Content กับการสร้างกระแส ปัญหาซ้ำซากของเหล่า Influencer
ปัจจุบันมีการพูดถึงคำศัพท์ “Content” กันมากขึ้นจนกลายเป็นคำพูดติดปากกันไปแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มของนักการตลาด และ Influencer รวมถึงมีการบอกต่อกันในเชิงปฏิบัติว่า ถ้าอยากทำการตลาด อยากเพิ่มยอดขาย อยากสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ต้องรีบทำ Content ซึ่งทุกวันนี้ใคร ๆ ก็สามารถทำการตลาดด้วยการสร้าง Content ได้ แต่คำว่า “Content” คุณเข้าใจคำนี้ถูกต้องแค่ไหนกัน
อย่างเมื่อราว ๆ สัปดาห์ที่ผ่านมา เราจะได้เห็นคลิปที่ Influencer ท่านหนึ่งนำเสนอคลิปวิดีโอรีวิวสินค้าชนิดหนึ่ง ที่ทำเอาคนที่พบเห็นคลิปวิดีโอนี้ถึงกับต้องวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม มีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนถึงการกระทำที่ไม่สมควรนี้มากมาย เพราะเป็นเนื้อหาที่ไม่มีการกลั่นกรอง ทั้งยังเป็นการสื่อสารที่อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด และเกิดการลอกเลียนแบบได้ ซึ่ง Influencer คนดังกล่าว ก็ไม่ได้สนใจต่อคำวิพากษ์วิจารณ์หรือคำเตือนนั้นด้วยซ้ำ
นอกจากจะไม่ได้รู้สึกผิดต่อการกระทำของตัวเอง หนำซ้ำยังทำคลิปออกมาชี้แจงด้วยอารมณ์รุนแรง และใช้ถ้อยคำแบบแรงมาแรงกลับ โต้มาโต้กลับ โดยไม่แคร์สื่อใด ๆ และพูดว่าสิ่งที่ทำมันคือ “Content” คำนี้สำหรับคนทั่วไปแล้วอาจมองว่า มันคืออะไรก็ได้ที่ทำแล้วเกิดกระแส เกิดความน่าสนใจ สามารถเรียกยอดวิวได้ มีคนดูจำนวนมาก ก็สามารถเป็นคอนเทนต์ที่ประสบความสำเร็จแล้ว
แต่ถ้า Content นั้นเป็นการสร้างเนื้อหาที่เกินจริง มีการดัดแปลง บิดเบือนเนื้อหาเกิดขึ้นมา เรื่องนี้คงเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค และเอาข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งกรณีนี้มีให้เราเห็นมานานแล้ว แต่ไม่สามารถควบคุมได้ การสร้างเนื้อหาแค่หวังยอดขายอย่างเดียว อาจไม่ได้สนับสนุนแบรนด์ในทางที่ดี แต่กลับสร้างความเข้าใจใหม่แบบผิด ๆ สร้างภาพลักษณ์แบบถูกติดแฮชแท็กแบน จากที่เคยปังมาก็สามารถพังลงได้ในวินาทีเดียวจากการกระทำของ “Influencer” ที่ไร้จรรยาบรรณ
หรืออีกนัยหนึ่ง ปัจจุบันมีการเข้าใจผิดไปมากเกี่ยวกับคำว่า Content โดยเข้าใจว่าเมื่อมีบุคคลที่มีชื่อเสียงเช่น ดารา ศิลปิน หรือแม้แต่นักการเมืองเอง ออกมานำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของตัวเอง กลายเป็นกระแส และสังคมให้ความสนใจ ก็จะมีบุคคลบางกลุ่มที่อาจมีอคติต่อผู้ส่งสารนั้นว่าการสร้าง Content ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใดก็ตาม เป็นการเรียกร้องความสนใจ สร้างกระแส อยากดัง หรือมีคำพูดที่ใช้เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “คนหิวแสง”
แต่ในความเป็นจริงแล้วการนำเสนอเนื้อหาต่าง ๆ ของบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนเท่านั้น แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ได้มองถึงเนื้อหาที่นำเสนอ หากจ้องจับผิดแค่ตัวบุคคลเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนี้สายงานอาชีพสร้างสรรค์ Content ที่มุ่งเน้นในการนำเสนองานที่เป็นประโยชน์ ก็คงอยู่ยากขึ้นแล้วในสังคมปัจจุบัน
เอาล่ะมาถึงตรงนี้หลายคงคงมีคำถามว่าเราเข้าใจคำว่า “content” นี่มากแค่ไหนกัน ไม่ใช่ได้ยินเขาพูดกัน หรือเขาเล่าว่า ก็มโนไปเองว่าตัวเองนี่แหละเป็นผู้ที่เข้าใจคำว่า “content” ดีแล้ว เรามาดูกันว่าคำ ๆ นี้แท้จริงแล้วคืออะไร
Content คำนี้แปลตรงตัวคือ เนื้อหา แต่ความหมายที่ใช้กันปัจจุบัน ก็คือองค์ความรู้ หรือข้อมูล ที่ปรากฎในรูปแบบสื่อต่าง ๆ เช่น บทความ infographic หรือ clip ในเพจต่าง ๆ
Content คืออะไร?
Content คือ ข้อมูลเนื้อหาที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ ธุรกิจ รายละเอียดสินค้าบริการ ประสบการณ์ หรือการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านตัวอักษร รูปภาพ อินโฟกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ ปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่สำคัญในทำการตลาดการขายออนไลน์ อย่างมากเนื่องจากคนส่วนใหญ่อยู่ในโลกออนไลน์และเสพ Content ในนั้นเป็นจำนวนมาก
การสร้าง Content ก็เหมือนกับเราหาโอกาสในการสื่อสารกับผู้อ่านหรือผู้บริโภค ที่นำไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ เช่น รู้จักสินค้าเรามากขึ้น รู้จักองค์กร หรือนำไปสู่การซื้อสินค้าและบริการ โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร Content ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่างเช่น เราจะทำ Facebook เราก็ต้องมีเนื้อหาที่ต้องการจะโพสต์ขึ้นไป เพื่อทำให้คนเห็น ทักและติดตาม หรือจะทำ Google ก็ต้องมีคอนเทนต์ให้ผู้อ่านหรือผู้บริโภครู้จักเรามากขึ้น ทำ YouTube ก็ต้องมี Video Content เพื่อให้เกิดการไลก์วิดีโอ หรือการกดติดตามช่อง YouTube เป็นต้น
Content มีกี่ประเภท?
จริง ๆ แล้ว Content มีหลายประเภท ทั้งรูปภาพ วิดีโอ เสียง การเขียนหรือตัวอักษร ซึ่ง Content แต่ละประเภทก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น
- Content ให้ความรู้ (Educate) : เป็น Content มีไว้ให้ความรู้ บอกเล่าสาระความรู้ให้กับผู้อ่าน โดยเป้าหมายคือการสร้างการรับรู้และสร้างความน่าเชื่อถือ
- Content ขายของ (Sales & Marketing) : เป้าหมายหลักคือทำให้เกิดการซื้อขาย สร้างรายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นที่ต้องการมากในองค์กร ธุรกิจต่าง ๆ
- Content ให้ความบันเทิง (Entertainment) : สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดการติดตาม ผูกพัน หรือบอกต่อ ทำให้ผู้อ่านหรือผู้บริโภคจะอยู่กับเรานานขึ้น
- Content ประเภทโน้มน้าวใจ (Convince) : เพื่อทำให้การโน้มน้าว คล้อยตาม ช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
- Content ประเภทสร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) : โดยมากจะเชื่อมโยงถึงความเชื่อ ประทับใจ ชื่นชม มองเห็นโอกาส นิยมใช้ในการสร้างแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์องค์กรในทิศทางที่ดี ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ทำไมแบรนด์ต้องสร้าง Content
ปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือเล็กได้หันมาทำ Content เพื่อทำการตลาดกันมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างที่ช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถขยับขยายและเติบโตจนประสบความสำเร็จได้ หรือที่เราเรียกกันว่า Content Marketing
1. สร้างการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
การสร้าง Content ช่วยเพิ่ม Awareness หรือการรับรู้มากขึ้นสำหรับลูกค้าใหม่ การทำ Content บางประเภท เช่น การทำ Infographic ใน Social Media ต่าง ๆ จะตรงโจทย์นี้มาก เนื่องจากมีข้อมูลตอบสนองความต้องการของผู้อ่าน ซึ่งอาจเปลี่ยนมาเป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ อีกทั้งยังแชร์ต่อได้ง่าย ส่งผลให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย
2. สร้างความรู้สึกเชิงบวก
กลยุทธ์ในการผลิต Content สมัยใหม่ เป็นหนึ่งในทางเลือกของการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ Content จึงเป็นกลยุทธ์สำหรับการสร้างภาพลักษณ์ และส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเชิงบวกต่อแบรนด์ และยังสร้าง Brand Loyalty หรือความจงรักภักดีในแบรนด์สำหรับลูกค้าเดิมได้เช่นกัน
3. สร้างความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องการ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจจากกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาต่าง ๆ สามารถสร้างความไว้วางใจและน่าเชื่อถือได้จากการผลิต Content อย่างมีคุณค่า สร้างอารมณ์ และเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
สรุปคือ Content คือการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจที่ไม่ใช่ศัพท์ใหม่อะไร แต่นับว่าเป็นหนึ่งในทางเลือกของการทำการตลาดแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจนั้นเติบโตไปได้ โดยจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมและสร้างสรรค์ และควรเลือกใช้ Content แต่ละประเภทให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้นั่นเอง
ดังนั้น สิ่งสำคัญของการใช้ Influencer เพื่อทำ Marketing ในการสร้างเนื้อหาประชาสัมพันธ์นั้น คือการเลือกคนที่ใช่ ที่ผ่านการควบคุม ไม่ใช่ปล่อยให้เขาเล่าในแบบของตัวเอง ให้เขาพูดตามที่ตัวเองต้องการ เพราะสุดท้ายแล้วถ้าเกิดเป็นกระแสดราม่าที่เป็นผลลบมากกว่าผลบวก หรือเกิดการอวยแบรนด์จนเกินงาม ไม่ใช่แค่ Influencer คนนั้นที่เสีย แต่ตัวแบรนด์นั่นแหละที่จะเสียงบ marketing โดยสูญเปล่า แล้วยังทำให้เนื้อหาที่นำเสนอไปนั้นทำแบรนด์พังได้เช่นเดียวกัน
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
SolidWorks 2015-2017 Advanced Part Modeling
หลักสูตรนี้จะสอนกี่ยวการใช้โปรแกรม Autodesk Inventor เบื้องต้น ซึ่งจะเน้นการใช้โปรแกรมใ...
การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น(Microsoft Office and Internet)
หลักสูตรนี้จะเป็นการเน้นเรียนถึงหลักความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มใช้คอ...
Inventor Basic
หลักสูตรนี้จะสอนกี่ยวการใช้โปรแกรม Autodesk Inventor เบื้องต้น ซึ่งจะเน้นการใช้โปรแกรมใ...
หลักสูตรการใช้คำสั่ง SQL เบื้องต้น และนำเสนอข้อมูลด้วย SSRS (Microsoft Report Service Server)
SQL Server Reporting Services (SSRS) เป็น Technology หนึ่งของ Microsoft SQL Server Serv...
Basic Angular พื้นฐาน
Angular เป็นหนึ่งใน front end framework ที่กำลังมาแรงและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงตัวหน...
คำค้นหา : contentinfluencerโซเชียลมีเดียคนหิวแสงinfographicวิดีโอโลกออนไลน์facebookgoogleyoutubevideo contentcontent ให้ความรู้content ขายของcontent ให้ความบันเทิงcontent marketingsocial mediabrand loyalty