5 เทรนด์ AI ที่ธุรกิจต้องจับตาในปี 2568

5 เทรนด์ AI ที่ธุรกิจต้องจับตาในปี 2568

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technic

5 เทรนด์ AI ที่ธุรกิจต้องจับตาในปี 2568


เปลี่ยนโลกคำนี้ไม่เกินจริง เพราะในปีที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นปีแห่งการเริ่มต้นนำ AI เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพนักงานและผู้คนทั่วไป สำหรับในปี 2568 มั่นใจว่า AI ก็จะยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความฉลาดและการทำงานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สร้างผลกระทบเชิงบวก และนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างมากขึ้น ทั้งช่วยปลดล็อคการทำงานของพนักงาน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร หาแนวทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประเทศไทยและโลก ตลอดจนสร้างหลักการกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้มีจริยธรรมและความรับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เผยเทรนด์ AI ที่น่าจับตามองในปี 2568 เพื่อให้องค์กรไทยทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และคนไทยได้เตรียมความพร้อมประยุกต์ใช้ AI ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างสิ่งใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกให้กับตนเอง สังคม และประเทศ ดังนี้

Scaling Laws: AI จะยกระดับศักยภาพและเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ในปีหน้า AI จะได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดยิ่งกว่าทุกการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผ่านมา ฉีกกฏการเติบโตจากเดิมที่เติบโตด้วยตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลา โดยคาดการณ์ว่า AI จะเพิ่มขึ้นแบบเป็นทวีคูณในทุกๆ ครึ่งปี อันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังในทุกมิติ และการนำเทคนิคที่เก่งกว่าเดิมมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลและอัลกอริทึมของ AI ซึ่งองค์กรที่ได้เริ่มใช้และยังไม่ได้ใช้ AI จึงควรปรับตัวตามเรื่องนี้ให้ทัน

AI ไม่ได้เป็นแค่เทคโนโลยี แต่จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการใช้ชีวิตและทำงานของทุกคน ภาคองค์กรต้องตระหนักถึงการนำ AI มาใช้เพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานตลอดจนโมเดลธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบัน มีหลายองค์กรในไทยที่นำ AI มาประยุกต์ใช้ในการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพงาน และลดระยะเวลาในการทำงานให้กับพนักงานแล้ว จากรายงานของ IDC ประจำปี 2567 พบว่า 60% ขององค์กรที่ได้สำรวจจากทั่วโลก วางแผนที่จะนำ AI เข้ามามีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพใน 2 ปีข้างหน้า ซึ่งสูงกว่าในปี 2566 ที่มีสัดส่วนเพียง 46% เท่านั้น โดยอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การศึกษา สุขภาพ และการเงิน ดังนั้นหากมองภาพรวมในระดับประเทศ องค์กรต่างๆ ในไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับนำ AI มาปรับใช้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เท่าทันกับการใช้งาน AI ของประเทศอื่น

“ภายในเวลาไม่ถึง 2 ปีที่ผ่านมา AI มีพัฒนาการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถช่วยทำงานที่ซับซ้อน และเข้าใจการสื่อสารได้เหมือนกับมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติ สร้างโอกาสและประโยชน์อย่างมหาศาล เราจะเริ่มเห็นความแตกต่างของคนที่ใช้ AI กับคนที่ไม่ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบัน AI เป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานได้” นายธนวัฒน์ กล่าวและเสริมว่า “วันนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอีกครั้งของการปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยี Gen AI เพิ่งเริ่มต้น จึงเป็นโอกาสของทุกคน ทุกบริษัท และทุกประเทศ มี AI ใช้ได้อย่าง
เท่าเทียมกัน ในเวลาใกล้ๆ กัน ด้วยต้นทุนที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อย่างเช่น Microsoft Copilot ที่มีให้ใช้ฟรี ทั้งใน Windows 11, Edge และ Bing ดังนั้น ประเทศ องค์กร และคนไทย ควรมองภาพของเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้ในแง่มุมใหม่ เพื่อเปิดรับและก้าวทันเทคโนโลยี AI ที่
ทุกประเทศต่างกำลังเร่งพัฒนาแนวทางการใช้งานเพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน”

Agentic World: เสริมประสิทธิภาพให้องค์กร และช่วยพนักงานมุ่งเน้นการทำงานที่สำคัญ

AI Agent จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานและกระบวนการทำงาน ช่วยแบ่งเบาภาระการทำงาน Routine Work เพื่อให้พนักงานมีเวลาไปโฟกัสกับการทำงานที่สำคัญกว่า และยังช่วยให้องค์กรจัดสรรทรัพยากรบุคคลได้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอนาคตเราจะเห็นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI อย่างแพร่หลาย เราจะได้เห็น AI Agent มาช่วยสนับสนุนพนักงานในการค้นหาข้อมูล เข้าถึงองค์ความรู้ทั้งภายในและนอกองค์กรได้มากขึ้น ตลอดจนการทำงานร่วมกันแบบ Multi AI Agent และที่สำคัญผู้ใช้งานที่ไม่ความรู้ด้านไอที ก็สามารถสร้าง AI Agent ของตนเองได้อย่างง่ายดายและสะดวกรวดเร็ว ผ่านเครื่องมือต่างๆ อาทิ Microsoft 365 Copilot และ Microsoft Copilot Studio เป็นต้น

เห็นตัวอย่างได้จากในกลุ่มธุรกิจธนาคาร เราสามารถแบ่งกระบวนการการตรวจสอบเครดิตลูกค้าออกมาได้หลายขั้นตอน พนักงานธนาคารอาจมองเห็นโอกาสว่างานการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารจากลูกค้าเป็นงานที่ใช้ AI ช่วยได้ ในการทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมาก เมื่อ AI แจ้งว่าได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว พนักงานจึงทำหน้าที่ตรวจทานอีกครั้ง ในกรณีที่ลูกค้าส่งเอกสารมาไม่ครบ AI จะทำการแจ้งเตือนพนักงาน นอกจากนี้ AI ยังสามารถช่วยตรวจสอบได้ด้วยว่า ข้อมูลในเอกสารที่ลูกค้ายื่นนั้นถูกต้องหรือไม่ เช่น ถ้าลูกค้าแจ้งว่าทำงานที่บริษัทนั้นๆ แต่ AI ตรวจสอบแล้วไม่พบข้อมูล AI จะสามารถแจ้งเตือนพนักงานให้ตรวจสอบข้อมูลนี้อีกครั้งได้เช่นกัน ซึ่งการใช้ประโยชน์จาก AI แบบนี้ถือเป็นคอนเซปต์ของการใช้ AI ในอนาคต

Multimodal AI: สรรค์สร้างนวัตกรรม จากAI ที่รองรับข้อมูลจากสื่อทุกประเภท

ในสภาพการทำงานปัจจุบัน แหล่งข้อมูลที่เราใช้ในการทำงานหรือจัดเก็บไม่ได้มาจากเอกสารหรือข้อความเพียงอย่างเดียว ยังมีข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง ซึ่งในอนาคต AI จะสามารถนำข้อมูลที่อยู่ในสื่อหลากหลายประเภทนี้ออกมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ และบูรณาการร่วมกันได้ สามารถประมวลผลข้อมูลออกมาได้ครบถ้วนและสอดคล้องในทุกบริบท ก้าวข้ามขีดจำกัดในการป้อนข้อมูล คำสั่ง และแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของข้อความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้การสื่อสารกับ AI เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน Copilot ของ Microsoft สามารถใส่ prompt ได้ทั้งข้อความ เสียงพูดเป็นภาษาไทย และรูปภาพ สามารถมองเห็นสิ่งที่เราเห็นบนหน้าจอ หรือต้องการแสดงให้เห็นภาพกล้องที่มีอยู่บนดีไวซ์ต่างๆ รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิด user interface อันชาญฉลาด ใช้งานง่าย และเป็นภาษาธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ไม่ว่า
จะเป็นระบบ Voice Recognition ที่แม่นยำรวดเร็ว หรือ Sora โมเดล AI ที่จะช่วยให้เราสร้างวิดีโอที่สมจริงได้จากข้อความ เราจะเห็นโซลูชันต่างๆ ที่เชื่อมโยงความสามารถนี้ สร้างสรรค์บริการใหม่ๆ เพื่ออำนวย
ความสะดวก และสร้างแต้มต่อในการให้บริการลูกค้า

 Data Security:หัวใจสำคัญที่จะต้องพัฒนาควบคู่กับการประยุกต์ AI

หนึ่งในเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจาก AI สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ จึงมีความจำเป็นที่องค์กรจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการแบ่งปันข้อมูล หากมีการแชร์ข้อมูลอย่างเกินควรและไม่ได้รับการป้องกัน ข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยก็อาจถูกมองเห็นได้ เช่น ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานและลูกค้า ซึ่งจะต้องเป็นความลับขององค์กร

ในอดีต การแชร์ข้อมูลโดยไม่มีการควบคุมอาจยังไม่เป็นปัญหาใหญ่ เพราะไม่มีเครื่องมือที่สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้ แต่ในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไป การรักษาความปลอดภัยข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการกำหนดแนวทางการจัดการข้อมูล (data governance)

ไมโครซอฟท์ เสนอ 4 แนวทางในการเตรียมข้อมูลสำหรับการใช้งาน AI คือ การรู้จักข้อมูล การควบคุมข้อมูล การปกป้องข้อมูล และการป้องกันการสูญเสียข้อมูล การดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความกังวลของผู้นำ และลดความเสี่ยงด้านข้อมูลได้เป็นอย่างมาก พร้อมนำเสนอเครื่องมืออย่าง Microsoft Purview ช่วยรักษาความปลอดภัยข้อมูลแบบเรียลไทม์และการควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนด ทำให้
การใช้งาน AI ในองค์กรปลอดภัย มั่นคง และมีประสิทธิภาพสูงสุด

Responsible AI: จริยธรรม AI ต้องใช้อย่างเป็น “ธรรม”กับทุกฝ่าย

เพื่อให้ AI ถูกนำไปใช้งานอย่างสร้างสรรค์ เป็นธรรม และเกิดประโยชน์กับทุกคนในสังคมอย่างแท้จริง บริษัทผู้พัฒนายักษ์ใหญ่ในหลายประเทศต่างร่วมกันในการหาแนวทางกำกับดูแลการใช้งาน AI โดยไมโครซอฟท์ ได้กำหนดมาตรการใช้งาน AI อย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งเน้นความโปร่งใส ความเป็นธรรม และความปลอดภัย ทั้งยังมีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าบริการ AI ใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจะต้องผ่านเกณฑ์ Responsible AI ก่อนการนำออกมาใช้

พร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เสริมมาตรการ AI Guardrail เพื่อป้องกันการใช้งาน AI ในรูปแบบที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างเข้มงวด เพื่อให้แน่ใจว่า AI จะถูกใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องและเป็นธรรม โดยมีการกำหนดเกณฑ์การใช้งานที่ชัดเจนและป้องกันการใช้งานในทางที่ผิด เช่น การใช้งานที่ละเมิดความเป็นส่วนตัว การใช้เพื่อการก่ออาชญากรรม หรือการใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ

จากเทรนด์เทคโนโลยีที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า AI สามารถสร้างฉากทัศน์ใหม่ และเกิดประโยชน์มหาศาลต่อภาคธุรกิจได้อย่างไรบ้าง โดยผู้บริหารควรกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้ AI ผ่านการวิเคราะห์ภาพรวมการทำงานภายในองค์กร และนำ AI เข้าไปช่วยแก้ไขกระบวนการทำงานที่ล่าช้าหรือขาดประสิทธิภาพเหล่านั้น เปลี่ยน AI เป็นผู้ช่วยทำงานร่วมกับพนักงาน ขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยไมโครซอฟท์ ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชัน AI มุ่งมั่นที่จะพัฒนา AI อย่างสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม สร้างความเท่าเทียมในการใช้งานเทคโนโลยี ที่ครอบคลุมทั้งระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ รวมถึงริเริ่มโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างทักษะและส่งเสริมการใช้งาน AI ในวงกว้าง “AI ไม่ใช่กระแสของเทคโนโลยี แต่เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการพลิกโฉมธุรกิจ ปลดล็อคข้อจำกัดและสร้างขีดความสามารถการแข่งขันใหม่ๆ โจทย์ของ AI คือเรื่องของธุรกิจ ซึ่งหัวใจสำคัญในการนำ AI เข้าไปใช้งานคือ ผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุน มีการกำหนดกลยุทธ์การใช้ AI ที่ชัดเจน เพิ่มทักษะและจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับพนักงาน รวมถึงมีมาตรการการควบคุม เพื่อให้ใช้ AI ได้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความรับผิดชอบ” นายธนวัฒน์กล่าวทิ้งท้าย


ที่มา: sanook.com/hitech/1607791

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Bella
เข้าชม 63 ครั้ง

คำค้นหา : เทรนด์ aiscaling lawsรายงาน idcmicrosoft copilotอาชญากรรมไซเบอร์multimodal aiทรัพยากรบุคคลai agentmicrosoft 365จริยธรรม ai