เป็นหวัด เป็นหอบหืด คอแห้ง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคกรดไหลย้อน ภูมิแพ้ สูบบุหรี่ วัณโรค หลอดลมโป่งพอง ไปจนถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เหล่านี้คือสาเหตุที่ทำให้เรามีอาการไอ ทั้งไอแห้ง ไอแบบมีเสมหะ หรือไอเรื้อรัง แต่ไม่ว่าจะไอแบบไหน ก็สร้างความรำคาญให้กับเราได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน จนบางครั้งไอจนหน้าดำหน้าแดง แถมไอในที่สาธารณะอย่างบนรถโดยสารก็กลัวคนจะมองค้อน Sanook! Health เข้าใจคุณดี จึงขอแนะนำวิธีบรรเทาอาการไอให้ลดลงโดยเร็วที่สุด ทั้งง่าย และได้ผลแน่นอน
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น
เริ่มต้นง่ายๆ กับการดื่มน้ำในแต่ละวันให้มากขึ้น ใครที่มีเสมหะในคอ น้ำก็จะช่วยละลายเสมหะให้น้อยลงได้ ส่วนใครที่มีอาการไอแห้งๆ น้ำก็จะช่วยให้ความชุ่มชื้นในลำคอได้ ทำให้มีอาการระคายเคืองภายในคอลดลงเช่นกัน
- ดื่มน้ำอุ่น
หากเลือกที่จะดื่มน้ำให้มากขึ้นแล้ว ควรเลือกดื่มน้ำอุ่นแทนการดื่มน้ำเย็น เพราะน้ำอุ่นจะช่วยละลายเสมหะ และให้ความชุ่มชื้นภายในลำคอได้ดีกว่าน้ำเย็น นอกจากนี้ยังสามารถเลือกดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาวระหว่างวันได้เช่นกัน
- อาบน้ำอุ่น
ข้างในอุ่นแล้ว ข้างนอกก็ต้องอุ่นด้วย การอาบน้ำอุ่นนอกจากจะช่วยลดน้ำมูกได้แล้ว ยังดีต่อร่างกายของคนที่เป็นหวัด และภูมิแพ้อีกด้วย
- อมยาแก้ไอ
อย่าคิดว่าอาการไอจะหายไปได้เองง่ายๆ หากมีอาการไอจนตัวงอ ไอจนเพื่อนข้างๆ รำคาญ ควรรีบหายาแก้ไอมาอมด่วนๆ เพราะในยาแก้ไอจะมีส่วมประกอบที่จะช่วยลดอาการระคายเคืองภายในลำคอได้
- ใช้เครื่องทำความชื้นในอากาศ
บ้านไหนที่เปิดเครื่องปรับอากาศนอน ตกกลางคืนอากาศอาจจะแห้งจนทำให้อาการไอแย่หนักไปกว่าเดิม แม้ว่าอากาศในบ้านเราจะค่อนข้างร้อนชื้นอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการระคายเคืองคออยู่แล้ว อากาศแห้งๆ เย็นๆ จะยิ่งทำให้อาการไอเป็นหนักกว่าเดิม และอาจมีอาการคัดจมูกร่วมด้วย ดังนั้นหากใช้เครื่องทำความชื้นภายในห้องนอน ก็จะช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองคอได้
Note : เครื่องทำความชื้น เป็นเครื่องที่เสียบปลั๊กแล้วมีไอน้ำพุ่งออกมา สามารถเพิ่มความชื้นในอากาศภายในห้องได้ (โรงพยาบาลบางแห่งจะมีเครื่องเพิ่มความชื้นในห้องผู้ป่วย) จะกลิ่นหอมๆ หรือไม่มีกลิ่นก็ได้ แล้วแต่คนชอบ แต่หากเลือกกลิ่นที่ช่วยให้หลับดี เช่น กลิ่นดอกคาโมมายด์ กลิ่นลาเวนเดอร์ ก็จะช่วยให้เรานอนหลับง่าย พักผ่อนได้เต็มที่ไปด้วย
- งดสูบบุหรี่
ใครที่สูบบุหรี่ควรงดการสูบบุหรี่ในช่วงที่มีอาการไอเด็ดขาด เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ระคายเคืองคอมากยิ่งขึ้น และยังอาจทำให้มีเสมหะมากขึ้นได้อีกด้วย (แต่อยากจะแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่ไปเลยจะดีกว่า เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพอง และโรคอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย)หากคุณไม่ใช่คนที่สูบบุหรี่ ก็ควรอยู่ให้ไกลห่างจากผู้ที่สูบบุหรี่ หรือกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ด้วยเช่นกัน
- งดใช้น้ำหอม สเปรย์ต่างๆ
ส่วนประกอบของน้ำหอม และสเปรย์ต่างๆ (รวมถึงสเปรย์น้ำหอมปรับอากาศ) การทำให้โพรงจมูกมีอาการระคายเคืองได้ และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีเสมหะเพิ่มมากขึ้น หรือไอเรื้อรังได้
- หลีกเลี่ยงฝุ่น ควันต่างๆ
นอกจากน้ำหอม และสเปรย์แล้ว อากาศรอบตัวอย่างอากาศแห้งๆ จากเครื่องปรับอากาศภายในสำนักงาน ฝุ่นควันจากท่อไอเสียของรถยนต์ ควันจากการทำอาหาร มลพิษทางอากาศเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในโพรงจมูก และลำคอได้ ดังนั้นขณะที่มีอาการไอ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศเหล่านี้ด้วย
- นอนพักผ่อนให้มากขึ้น
ส่วนใหญ่แล้ว อาการไอที่แย่ลงเรื่อยๆ หรือหายช้า เป็นเพราะร่างกายไม่มีเวลาที่จะซ่อมแซมตัวเอง เพราะเราใช้ร่างกายของเราหนักเกินไปจนพักผ่อนน้อยนั่นเอง ดังนั้นหากรู้ตัวว่าป่วย ไอหนักมาก ควรรีบเข้านอนแต่หัววันตั้งแต่อากาศยังไม่เย็นมากจนเกินไป และพักผ่อนให้เพียงพอ
- พบแพทย์
ทางสุดท้ายที่จะเพิ่งได้ คือการพบหมอให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย เพราะอาการไอที่เราเป็นมานาน ทำทุกอย่างแล้วก็ไม่หาย อาจจะไม่ใช่อาการไอธรรมดาๆ โดยอาการไออาจจะเป็นเพียงอาการเบื้องต้น ที่เป็นสัญญาณเตือนถึงโรคอันตรายอื่นๆ ได้ ดังนั้นการพบแพทย์ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใครก็ตามที่อาการไอไม่ดีขึ้นเลยภายใน 1-2 สัปดาห์
ขอขอบคุณ ข้อมูล :พบแพทย์
ภาพ :iStock
สนับสนุนเนื้อหาโดย :
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
คำค้นหา : หวัดการป้องกันหวัดเคล็ดลับป้องกันไข้หวัดการรักษาสุขภาพการออกกำลังกายการทานอาหารที่มีประโยชน์สุขภาพกะร่างกายไอการไอสาเหตุการไอการรักษาการไอวิธีดูแลการไอขั้นตอนรักษาการไอไอเรื้อรัง