แพทย์แนะ ผู้ป่วย "โรคไต" เลือกกินอาหารอย่างไร
โรคไต เป็นอีกโรคที่ต้องควบคุมเรื่องอาหารการกินให้ดี เพราะทุกคำที่กินเข้าไป ส่งผลต่อการทำงานของไต คนที่อาการหนัก ถึงขั้นต้องจำกัดปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันกันเลยทีเดียว
รศ. พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมโรคไต จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตเอาไว้ ดังนี้
อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ และประเภทใดที่ควรหลีกเลี่ยง
ผู้ป่วยโรคไตมักมีความกังวลเรื่องอาหาร ว่าหากรับประทานมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย หรือหากรับประทานน้อยเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต หรือล้างไตทางหน้าท้อง ซึ่งต้องระมัดระวังเรื่องอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะต้องช่วยลดภาระหน้าที่ของไตในการขับน้ำ ของเสีย และเกลือแร่
ผู้ป่วยโรคไตต้องเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายสูงสุด ดังนี้
- ผักและผลไม้
ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ผักและผลไม้ที่มีสีเข้ม เพราะอาจจะมีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง พร้อมเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีรสชาติจืด สีสันอ่อน เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา เต้าหู้ ผักกาดขาว ฟัก แอปเปิ้ล และสาลี่แทน ทั้งนี้ หากผู้ป่วยต้องการที่จะรับประทานผักสีเข้ม ยกตัวอย่างเช่น ผักบุ้ง จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร โดยการนำผักไปต้มในน้ำประมาณ 5 นาที เพื่อให้โพแทสเซียมที่อยู่ในผักลงไปอยู่ในน้ำ พร้อมรินน้ำที่มีเกลือแร่เหล่านั้นทิ้งไปก่อนดำเนินการประกอบอาหารขั้นต่อไป
- หลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูง
อาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงอย่างสิ้นเชิง คืออาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เกลือ ทั้งเกลือหวาน เกลือจืด และเกลือเค็ม รวมถึงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ทั้งประเภทอาหารหมักดอง อย่าง กุนเชียง หมูยอ รวมถึงไข่แดง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ กาแฟ
ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินอาหารในแนวทางคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low Carb) ได้หรือไม่
นี่คือหนึ่งในคำถามที่มีผู้ป่วยกลุ่มวัยรุ่นถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดย รศ. พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม ได้ให้คำตอบว่า ผู้ป่วยโรคไตที่อยู่ในช่วงก่อนบำบัดทดแทนไต หรือการฟอกไต ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ (Low Protein) ดังนั้นการดูแลสุขภาพและร่างกายโดยเลือกรับประทานอาหารในสูตรโปรตีนสูง (High Protein) คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low Carb) จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคนี้เป็นอย่างยิ่ง
เทคนิคการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพ
วิธีที่ผู้ป่วยโรคไตหรือทุกคนที่รักสุขภาพสามารถทำตามได้ คือการอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนซื้อสินค้า โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นหลัก คือ ปริมาณพลังงาน โปรตีน ไขมัน และเกลือแร่เมื่อเทียบกับปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน ทั้งนี้ หากตัวเลขดังกล่าวสูงเกินไปสำหรับผู้สูงวัย หรือผู้ป่วยบางท่าน อาจพิจารณาตัวเลขจำนวนหน่วยบริโภคต่อผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม เพื่อลดหรือปรับจำนวนอาหารให้เหมาะสมได้
แต่หากใครที่ต้องการวิธีที่ง่ายและสะดวกยิ่งกว่านั้น สามารถมองหาตราสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ ที่เป็นการแสดงว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้วว่า มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม เพื่อเป็นการลดหวาน มัน เค็ม ที่เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้เช่นกัน
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Animation with Adobe After Effect
หลักสูตรที่จะได้เรียนรู้เครื่องมือ และเทคนิคพิเศษต่างๆ จากโปรแกรม Adobe After Effect CS...
การใช้งาน Microsoft Word 2010/2013 ขั้นสูง
Microsoft Word ไม่ใช่โปรแกรมที่ใช้เฉพาะสร้างเอกสาร 1-2 หน้าเท่านั้น โปรแกรมสามารถที่จะใ...
Pinnacle Studio™ 16 Training
This training will be your indispensable guide to unlocking the incredible editing powe...
Joomla Extensions
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา Joomla รู้จักการใช้งาน Control p...
Joomla Template สร้างและปรับแต่งเทมเพลต (Creating and Editing Custom Templates)
หลักสูตรการสร้างและปรับแต่ง Template ของ Joomla สำหรับผู้เริ่มต้นจนถึงประยุกต์ใช้งาน โด...
คำค้นหา : โรคไตฟอกไตผู้ป่วยโรคไตผักและผลไม้ผักและผลไม้ที่มีสีเข้มโพแทสเซียมฟอสฟอรัสรสชาติจืดผักกาดขาวอาหารโซเดียมสูงอาหารหมักดองคาร์โบไฮเดรตต่ำอาหารที่มีโปรตีนต่ำโปรตีนสูงอาหารที่ดีต่อสุขภาพโปรตีน