ซื้อสินค้าช่วง 1 ม.ค.-15 ก.พ. 67 ขอ e-Tax Invoice ลดหย่อนภาษีได้

ซื้อสินค้าช่วง 1 ม.ค.-15 ก.พ. 67 ขอ e-Tax Invoice ลดหย่อนภาษีได้

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technic

เตือน! ซื้อสินค้าช่วง 1 ม.ค.-15 ก.พ. 67 อย่าลืมขอ e-Tax Invoice ลดหย่อนภาษีได้


โฆษกรัฐบาล เตือนคนไทยซื้อสินค้าช่วง 1 ม.ค.- 15 ก.พ.67 อย่าลืมขอรับ Tax Invoice หรือ e-Receipt เพราะสามารถขอลดหย่อนภาษีได้

วันนี้ 4 ม.ค. 2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประชาสัมพันธ์มาตรการ "Easy E-Receipt" ย้ำเตือนคนไทยผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ ตามที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 15 ก.พ.2567 ขอหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice หรือ e-Receipt) ยอดรวมสูงสุดถึง 50,000 บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ

เชื่อมั่นว่าจะเป็นแรงส่งกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจประเทศให้ขยายตัว และต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี และการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้กำหนดมาตรการ “Easy E-Receipt” กระตุ้นการใช้จ่าย โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ตามกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 391 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้เป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้

 (1) ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
 (2) ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
 (3) ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

 โดยไม่รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ดังต่อไปนี้

 (1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
 (2) ค่าซื้อยาสูบ
 (3) ค่าซื้อน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
 (4) ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
 (5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
 (6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ 1
 (7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

ทั้งนี้ โฆษกรัฐบาลได้เผยแพร่คำตอบเพื่อคลายข้อสงสัย ดังนี้

  • ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ ตามมาตรการ Easy E-Receipt คือบุคคลธรรมดา เท่านั้น ไม่รวม ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ใบกำกับภาษีต้องมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพียงคนเดียว
  •  ผู้ซื้อมีที่อยู่ตามบัตรประชาชน กับที่อยู่ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลแตกต่างกันจะใช้ที่อยู่ตามบัตรประชาชน หรือ ที่อยู่ปัจจุบันก็ได้
  •  ต้องเป็นการชำระค่าบริการและใช้บริการ ในช่วง 1 ม.ค. 2567 ถึง 15 ก.พ. 2567 เท่านั้น
  •  ค่าซื้ออาหารในโรงแรม สามารถนำมาลดหย่อนได้ หากโรงแรมสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ของค่าซื้ออาหารได้
  • ค่าซื้อแพคเกจทัวร์ท่องเที่ยวในประเทศ สามารถนำมาลดหย่อนได้ หากเป็นค่าที่พักโรงแรมหรือบริการนำเที่ยวระหว่าง 1 ม.ค. 2567 ถึง 15 ก.พ. 2567 และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ได้
  • ค่าซ่อมรถ สามารถนำมาลดหย่อนได้ หากเป็นการซ่อมและจ่ายค่าซ่อม ระหว่าง 1 ม.ค. 2567 ถึง 15 ก.พ. 2567 และผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ได้
  • การซื้อทองรูปพรรณสามารถนำมาลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ได้
  •  ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ไม่สามารถนำมาลดหย่อนเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศได้


ที่มา: pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/213853

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Bella
เข้าชม 699 ครั้ง

คำค้นหา : e receipte tax invoiceeasy e-receiptใบกำกับภาษีแบบเต็มภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใบกำกับภาษีลดหย่อนภาษีลดหย่อนภาษี e tax invoiceวิธีคิดภาษีที่ต้องเสีย