ทำไมต้อง “หมอชนะ” แอปติดตาม COVID-19 ที่คน(ใน)ไทยควรมีติดเครื่อง และไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
จากบทวิเคราะห์ที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ ว่าทำไม “ไทยชนะ” จึงมีผู้ใช้ที่น้อยลงมาก ทั้ง ๆ ที่ภาครัฐพยายามผลักดัน เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้สถานที่ต่างๆ เนื่องจากการใช้งานจากฝั่งผู้ใช้ที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยว่า ทำไม “หมอชนะ” ถึงเป็นที่แนะนำจากใครหลาย ๆ คน รวมถึงรัฐบาลเองก็หันมาสนับสนุนแอป “หมอชนะ” นี้ด้วยเช่นกัน
แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” นี้เป็นแอปที่เกิดมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งถูกเปิดเป็น Open Source เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมถึงนักพัฒนาอื่น ๆ ยังสามารถนำไปต่อยอดได้อีกด้วย
ความเป็นส่วนตัว
โดยจุดเด่นของแอปนี้คือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ที่ผู้ใช้จะไม่ต้องใส่เบอร์โทรศัพท์เพื่อลงทะเบียนกับทางเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลาง เพียงแต่แอปจะใช้ชุดรหัสที่สุ่มขึ้นมาเพื่อแทนตัวเครื่อง ซึ่งจะไม่สามารถระบุตัวตนผู้ใช้งานได้
แต่หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า แล้วรูปถ่ายเซลฟี่ที่ให้ถ่ายไปตอนแรกหลังจากติดตั้งแอป จะถูกอัปโหลดขึ้นเซิร์ฟเวอร์ด้วยหรือไม่? นักพัฒนาได้ระบุว่ารูปภาพจะไม่ถูกส่งขึ้นไปบนเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด
ข้อมูลอะไรบ้างที่ถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์
ในส่วนของข้อมูลที่จะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์จะมีถึง 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแบบประเมินที่ผู้ใช้กรอกเพื่อประเมินความเสี่ยงไปในครั้งแรกหลังติดตั้งแอป
ส่วนที่แอปจะทำเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ ได้แก่ ข้อมูลสถานที่ (GPS) และข้อมูลบลูทูทที่จะใช้เทคโนโลยี Bluetooth Low Energy (BLE) มาช่วยในการแลกเปลี่ยนกันระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 เครื่อง ซึ่งในส่วนนี้เองจะแลกเปลี่ยนชุดรหัสที่ถูกสุ่มขึ้นมารวมถึงพิกัด GPS ในการระบุว่าทั้ง 2 เครื่องนี้ได้เจอกันแล้ว และจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์
จุดเด่นอยู่ที่ความง่าย
ในเมื่อ “ไทยชนะ” มีผู้ใช้ที่น้อยลง เนื่องจากการใช้งานที่ซับซ้อนอยู่ในระดับนึง “หมอชนะ” จะมาแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยวิธีที่ง่ายมากขึ้น เพียงติดตั้งแอป เปิดใช้งานแอป และลืมไปได้เลย ตัวแอปก็จะพยายามแลกเปลี่ยนชุดรหัสระหว่างอุปกรณ์ 2 เครื่องที่เจอกัน และส่งขึ้นไปบนเซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติ ซึ่งอย่างเดียวกันกับที่ระบุข้างต้นข้อมูลดังกล่าวจะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้ได้ อีกทั้งยังเก็บข้อมูลพิกัด GPS เพื่อสร้างเป็นไทม์ไลน์ให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติได้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต แอปจะทำการเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องและจะอัปโหลดขึ้นเซิร์ฟเวอร์เมื่อมีการเชื่อมต่อ
ขออนุญาตเข้าถึงหลายอย่างไปทำไม
ผู้ใช้หลายคนอาจจะกังวลว่าทำไมแอปถึงขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลหลายตัว อย่างที่ระบุไปก่อนหน้านี้ ข้อมูลสถานที่ (GPS) และบลูทูท (Bluetooth) จะถูกอัปโหลดไปยังเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการติดตามข้อมูล COVID-19 เพื่อง่ายต่อการสอบสวนโรคและการตรวจสอบเชิงรุกของภาครัฐ ในกรณีมีผู้พบเจอติด COVID-19
ส่วนการขออนุญาตเข้าถึงกล้องนั้น กล้องจะถูกใช้ในตอนแรกสำหรับการเซลฟีและสำหรับการสแกนคิวอาร์ ซึ่งถ้าผู้ใช้กังวลก็สามารถปิดการอนุญาตในส่วนนี้ได้
แล้วปิดบลูทูทกับ GPS ได้มั้ย??
สำหรับบลูทูทและ GPS สามารถปิดได้ แต่จะใช้แอปได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยบลูทูทจะสามารถปิดได้จากในการตั้งค่าในแอปโดยตรง ซึ่งแอปจะไม่สามารถค้นหาและแลกเปลี่ยนชุดรหัสได้แบบอัตโนมัติได้
ถ้าปิดบลูทูทแล้วจะใช้แอปได้อย่างไร??
ในผู้ใช้บางคนที่กังวลเรื่องแบตเตอรีที่อาจจะปิดบลูทูทไป แล้วสงสัยว่าแอปจะสามารถทำงานได้อย่างไร ตัวแอปจะมี QR Code สำหรับผู้ใช้ทุก ๆ คน ซึ่งให้ทุกคนที่สัมผัสกัน หรืออยู่ใกล้กันให้สแกน QR Code ของกันและกัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนชุดรหัสนั่นเอง
แอปจะแจ้งเตือนอย่างไร เมื่อมีคนติด COVID-19
เมื่อมีคนติด COVID-19 หลังจากมีการยืนยัน ทางภาครัฐจะมีกระบวนการนำชุดรหัสของผู้ป่วย ไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลทั้งหมด และส่งแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย COVID-19 ภายใน 14 วัน โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย
มีความจำเป็นต้องมีทั้ง 2 แอปมั้ย??
จากการสอบถามนักพัฒนา มีเพียงแอป “หมอชนะ” แอปเดียวก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอป “ไทยชนะ” มาให้เปลืองพื้นที่ ในส่วนของแอป “หมอชนะ” จะสามารถสแกนคิวอาร์ของ “ไทยชนะ” ได้ และในเวลาเดียวกัน “หมอชนะ” จะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมไปประมวลผลกับพิกัด GPS เพื่อความแม่นยำของการระบุพิกัดของผู้ใช้ได้ด้วย
ข้อมูลจะปลอดภัยมั้ย??
มีการยืนยันจากนักพัฒนาว่าข้อมูลเหล่านี้ จะถูกเก็บไว้บน Amazon Web Services บริการระดับโลก โดยจะไม่มีการเรียกข้อมูลใด ๆ จากเซิร์ฟเวอร์ออกมาใช้งาน มีเพียงการส่งข้อมูลจากผู้ใช้เข้าเซิร์ฟเวอร์ทางเดียว จึงมั่นใจได้เลยว่าข้อมูลที่เก็บเข้าเซิร์ฟเวอร์นั้นจะปลอดภัยหายห่วง และจะถูกทำลายทิ้งเมื่อสถานการณ์เป็นปกติแล้ว
ช่องทางการดาวน์โหลด
ประชาชนสามารถดาวน์โหลดแอป “หมอชนะ” ได้แล้ววันนี้ บนทั้ง 3 แพลตฟอร์ม
iOS: https://apple.co/3mTo6en
Android: https://bit.ly/3mWguaS
HUAWEI AppGallery: https://bit.ly/2WQ9HFa
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Advanced HTML5 and CSS3
หลักสูตรนี้จะเจาะลึกการใช้งาน HTML5 และ CSS3 ในขั้นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความเข้าใจในการเ...
Basic HTML 5 + CSS 3 and jQuery
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้การเขียน HTML5 และ CSS3 ซึ่งเป็น Version ล่า...
Developing Data Access Solutions with Microsoft Visual Studio 2010
Experienced developers who know the basics of data access (CRUD) in Windows client and...
Building Mobile Apps for Windows Phone
เนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาโมบาย แอพพลิเคชั่นบน Windows Phone 8, การจัดการองค์ประก...
คำค้นหา : หมอชนะcovid-19เบอร์โทรศัพท์ข้อมูลสถานที่bluetooth low energyข้อมูลพิกัด gpsสัญญาณอินเทอร์เน็ตการเซลฟีการสแกนคิวอาร์ไทยชนะamazon web servicesiosandroidhuawei appgaller