ดูแลสมาร์ทโฟนที่รัก ไม่ให้กลายเป็นระเบิดเคลื่อนที่

ดูแลสมาร์ทโฟนที่รัก ไม่ให้กลายเป็นระเบิดเคลื่อนที่

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

ดูแลสมาร์ทโฟนที่รักของคุณอย่างไร? ไม่ให้กลายเป็นระเบิดเคลื่อนที่
ปัจจุบันสมาร์ตโฟนได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของเราแบบขาดกันไม่ได้ เปรียบได้ดั่งขาดเธอเหมือนขาดใจ แต่จะมีสักกี่คนที่รับรู้ถึงความเสี่ยงว่าที่ถืออยู่ในมือคุณ

วันหนึ่งมันอาจจะกลายมาเป็นระเบิดเวลาที่สามารถทำอันตรายได้ทุกเมื่อ ในกรณีที่สมาร์ทโฟนแปลงร่างเป็นระเบิดเคลื่อนที่นี้ไม่ใช่ความผิดพลาดในการผลิต แต่เป็นความไม่ระวังในการใช้งาน

ทำไมสมาร์ทโฟนถึงระเบิด
สมาร์ตโฟนหรือมือถือเกือบทั้งหมดใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไออน ซึ่งตัวมันเองมีความหนาแน่นสูง มีหน่วยความจำขนาดเล็ก และมีอัตราการคลายประจุต่ำ แบตเตอรี่แบบนี้จึงถูกนิยมนำมาใช้เป็นแบตเตอรี่ที่ชาร์จซ้ำได้สำหรับอุปกรณ์พกพา ในตัวแบตเตอรี่จะมีเซลล์ที่ประกอบไปด้วยสารนำกระแสและขั้วกระแสไฟฟ้า หากมีไฟฟ้าลัดวงจรจะทำให้วงจรร้อนจัดจนเกิดระเบิด ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการผลิต หรือปัญหาเรื่องการสัมผัสหรืออยู่ใกล้กับความร้อน

อย่าวางสมาร์ทโฟนไว้ใต้หมอน
คงไม่ใช่ความคิดที่ดีนักถ้าจะวางสมาร์ตโฟนไว้ใต้หมอน เพราะขี้เกียจเอื้อมไปวางไว้ข้างเตียง เพราะคิดว่าอยู่ใกล้ ๆ จะได้หยิบง่าย โดยเฉพาะยิ่งถ้าชาร์จแบตแล้ววางไว้ใต้หมอน เพราะจะมีความร้อนเกิดขึ้นใต้หมอนอย่างต่อเนื่อง และตัวแบตเตอรี่จำเป็นจะต้องมีการระบายความร้อน แม้แต่การวางไว้บนเตียงก็ยังอันตรายอยู่ดี เพราะเตียงจะดูดความร้อนเอาไว้ ควรวางไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทจะดีกว่า

ใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ได้มาตรฐาน
อุปกรณ์ชาร์จที่มากับตัวเครื่อง คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ชาร์จนั้นเป็นของที่มีคุณภาพ ตัวแบตเตอรี่ลิเธียมควรจะได้รับกระแสไฟอยู่ที่ 2.5-3.65V ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมที่โทรศัพท์จะสามารถรับได้ หากคุณซื้ออุปกรณ์ชาร์จที่ได้มาตรฐาน คุณจะไม่กังวลกับเรื่องเหล่านี้ แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ชาร์จราคาถูก ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้น

หลีกเลี่ยงความร้อน
หลีกเลี่ยงการใช้งานสมาร์ทโฟนในที่ที่มีความร้อนสูงเป็นเวลานาน ๆ เช่น กลางแดด หรือวางทิ้งไว้ในรถกลางแดดตลอดทั้งวัน และไม่ควรชาร์จสมาร์ตโฟนในที่ที่มีอุณหภูมิเกิน 45 องศาเซลเซียส ควรชาร์จในที่ที่มีอุณหภูมิระหว่าง 5-45 องศาเซลเซียส การชาร์จที่อุณหภูมิต่ำกว่านี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

อย่าใช้แอปพลิเคชันพร้อมกันมากเกินไป
การใช้งานแอปฯ พร้อมกันมากเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นกับสมาร์ทโฟนเนื่องจากแอพฯ แต่ละตัวจะมีการใช้งานเครื่องพร้อมกัน เช่น ระบบประมวลผลกราฟิกการ์ด GPS และอื่น ๆ ยิ่งมีแอพฯ ใช้งานมาก แบตเตอรี่ก็จะถูกเรียกใช้งานมากขึ้น ควรใช้งานแอปฯ แต่พอดี และปิดแอปฯ ทันทีที่รู้สึกว่าสมาร์ตโฟนร้อนเกินไป

เคสโทรศัพท์หนามากไปก็ไม่ดี
เคสโทรศัพท์ที่หนา ๆ อาจจะช่วยปกป้องสมาร์ตโฟนของคุณ หรือช่วยให้ดูสวยงาม แต่ไม่แนะนำให้ใช้เคสที่หนามากเกินไป เพราะเคสที่หนามากเกินไปจะสะสมความร้อนไว้ในเครื่อง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเร่งความร้อนให้กับแบตเตอรี่ของเครื่องนั่นเอง

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,170 ครั้ง

คำค้นหา : ดูแลสมาร์ทโฟนระเบิดเคลื่อนที่ทำไมสมาร์ทโฟนถึงระเบิดแบตเตอรี่แบบลิเธียมไออนสารนำกระแสขั้วกระแสไฟฟ้าไฟฟ้าลัดวงจรอย่าวางสมาร์ทโฟนไว้ใต้หมอนใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ได้มาตรฐานหลีกเลี่ยงความร้อนอย่าใช้แอปพลิเคชันพร้อมกันมากเกินไป ระบบประมวลผลกราฟิกการ์ด GPSเคสโทรศัพท์หนามากไปก็ไม่ดี