้สำหรับฝั่งยูสเซอร์ที่เคยมีประสบการณ์ใช้งานที่มีปัญหาการรักษาความปลอดภัยแอพพลิเคชั่นมาก่อน พบว่ามี 17 เปอร์เซ็นต์บอกว่าจะทิ้งแบรนด์นั้นไปเลย
“บริษัทต่างๆ จำเป็นที่จะต้องนำเอาแนวคิดที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลางมาใช้พร้อมรวมเข้ากับการที่ต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อตลอด และท้ายที่สุดแล้วบริษัทจะต้องมี แอพพลิเคชั่น ที่สามารถปรับแต่งให้ตรงการใช้งานของผู้ใช้ ต้องมีการรักษาความปลอดภัย ตอบสนองความต้องการและใช้งานได้ด้วยเช่นกัน”
อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างในความคิดเห็นที่พบจากการศึกษานี้ก็คือ สิ่งที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจคิดว่าอุตสาหกรรมของตนจะสามารถนำเสนอผ่าน แอพพลิเคชั่นได้และความเห็นต่างที่ผู้บริโภคคิดว่าอุตสาหกรรมเดียวกันนั้นจะสามารถนำเสนอสิ่งที่ตนต้องการได้ ซึ่งผลจากการสำรวจชี้ว่า ทางภาคธุรกิจมักคิดว่าการนำเสนอ แอพพลิเคชั่น ของตนนั้นออกมาดีกว่ามุมมองที่ผู้บริโภคคิดอยู่และความแตกต่างกันนี้มีมากถึง 14 เปอร์เซ็นต์ในภาคธุรกิจบริการการเงินและ 11 เปอร์เซ็นต์ในภาคราชการและบริการสาธารณะ
นอกจากนี้ผลการศึกษาดังกล่าวยังได้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญว่า แอพพลิเคชั่น ต่างๆ ได้กลายมาเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างผู้บริโภคกับองค์กรทางธุรกิจ ซึ่งถ้าดูจากผลของการสำรวจครั้งนี้พบว่ามีมากกว่าครึ่ง หรือ 52 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้งานแอพพลิเคชั่น ต่างๆ เพื่อใช้ในการช็อปปิ้ง และมี 49 เปอร์เซ็นต์ ใช้แอพพลิเคชั่น เพื่อติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคาร และมีมากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าต้นได้ใช้แอพพลิเคชั่น เพื่อซื้อและดูสื่อมีเดียต่างๆ เช่น วีดีโอและรายการทีวีโชว์ในแบบออนไลน์
“บริษัทและองค์กรต่างๆ จะต้องเลิกมองว่า แอพพลิเคชั่น นี้เป็นเพียงแค่ส่วนขยายของธุรกิจตน แต่จะต้องมองว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของโมเดลธุรกิจที่มี และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้บริษัทต่างๆ จำเป็นที่จะต้องมองให้ชัดว่าผู้บริโภคต้องการสิ่งใดและจะทำเช่นไรที่จะรับฟังความต้องการ รวมทั้งจัดหาระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เพื่อที่จะมีมุมมองที่ลึกและคาดการณ์ล่วงหน้ามากขึ้นในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้งาน” นายเคนเน็ธ อาเรดอนโด กล่าว”
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก :
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
คำค้นหา : ซีเอเทคชี้ผู้บริโภคทิ้งแบรนด์เทคโนโลยีนายเคนเน็ธ อาเรดอนโดแบรนด์มาเร็ว ไปเร็ว ความทันสมัยของเทคโนโลยี