เปิดมุมมอง Digital Dystopia ดิจิทัลดิสโทเปีย ‘เมื่อโลกปราศจากความปลอดภัยไซเบอร์’
การไม่มีความปลอดภัยในโลกไซเบอร์นั้นเปรียบได้เท่ากับว่าโลกนี้ปลอดภัยขึ้น’ จริงหรือไม่ นักวิจัยด้านความปลอดภัยชั้นนำของแคสเปอร์สกี้ขอให้ลองทบทวนอีกครั้ง
นายวิทาลี คัมลัก ผู้อำนวยการทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (Global Research & Analysis Team - GReAT) แคสเปอร์สกี้ เอเชียแปซิฟิก ได้เจาะลึกถึงความเป็นจริงอีกด้านของโลกที่ปราศจากบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ปราศจากโซลูชั่นและเซอร์วิส และเผยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในโลกดิจิทัลถ้าหากอุตสาหกรรมการป้องกันออนไลน์ถูกลบออกจากสมการ
นายวิทาลีกล่าวว่า “คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 460 พันล้านดอลลาร์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าของค่าใช้จ่ายสะสมในปี 2021 และเกือบเท่ากับ GDP รวมในปัจจุบันของประเทศไทย เป็นต้น หากเราพิจารณาสถานการณ์จริงทั่วโลก จะพบว่าภาพรวมการคุกคามในปัจจุบันทำให้การคาดการณ์นี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดคำถามว่า ทำไมเราถึงลงทุนอย่างมากในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ และไม่เป็นการคุ้มค่าที่จะประหยัดเงินทั้งหมดนี้เพื่อใช้จ่ายอย่างอื่น”
แม้ว่าจะเป็นไปได้ที่โลกจะไม่มีความปลอดภัยทางไซเบอร์ แต่นายวิทาลีได้แจกแจงเหตุผลที่ไม่มีใครเลือกที่จะอยู่ในโลกที่ปราศจากความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดังนี้
- ไม่มีการเข้ารหัส ไม่มีความเป็นส่วนตัว ไม่มีความลับ
- ไม่มีการควบคุมการเข้าถึงต่างๆ
- ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง
อีกทั้ง การขจัดอุตสาหกรรมการป้องกันทางไซเบอร์ออกไปยังเป็นการเปิดประตูกว้างให้อาชญากรใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้ ทั้งข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลด้านสุขภาพ แผนการเดินทาง การใช้จ่าย และอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการซื้อขายที่เป็นการฉ้อโกง โดยทุกคนสามารถอ้างสิทธิ์ในการซื้อและโอนเงินได้ และหากไม่มีการควบคุมการเข้าถึง การลงคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์และแบบสำรวจต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้ โดยจะไม่มีใครมีบัญชีส่วนตัวออนไลน์ และจะไม่มีอะไรเป็นส่วนตัวอีกต่อไป
การขาดการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ยังทำให้ข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ไม่น่าไว้วางใจ โดยข่าวปลอมและข้อมูลเท็จคาดว่าจะแพร่ขยายออกไป ไม่สามารถเชื่อถือเทคโนโลยีใด ๆ ที่ใช้งานอยู่ ข้อมูลใด ๆ ที่ได้อ่าน โดยพื้นฐานแล้ว ทุกสิ่งสามารถปลอมแปลงได้ในโลกที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
นายวิทาลีกล่าวเสริมว่า “ผมเห็นโลกที่ปราศจากความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เป็นโลกดิจิทัลที่ไม่มีใครสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดที่เรามีอยู่ในมือได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีบริษัทและโซลูชันที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อปกป้องข้อมูลของเรา ตัวตนของเรา ข่าวสารที่เราใช้ แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ที่เราใช้ เราจะถูกปล่อยให้ลุยฝ่าความเสี่ยงต่างๆ และผมแน่ใจว่าจะไม่มีใครเลือกอยู่ในโลกที่วุ่นวายเช่นนั้น ทุกวันนี้การรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มักเป็นส่วนที่เรามองข้ามไป แต่เราประสบความสำเร็จและได้ประโยชน์มากมายจากความปลอดภัยนี้”
เมื่อพูดถึงความเสี่ยง นายวิทาลียังเปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 ถึงสิงหาคม 2022 แคสเปอร์สกี้ได้ตรวจพบและบล็อกการโจมตีของอ็อบเจ็คต์ที่เป็นอันตราย รวมถึงมัลแวร์และเนื้อหาเว็บที่เป็นอันตรายทั่วโลกมากกว่า 7.2 พันล้านครั้ง
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 ถึงกรกฎาคม 2022 เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีช่องโหว่ทางไซเบอร์ พบการตรวจจับอ็อบเจ็คต์ที่เป็นอันตรายทั่วโลกจำนวนหนึ่งในสาม (35%) ได้กำหนดเป้าหมายที่ผู้ใช้ในภูมิภาคนี้ โดยอินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และอินโดนีเซียเป็นประเทศ 5 อันดับแรกที่ตรวจพบความพยายามในการโจมตีสูงสุด
ในฐานะบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกและผู้สนับสนุนหลักในการตรวจจับและสกัดกั้นการโจมตีที่ซับซ้อนทั่วโลก ผู้บริหารระดับสูงของแคสเปอร์สกี้ยังได้จินตนาการถึงโลกที่ปราศจากแคสเปอร์สกี้อีกด้วย
นายคริส คอนเนลล์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและรองประธานฝ่ายขายและเครือข่ายทั่วโลกของ แคสเปอร์สกี้ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของบริษัทในปี 1997 ตอนที่ไม่มีใครรู้ว่าโลกจะต่อสู้กับมัลแวร์ตัวเดียวทุก ๆ ชั่วโมงโดยปราศจากเทคโนโลยีการวิเคราะห์ของแคสเปอร์สกี้
ในปี 2015 โลกที่ปราศจากแคสเปอร์สกี้ก็คงไม่อาจรับรู้ถึงการโจรกรรมทางไซเบอร์ยาวนานกว่าสองปีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ จากสถาบันการเงินทั่วโลกโดยกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ชื่อ Carbanak แคสเปอร์สกี้ร่วมกับ INTERPOL, Europol และหน่วยงานจากประเทศต่างๆ เพื่อเปิดเผยแผนการร้ายเบื้องหลังการปล้นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษ
เครื่องมือถอดรหัสฟรีจะไม่สามารถช่วยผู้ใช้ได้มากมายหากไม่มีแคสเปอร์สกี้ที่ได้ร่วมก่อตั้งโครงการ No More Ransom ซึ่งต่อมาได้ขยายจากพันธมิตร 4 รายเป็น 188 รายซึ่งมีเครื่องมือถอดรหัส 136 รายการ และช่วยผู้ใช้กว่า 1.5 ล้านคนทั่วโลกให้ถอดรหัสอุปกรณ์ของตนจากภัยแรนซัมแวร์ได้
นายคริสกล่าวว่า “ในปี 2017 เราริเริ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมด้วยการเปิดตัว Global Transparency Initiative ของ แคสเปอร์สกี้ ทำให้เราเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งแรกที่เสนอการตรวจสอบซอร์สโค้ดโดยบุคคลที่สาม 5 ปีจากนั้นและด้วยความเชี่ยวชาญ 25 ปีของเรา
ปัจจุบันเราเป็นทีมงานมืออาชีพมากกว่า 4,500 คน สร้างระบบนิเวศการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการพัฒนาระบบปฏิบัติการและระบบไอทีของตนเองซึ่งมีความปลอดภัยเพื่อสร้างอนาคตที่มีภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ เพราะเรารู้ว่าโลกต้องการความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเราพร้อมที่จะทำหน้าที่ของเราเพื่อสร้างอนาคตที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน”
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Microsoft SQL Server Reporting Services และ Report Builder
หลักสูตรนี้ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างรายงาน (Report) โดยใช้เครื่องมือของ Mi...
Office Web App การใช้ Microsoft Office บน Cloud
Microsoft Office365 เป็นบริการที่เสียค่าใช้จ่าย สามารถเรียกใช้โปรแกรมได้บนทุกอุปก...
Entity Framework using Visual Studio 2010
โดยในปัจจุบันเรามีวิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อฐานข้อมูลมากมาย แต่ใน Visual Studi...
New Feature Microsoft Windows 7 & Microsoft Office 2010
หลักสูตรนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการใช้งาน Microsoft Office 2010 ซึ่ง...
ASP.Net MVC 7 Framework
การพัฒนาโดยใช้ MVC 7 Framework จะทำให้การเขียนโปรแกรมมีประสิทธิภาพโดยลดการเขียนโปรแกรมท...
คำค้นหา : digital dystopiaดิจิทัลดิสโทเปียความปลอดภัยทางไซเบอร์ข้อมูลด้านสุขภาพแผนการเดินทางการฉ้อโกงแคสเปอร์สกี้interpoleuropolระบบไอที