เคล็ดไม่ลับสำหรับ 3 วิธีลด “โซเดียม” ในร่างกาย

เคล็ดไม่ลับสำหรับ 3 วิธีลด “โซเดียม” ในร่างกาย

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technic

3 วิธีลด “โซเดียม” ในร่างกายฉบับด่วนจี๋ หลังทานเค็มมากโดยไม่ได้ตั้งใจ

โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและความดันโลหิต แต่การบริโภคโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในคนไทย เพราะในชีวิตประจำวัน เรามักบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงโดยไม่รู้ตัว

ร่างกายต้องการโซเดียมเท่าไหร่ต่อวัน?
ร่างกายของเราควรได้รับโซเดียมในปริมาณที่พอเหมาะคือ 1,500-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา เทียบกับน้ำปลาไม่เกิน 4 ช้อนชา หากบริโภคเกินกว่านี้เป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง

โซเดียมพบได้ในอาหารประเภทใด?
โซเดียมสามารถพบได้ในอาหารหลายประเภทที่เราคุ้นเคย เช่น

  • เครื่องปรุงรส : น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม ปลาร้า
  • อาหารแปรรูป : อาหารสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ อาหารกระป๋อง
  • เบเกอรี่ : ขนมที่ใช้ผงฟู เช่น ขนมปัง เค้ก
  • เครื่องดื่มเกลือแร่ : นักกีฬา หรือ คนทั่วไป ที่ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่มากเกินไป อาจได้รับโซเดียมเกินความจำเป็น

การทานอาหารรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณมากกว่าแค่หน้าบวม เพราะอาจทำให้เกิดอาการใจเต้นแรง และเร็ว ไม่ได้บวมแค่หน้า แต่บวมไปทั้งตัว ไปจนถึงไม่สามารถหลับได้สนิทในตอนกลางคืน เป็นผลมาจากความดันโลหิตที่อาจพุ่งสูงขึ้นหลังจากที่ทานอาหารที่มีโซเดียมสูงนั่นเอง (จะยิ่งมีอาการอื่นๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น หากคุณมีโรคประจำตัวอย่าง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจ เป็นต้น) แต่หากเผลอทานเข้าไปแล้ว แค่นั่งรู้สึกผิดคงไม่ทำให้ร่างกายของเราดีขึ้น เรามาลดปริมาณโซเดียมในร่างกายกันแบบด่วนๆ กันดีกว่า


วิธีลดโซเดียมออกจากร่างกาย

1.ดื่มน้ำตามมากๆ

จากคำแนะนำของ Brierley Horton ผู้อำนวยการศูนย์โภชนาการของเว็บไซต์ Cooking Light.com อาหารรสเค็ม รวมไปถึงอาหารรสจัด จะทำให้ไตของคุณทำงานหนักมากขึ้น ดังนั้นการดื่มน้ำเข้าไปในร่างกายมากขึ้นอีกเล็กน้อบ จะช่วยให้ไตของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และของเหลวที่เพิ่มมากขึ้นในร่างกายยังช่วยไม่ให้ร่างกาย และใบหน้าของคุณบวมอีกด้วย

2.ออกกำลังกาย
ยังไม่สายไปที่จะกินแล้วรีบออกกำลังกายเผาผลาญพลังงานจากอาหารเหล่านั้นออกไปซะ โดยเฉพาะการลดโซเดียมที่จะถูกร่างกายขับออกมาผ่านเหงื่อที่ไหลออกมาระหว่างการออกกำลังกายนั่นเอง อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำก่อน และระหว่างออกกำลังกายด้วยล่ะ

ใครที่มีอาการอย่างที่กล่าวไว้ในตอนแรก ว่าหากทางอาหารรสเค็ม หรืออาหารรสจัด แล้วมีอาการต่างๆ มากกว่าแค่หน้าบวม เช่น ตัวบวม ใจเต้น ใจสั่น ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทางออกให้กับร่างกายของตัวเองอย่างถูกต้อง เพราะคุณอาจมีปัญหาในการรับโซเดียมที่ทำให้หัวใจ ไต ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบอื่นๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปก็ได้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นอย่าประมาทเด็ดขาด


อาหารที่ช่วยลดโซเดียม

หากเราต้องการลดระดับโซเดียมในร่างกาย ควรเลือกทานอาหารที่ช่วยขับโซเดียม เช่น

แตงกวา : มีน้ำเยอะและช่วยขับน้ำส่วนเกิน
แตงโม : ช่วยปรับสมดุลของเหลวในร่างกายและขับโซเดียม
กล้วย : มีโพแทสเซียมสูง ช่วยลดอาการบวมน้ำ
หน่อไม้ฝรั่ง : มีกรดแอสพาราจีน ช่วยขับโซเดียมออกจากร่างกาย
ฟักเขียว : ขับปัสสาวะและช่วยลดอาการบวม

แนวทางลดโซเดียม

เพื่อป้องกันการได้รับโซเดียมเกินควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

ปรุงอาหารเอง : เพื่อควบคุมปริมาณเครื่องปรุงและเลือกใช้เครื่องปรุงที่มีโซเดียมต่ำ
ลดการบริโภคอาหารแปรรูป : เช่น อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ
อ่านฉลากโภชนาการ : เลือกอาหารที่มีโซเดียมน้อยกว่า 140 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเกลือแร่ : หากไม่จำเป็น ควรดื่มน้ำเปล่าแทน

 

ขอขอบคุณข้อมูล :Cooking Light

ภาพ :iStock

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Nong-beam
เข้าชม 430 ครั้ง

คำค้นหา : อาหารโซเดียมอาหารกับโซเดียมอาหารที่ช่วยลดโซเดียมวิธีลดโซเดียมการดื่มน้ำการออกกำลังกายแนวทางลดโซเดียมโซเดียมคือการกินโซเดียมปริมาณโซเดียม