ChatGPT กับการศึกษา นักเรียนจะได้ประโยชน์หรือไม่

ChatGPT กับการศึกษา นักเรียนจะได้ประโยชน์หรือไม่

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

ChatGPT กับการศึกษา นักเรียนจะได้ประโยชน์หรือไม่


ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ChatGPT ซึ่งเป็นแชทบอตที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ของผู้คน ตลอดจนการใช้ในทางที่ผิดๆ และในขณะที่นักการศึกษาบางคนพยายามไม่ให้มีการใช้ AI ในชั้นเรียน แต่บางคนก็สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีนี้ในการเรียนการสอน

เมื่อ ChatGPT ซึ่งเป็นแชทบอตที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่พัฒนาโดย OpenAI ได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ บางแห่งเลือกที่จะบล็อกแอปฯ ดังกล่าวบนอุปกรณ์ดิจิทัลของโรงเรียน เช่น แท็บเล็ตและแล็ปท็อป เพื่อป้องกันการคดโกงต่าง

แต่โรงเรียนในเขตการศึกษาอิสระของนครดัลลัส หรือ Dallas ISD (Dallas Independent School District) กลับเปิดรับเทคโนโลยีใหม่นี้

Dallas ISD เชื่อว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรมนั้น จะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างเนื้อหาต้นฉบับ และการอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อหลีกเลี่ยงการลอกเลียนได้

อาจารย์บางคนเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่จะไปต่อสู้กับเทคโนโลยีใหม่นี้ อย่างเช่น บีทตา โจนส์ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส คริสเตียน (Texas Christian University) ซึ่งกำลังสอนให้นักเรียนของเธอมองว่า ChatGPT เป็นเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดที่สามารถช่วยในเรื่องการเรียนได้ แต่ไม่มีความน่าเชื่อถือ

โจนส์ กล่าวว่า “นักเรียนสามารถคิดค้นและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ เพราะพวกเขามี AI คอยช่วย ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลอันกว้างใหญ่ได้ แน่นอนว่าพวกเขาต้องตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้เสียก่อนเพื่อยืนยันความถูกต้อง ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิดในเชิงวิเคราะห์อีกด้วย”

อย่างไรก็ตาม การพยายามตรวจสอบว่านักเรียนใช้ ChatGPT ในการช่วยทำการบ้านหรือไม่นั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่ บรรดาบริษัทต่างๆ ที่พัฒนาซอฟต์แวร์ตรวจจับการคัดลอกผลงานของ AI เช่น เทิร์นอิทอิน (Turnitin) กล่าวว่า เมื่อพวกเขาสามารถตรวจจับกลโกงได้ดีขึ้น กลุ่มคนที่ใช้วิธีโกงเหล่านั้นก็เก่งขึ้นตามไปด้วย

แอนนี เชชิเทลลี ผู้บริหารของ Turnitin อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า เมื่อนักเรียนใช้ ChatGPT ในการทำงานแล้วก็อาจใช้ระบบอื่นในการตรวจสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูล เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการตรวจจับกลโกง

ในขณะที่โจนส์กล่าวว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ ล้วนมีความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า False Positive หรือผลการตรวจจับที่ระบุว่ามีการกระทำผิดแต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เช่น ผลตรวจสอบอาจชี้ว่านักศึกษาใช้ AI ทำงาน ทั้งที่จริงๆ แล้วพวกเขาอาจทำงานด้วยตัวเอง

โจนส์ กล่าวต่อไปว่า “เราไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่านักเรียนโกงหรือไม่ บรรดาเทคโนโลยีตรวจจับ AI ที่ว่าดีที่สุดทั้งหลายล้วนกล่าวอ้างว่าตนมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ 99.6% แต่ก็ไม่เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับ False Positive และนั่นก็อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและคณาจารย์แย่ลง ตลอดจนทำให้ชื่อเสียงของนักเรียนที่ดีเหล่านั้น แย่ลงไปด้วย”

แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือ AI จะไม่หายไปไหน และตัวมนุษย์เองก็กำลังล้าหลังลงไป

ทั้งนี้ การสำรวจของ UNESCO ที่มีขึ้นในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย 450 แห่งพบว่า มีเพียง 10% เท่านั้นที่ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ในสถาบันของตน


ที่มา: sanook.com/hitech/1590795

 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Bella
เข้าชม 550 ครั้ง

คำค้นหา : chatgpt กับการศึกษาปัญญาประดิษฐ์openaiเทคโนโลยี aiแท็บเล็ตบล็อกแอปแล็ปท็อปfalse positiveunescoการเรียน