3 โรคอันตรายที่พบบ่อยใน "ผู้หญิง" และวิธีป้องกัน
เกิดเป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก คำกล่าวนี้จะเรียกว่าไม่ผิดนัก เพราะในทุกๆเดือนที่ผู้หญิงต้องมีประจำเดือน บางคนก็มีอาการปวดท้องที่ทำให้ต้องรู้สึกทรมานอยู่เสมอ ไม่ใช่เรื่องที่น่าภิรมย์เท่าไร แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ปัญหาจริงๆ จะตามมาเมื่อผู้หญิงเริ่มอายุมากขึ้น เริ่มตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ความเสื่อมต่างๆ ก็เริ่มตามมา ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสร้างกระดูกที่เริ่มลดลง ทำให้กระดูกบางลง ความเสี่ยงในการเกิดก้อนเนื้อหรือมะเร็งก็เพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
พญ. น้ำทิพย์ พันธ์ทิพทวี สูตินรีแพทย์ และ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Clinicชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จึงได้มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่ต้องระวังในผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบกัน
3 โรคอันตรายที่พบบ่อยในผู้หญิง
1.มะเร็งปากมดลูก
พบมากเป็นอันดับต้นๆของหญิงวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุที่สำคัญคือ เชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ระยะแรกมักไม่แสดงอาการ ต้องอาศัยการตรวจคัดกรองเท่านั้น
2.มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งอันดับหนึ่งในเพศหญิง โดยระยะแรกมักไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวก็มีการดำเนินของโรคไประยะหนึ่งแล้ว เช่น มีก้อน หรือความผิดปกติที่เต้านม เช่น น้ำเหลือง หรือของเหลวไหลออกจากเต้านม เป็นต้น โดยผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี
3.กระดูกพรุน
กระดูกพรุน คือการที่สูญเสียมวลกระดูก หรือเนื้อกระดูกบางลง ทำให้รับน้ำหนักได้น้อยลง เปราะ แตกหักง่าย โดยผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มีการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง และมีกระบวนการสลายกระดูกเพิ่มมากขึ้น
วิธีป้องกันโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิง
ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันเราสามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงเหล่านี้ได้ รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการตรวจคัดกรองและการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือสูตินรีแพทย์นั่นเอง
โดยผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเป็นประจำ เพิ่มเติมจากการตรวจสุขภาพปกติดังนี้
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถตรวจได้ตั้งแต่เริ่มมีเพศสัมพันธ์หรืออายุ 35 ปีขึ้นไป โดยถ้าเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างเดียว (ThinPrep) ต้องตรวจทุกปี แต่ถ้าเพิ่มการตรวจหาเชื้อระดับพันธุกรรม (HPV DNA test) สามารถตรวจได้ทุก 3-5 ปี
- ตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 30 ปี หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง และควรตรวจเป็นประจำทุกปี
- ตรวจเอกซเรย์เต้านม (แมมโมแกรม) ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง และควรตรวจเป็นประจำทุกปี
- ตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป เพื่อตรวจภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน เพื่อคัดกรองความเสี่ยงในการเกิดการแตกหักของกระดูก
ปัจจุบันการตรวจเหล่านี้สามารถทำได้อย่างปลอดภัย แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การตรวจก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ดังนั้นอย่ารีรอที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการป้องกันโรคอันตรายได้อย่างทันท่วงที
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Flutter for beginner (สำหรับผู้เริ่มต้น)
ปี 2020 นี้ถ้าจะเริ่มพัฒนาแอพแบบ Cross Platform (รองรับทั้ง Android / iOS) ตัวเลือกที่น...
Basic Android Development with Kotlin (สำหรับผู้เริ่มต้น)
ภาษา Kotlin เป็นหนึ่งในภาษาที่ทาง Google ผลักดันให้เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการพัฒนา Android...
Illustrator CC 2018/2019 พื้นฐานถึงขั้นกลาง
Illustrator นับเป็นเครื่องมือที่คนออกแบบ (Graphic Designer) รู้จักคุ้นเคยเป็นอย่า...
ระบบปฏิบัติการ Windows 10
Windows 10 เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นล่าสุดจากทางบริษัท Microsoft มาพร้อมความสามารถมากมาย ใ...
Basic React JS สำหรับผู้เริ่มต้น
เว็บแอพปัจจุบันมีแนวโน้ม และเทรนด์ไปในทิศทางของ SPA (Single Page Application) กันโดยมาก...
คำค้นหา : มะเร็งมะเร็งปากมดลูกหญิงวัยเจริญพันธุ์เชื้อไวรัส hpvมะเร็งเต้านมกระดูกพรุนฮอร์โมนเอสโตรเจนการฉีดวัคซีนสูตินรีแพทย์การตรวจสุขภาพตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมตรวจเอกซเรย์เต้านมภาวะกระดูกบาง