นวัตกรรมสุดล้ำ เครื่องปรับอากาศส่วนตัว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมสุดล้ำ เครื่องปรับอากาศส่วนตัว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หมวดหมู่: บทความทั่วไปGadget Reviewข่าวไอที

 เคยบ้างไหมเวลาที่เข้าไปในห้างสรรพสินค้าแล้วรู้สึกว่าแอร์ไม่เย็น เคยบ้างไหมที่เวลาไปดูภาพยนตร์แล้วรู้สึกว่าแอร์เย็นจนหนาว ต้องหาเสื้อกันหนาวมาใส่ ทำไมอุณหภูมิอากาศมันช่างไม่พอดีเอาเสียเลย โดยเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันแบบนี้ จะดีแค่ไหนถ้าเราแต่ละคนสามารถเลือกปรับอุณหภูมิให้พอดีกับตัวเองได้

                                             

          เราทุกคนพูดถึงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานแต่ขณะเดียวกันกลับยังปรารถนาความสะดวกสบายต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมากกลับเป็นสิ่งที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ในกรุงเทพใช้พลังงานไปกับเครื่องปรับอากาศต่อวันอาจมากกว่าไฟฟ้าที่จ่ายให้จังหวัดที่ห่างไกลความเจริญเสียอีก

         การใช้เครื่องปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่เช่น ศูนย์การค้าหรือศูนย์ประชุมต่างๆ มักปรับอุณหภูมิไว้ให้เย็นเกินพอ เผื่อการสูญเสียความเย็นที่เกิดจากคนเดินเข้าออก จนกลายเป็นเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ในช่วงอากาศอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันแบบนี้ ยังยากที่จะตั้งอุณหภูมิให้ "เหมาะสม" กับทุกคน

         ทีมนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมชชาสูเซจ (MIT) ได้เสนออุปกรณ์ต้นแบบที่จะแก้ไขปัญหาของเครื่องปรับอากาศข้างต้นให้หมดไป โดยเริ่มจากโจทย์ที่ว่า "ทำไมเราไม่ปรับอุณหภูมิร่างกายของเราแทน?"

         อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "ริสติฟาย" (Wristify) เป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคที่อยู่ในรูปของรีสแบนด์สวมข้อมือ ทำนหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้สวมใส่ โดยปล่อยความร้อนหรือความเย็นกระตุ้นผิวหนังเป็นเป็นจังหวะ ขึ้นอยู่กับการตั้งอุณหภูมิที่ต้องการ

         Sam Shames หนึ่งในทีมนักศึกษาผู้ประดิษฐ์ Wristify อธิบายว่าเขาได้รับแรงผลักดันจากแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนในห้องรู้สึกสบายโดยที่ไม่ต้องมาตกลงกันว่าจะตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเท่าไหร่ดี

         ในขณะที่ Shames รู้สึกร้อน แม่ของเขารู้สึกหนาว จะมีวิธีใดบ้างที่จะนั่งอยู่ในห้องเดียวกันอย่างสันติและไม่ต้องมีใครเสียสละ เขาจึงเริ่มค้นคว้า ศึกษาถึงกลไกของร่างกายเพื่อทำความเข้าใจว่าร่างของเราตอบสนองกับอุณหภูมิต่างๆ อย่างไร และได้พบกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่กลายมาเป็นหลักการทำทำงานของ Wristify นั่นคือ ข้อมูลที่ว่า การกระตุ้นผิวหนังเฉพาะที่ด้วยความร้อนหรือความเย็นส่งผลกระทบต่อการรับรู้อุณหภูมิทั่วทั้งร่างกาย

         ร่างกายของมนุษย์นั้นไม่เหมือนกับเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิได้อย่างเที่ยงตรงเสมอ หากเราแตะของเย็นๆ ค้างไว้ระยะหนึ่ง ร่างกายจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนจนคุ้นเคยและแทบไม่รู้สึกว่ามันเย็นอีกต่อไป ลองนึกถึงตอนที่กระโดดลงในสระน้ำตอนหน้าหนาว วินาทีแรกที่ลงไปจะรู้สึกหนาวยะเยือกแต่เมื่อผ่านไปสักพักเมื่อร่างกายเริ่มชินก็จะไม่หนาวอีกต่อไป

         เราสามารถกระตุ้นให้ร่างกาย "รู้สึก" หนาวหรือร้อนได้ โดยการกระตุ้นผิวหนังแค่บางบริเวณ ซึ่งนี่เป็นหลักการที่นำมาประยุกใช้สร้างเป็น Wristify

                                               

         ในการสร้างเครื่อง Wristify ต้นแบบ Shames และทีมช่วยกันค้นวิธีการที่ดีที่สุดในการกระตุ้นผิวหนังเพื่อหลอกประสาทรับรู้ของร่างกายให้ปรับอุณหภูมิตาม จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตั้งแต่ 0.1 องศาเซลเซียส/วินาที ขึ้นไป สามารถกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ จึงสร้าง Wristify ที่ประกอบด้วยแผ่นถ่ายเทความร้อนและความเย็นที่สามารถเปลี่ยนอุณหภูมิได้ถึง 0.4 องศาเซลเซียส/วินาที

         รอบของการกระตุ้นก็มีความสำคัญเช่นกัน Wristify ถูกตั้งค่อให้ส่งอุณหภูมิเป็นช่วงๆ เปิด 5 วินาที ปิด 10 วินาที และลองทดสอบกับเพื่อนๆ ซึ่งได้ผลตอบรับค่อนข้างดี

         ตอนนี้ Wristify ยังเป็นเพียงเครื่องต้นแบบที่ประกอบกันอย่างหยาบๆ จากแผ่นถ่ายทีความร้อนถูกๆ วงจรง่ายๆ และสายโรเล็กส์ของปลอม ไม่มีชิ้นส่วนไหนที่ราคาแพงมหาศาล แต่สร้างเป็นอุปกกรณ์ ที่มีมูลค่าอย่างน้อย 50 ดอลล่า และ Wristify ยังได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล $10,000 ในการประกวดแข่งขัน MADMEC (Making and Designing Materials Engineering Contest) ประจำปีนี้ ซึ่งเป็นงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนักเรียนนักศึกษา

         ทีมผู้ประดิษฐ์วางแผนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้จนสามารถขายเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นต้องปรับปรุงต่อไปทั้งเรื่องขนาด ความสบายในการสวมใส่ แหล่งพลังงาน ฯลฯ ซึ่งก็หวังวันที่เราจะมีอุปกรณ์ปรับอากาศส่วนบุคคลแบบสวมใส่คงจะมาถึงในเร็ววัน และแม้จะยังแก้ปัญหาการใช้พลังงานสิ้นเปลืองของเครื่องปรับอากาศไม่ได้ในทันที แต่อย่างน้อยก็เป็นการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดเรื่องการปรับอุณหภูมิของส่วนกลางไปเป็นแบบการปรับอุณหภูมิส่วนส่วนตัว

"ทำไมจะต้องไปปรับอุกณภูมิของอากาศให้เปลือง ในเมื่อเราปรับอุณหภูมิแค่ตัวเราเองก็ได้"

 

 

อ้างอิง

https://www.wired.com

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,294 ครั้ง

คำค้นหา : เครื่องปรับอากาศแมชชาสูเซจริสติฟายอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคSam Shamesประดิษฐ์Wristifyเทคโนโลยีนวัตกรรม