สามวิธีที่ช่วยให้ MSP ทำกำไรได้มากขึ้น
ในขณะที่การเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลหรือ Digital Transformation ยังคงเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทั่วเอเชีย องค์กรทุกรูปแบบทุกขนาดกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีบริหารจัดการการให้บริการด้านไอที โดยเลิกใช้โมเดลโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันภายในองค์กรแบบเดิมที่มีค่าใช้จ่ายสูงและเปลี่ยนไปใช้การจ่ายตามการใช้งาน (pay as you go) การสมัครสมาชิก หรือโมเดลการให้บริการ Everything-as-a-Service หรือ XaaS แทน
ขณะนี้กลุ่มลูกค้าธุรกิจกำลังใช้บริการแบบออนดีมานด์ ดังนั้นพวกเขาจึงหันไปใช้ผู้ให้บริการที่มีการจัดการ (MSP) เพื่อเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้มีโครงสร้างและการป้องกันที่ดี มากกว่านั้น เนื่องจากมีความต้องการใช้บริการต่างๆ เช่น Internet of Things (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น เพิ่มสูงขึ้นมาก การให้บริการ MSP จึงอยู่ในจุดที่สามารถนำเสนอและบำรุงรักษาโซลูชันบนพื้นฐานดิจิทัลได้ พร้อมทั้งกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งในการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัล
บริษัทจึงสามารถลดต้นทุนภายในและยังคงความคล่องตัวไว้ได้ด้วยการใช้บริการเอาท์ซอร์ส เช่น เครือข่าย โครงสร้างพื้นฐาน และการรักษาความปลอดภัย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มีความต้องการใช้บริการ MSP เพิ่มขึ้นถึง 30% ในเอเชียแปซิฟิกในปีที่ผ่านมา แต่ความต้องการนั้นก็ส่งผลให้เกิดการแข่งขัน เนื่องจากผู้เล่นใหม่ก็ต่างมองหาประโยชน์จากเทรนด์ดังกล่าว ในบทความนี้ เราจะแสดงให้เห็นถึงวิธีที่ MPS สามารถเติบโตและสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันทั้งสามประการดังต่อไปนี้
1. ให้ความสำคัญกับการการรักษาลูกค้า
การค้นหาและรักษาลูกค้าไว้ถือเป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูง การทำให้ลูกค้าปัจจุบันให้มีความสุขในระยะยาวนั้นมีความสำคัญกว่าที่เคย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า หากมีอัตราการรักษาลูกค้าเพิ่มขึ้น 10% ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าของธุรกิจได้มากกว่า 30%
MSP สามารถใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์เชิงลึกกับลูกค้า โดยช่วยชี้ให้เห็นถึงความท้าทายและแก้ไขปัญหาในเชิงรุกเพื่อเปลี่ยนให้ลูกค้ากลายเป็นที่ปรึกษาที่มีความน่าเชื่อถือและส่งเสริมให้เกิดความภักดี ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขายและลดอัตราการเลิกใช้บริการเท่านั้น แต่ลูกค้าที่เกิดความพึงพอใจยังมีแนวโน้มที่จะให้คำวิจารณ์เชิงบวกเพื่อช่วยให้ได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ตามหลักการแล้ว MSP ควรทำให้การออนบอร์ดอิ้งเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้มีการจัดทำเอกสารไว้อย่างมีระบบระเบียบ มีประสิทธิภาพ ทำซ้ำได้ และปรับขนาดได้ นอกจากนี้ยังควรออกแบบการเดินทางของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าใหม่ได้รับคุณค่าจากธุรกิจโดยเร็วที่สุด การสื่อสารกับลูกค้าจึงเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์ ช่วยให้กลุ่มลูกค้ารับทราบเกี่ยวกับบริการที่มีอยู่หรือบริการใหม่ๆ
2.การให้บริการแบบหลากหลาย
MSP ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงการนำเสนอผลิตภัณฑ์อยู่เรื่อยๆ ลูกค้าธุรกิจต้องการใช้เทคโนโลยีให้ได้ง่ายขึ้นแบบจบภายในผู้จำหน่ายรายเดียวที่สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจส่วนใหญ่หรือทั้งหมดได้ เนื่องจากไอทีไม่ใช่ธุรกิจหลักของกลุ่มลูกค้าธุรกิจดังกล่าว
ในภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนเช่นนี้ ลูกค้าธุรกิจต้องการชำระเงินเป็นรายเดือนมากกว่าการลงทุนก้อนใหญ่ล่วงหน้าเพียงครั้งเดียว ดังนั้น MSP จึงต้องสามารถนำเสนอบริการได้หลากหลาย เช่น Software-as-a-Service (SaaS), ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรูปแบบ as a service , การจัดเก็บข้อมูล และการรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ บริการด้านไอทีดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินตามการสมัครสมาชิก และเป็นช่องทางในการเพิ่มกระแสรายได้ประจำ
MSP สามารถปรับขนาดได้โดยต้องร่วมมือกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์ที่บริหารจัดการการสมัครสมาชิกและการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลผู้ขายและผลิตภัณฑ์ และการออนบอร์ดผู้ขายผ่านหลายช่องทาง แพลตฟอร์มยังช่วยให้บริษัทสามารถสร้างระบบนิเวศดิจิทัลของตนเองได้ซึ่งสามารถช่วยให้เชื่อมต่อระหว่างพันธมิตรง่ายขึ้นผ่านจุดๆ เดียว
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงไม่ต้องเป็นเจ้าของระบบหรือบริหารจัดการการส่วนต่างๆ ทั้งหมดในระบบ นั่นหมายความว่าเครือข่ายพันธมิตรตั้งแต่ผู้ขายและผู้จัดจำหน่ายไปจนถึงผู้ค้าปลีกสามารถนำเสนอมูลค่ารวมได้ นอกจากนี้ตลาดดิจิทัลของ B2B จะเอื้อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากการทำ Cross-Sell และ Upsell ได้อีกด้วย
ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเสมอนั่นก็คือ บริษัทพยายามดำเนินการตามลำพัง อาจเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความมุมานะในการสร้างระบบ Application Program Interface (API) สำหรับตลาดและการบริหารจัดการระบบดังกล่าว แล้วทำไมถึงไม่ใช้ระบบนิเวศดิจิทัลเพื่อให้เข้าถึงได้มากขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งช่วยให้สามารถสร้างชุด API สำหรับผลิตภัณฑ์ลงในแค็ตตาล็อกที่สามารถเผยแพร่ไปได้ทั่วโลก เพราะการสร้างผ่านระบบนิเวศนั้นมีราคาถูกกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า และช่วยให้ธุรกิจขยายขนาดได้เร็วขึ้น
การที่สามารถให้บริการมากขึ้นก็จะเพิ่มความภักดีของลูกค้าไปด้วย เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องไปหาผลิตภัณฑ์และบริการจากที่อื่น โซลูชันบนคลาวด์ยังขยายการเข้าถึงผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าอีกด้วย นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังช่วยให้ MSP ปรับปรุงกิจกรรมการจัดซื้อ การดำเนินการตามคำสั่งซื้อ และการเรียกเก็บเงินทั้งหมดได้ในที่เดียว
3. การให้บริการ Compliance-as-a-Service
การย้ายทุกอย่างขึ้นระบบคลาวด์หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ อาจเกิดความยุ่งยากเรื่องกฎระเบียบด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนด ปัญหาที่ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบสามารถหลุดรอดจากช่องโหว่และอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความปลอดภัยได้ เมื่อมีความต้องการความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบเพิ่มมากขึ้น
บริการ MSP สามารถตอบสนองความต้องการได้เพราะมีโซลูชันที่ครอบคลุมเพื่อช่วยให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดและทำให้ระบบคลาวด์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้โปรโตคอล SMB ในขอบเขตการให้บริการที่มีการจัดการสามารถแข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ด้วยการสร้างกลุ่มเฉพาะขึ้นมา
เช่น การผนวกรวม Compliance-as-a-Service เข้าไปในบริการด้วย โดยจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่ต้องปฏิบัติตามความท้าทายทางกฎหมายระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน เช่น การปฏิบัติตาม PCI(อุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน) หรือ GDPR (กฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไป) เป็นต้น
เพื่อให้บริการรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพ คุณต้องมองเห็นทั่วทั้งองค์กรแทนที่จะแยกเรื่องความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎระเบียบออกจากส่วนอื่นๆ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์ที่มีระบบอัตโนมัติแบบ end-to-end สามารถช่วยปิดช่องว่างนี้ได้ด้วยมุมมองแบบรวมศูนย์และการผสานรวมข้อมูลเพื่อยกระดับการมองเห็นและเวิร์คโฟลว์
เครื่องยนต์ขับเคลื่อน MSP
ระบบอัตโนมัติหรือ Automation คือหัวใจสำคัญของความสำเร็จของ MSP เมื่อเราใช้กระบวนการอัตโนมัติ เช่น การจัดเตรียมและการเรียกเก็บเงิน เป็นต้น ลูกค้าปลายทางจะสามารถใช้เทคโนโลยีด้วยตนเอง (self-service) ได้ง่ายขึ้น โดยผู้ให้บริการ MSP จะได้รับประโยชน์จากแพลตฟอร์มระบบอัตโนมัติที่มีเทมเพลตที่ตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้า
ซึ่งช่วยให้ดำเนินการจัดซื้อและเติมเต็มการปฏิบัติงาน อีกทั้งเพิ่มประสบการณ์การชอปปิ้งด้วยเพียงแค่ “คลิกครั้งเดียว” กับทางผู้ขาย และสร้างโอกาสอีกมากมายรวมถึงการทำ Cross-Sell อีกด้วย ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะใหญ่แค่ไหนในฐานะ MSP การเพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าไปสามารถช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในโลกที่เลือกใช้ระบบดิจิทัลเป็นลำดับแรก
ที่มา: sanook.com/hitech/1590011
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Building Microservices with Node.js
Microservices ช่วยให้เราสามารถพัฒนาซอฟแวร์เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ โด...
Building Microservices with Spring Boot and Spring Cloud
การออกแบบและพัฒนา RESTful web service ในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นส่วนที่กำลังได้รับความนิยม...
Building Microservices with .NET Core
Microservices จะแยกพัฒนาแต่ละเซอร์วิซออกจากกันโดยชัดเจน โดยกำหนด API ไว้ให้เรียกใช้ แต่...
Kubernetes
Kubernetes หรือ K8s คือ Container Orchestration เป็น OpenSource จาก Google ที่จะมาช่วยใ...
Building Microservices with Python
Microservices ช่วยให้เราสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สามารถทำงานร่วมกันได้...
Building Microservices with NestJS
Microservices ช่วยให้เราสามารถพัฒนาซอฟแวร์เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ โด...
คำค้นหา : xaaseverything-as-a-servicepay as you goธุรกิจ mspmsp คือเอาท์ซอร์สการรักษาลูกค้าcrmเก็บเอกสารเป็นระบบsaas