Facebook ประเทศไทย และโครงการฮัก เปิดตัวแคมเปญล่าสุด ‘กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ’ (#ReportItDontShareIt)
Facebook ประเทศไทย และโครงการฮัก (The HUG Project) ได้เปิดตัวแคมเปญล่าสุดเพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้กับสังคมไทยถึงภัยที่เกิดจากการแชร์รูปภาพหรือวิดีโอที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก และวิธีที่ผู้ใช้งานสามารถทำการรายงานเนื้อหาเหล่านี้ไปยังหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายและ Facebook ได้
แคมเปญที่ชื่อว่า Report It. Don’t Share It (กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ) ประกอบด้วยคลิปวิดีโอสั้นที่มุ่งเน้นการสร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหาดังกล่าวและวิธีรับมือที่จัดทำขึ้นโดย Facebook และถือเป็นเนื้อหาที่เสริมเพิ่มเติมจากคู่มือที่จัดทำโดยโครงการฮัก กับองค์การไม่แสวงผลกำไรอื่นๆ ระดับโลก เช่น World Childhood Foundation, The Family Connection Foundation และสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อแนะนำวิธีที่ชัดเจนในการรายงานเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วยลดเนื้อหาที่เกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กออนไลน์ได้
ในช่วงปีที่ผ่านมา Facebook ได้ทำงานและร่วมปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในปัญหาเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกออนไลน์ ซึ่งรวมไปถึง The National Center for Missing and Exploited Children (NCMEC) และศาสตราจารย์อีเธล เควลล์ (Professor Ethel Quayle) นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องผู้กระทำความผิดทางเพศ เพื่อช่วยให้ได้เข้าใจสาเหตุของการที่ผู้คนแชร์เนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กออนไลน์
ผลการศึกษาของ Facebook บนบัญชี 150 บัญชีที่ Facebook ทำการรายงานไปยัง NCMEC ว่ามีการอัพโหลดเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กออนไลน์ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2563 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 พบว่ามากกว่าร้อยละ 75 ไม่ได้แสดงถึงเจตนาร้าย (ไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเด็ก) แต่เป็นการแชร์เนื้อหาด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น เกิดจากความโกรธ หรือเป็นการมองว่าเนื้อหาเล่านั้นเป็นเรื่องตลกเชิงขบขัน
Facebook ทำการรายงานทุกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กไปยัง NCMEC รวมถึงเนื้อหาต่างๆ ที่ Facebook สามารถใช้เทคโนโลยีตรวจจับได้ และทำการลบก่อนที่จะมีคนเห็นเนื้อหาเหล่านั้นบน Facebook ผลการศึกษายังระบุด้วยว่ารายงานส่วนใหญ่ที่ Facebook ส่งไป เป็นเนื้อหาเดียวกันหรือมีความคล้ายคลึงกัน โดยภาพหรือวิดีโอเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กร้อยละ 90 ในผลการศึกษาเป็นการทำซ้ำ (Copy) ไม่ใช่เนื้อหาใหม่
นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งของเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กทั้งหมดที่ทาง Facebook รายงานไปยัง NCMEC ในช่วงเดียวกันนั้น เกิดจากภาพหรือวิดีโอต้นฉบับเพียงแค่ 6 ชิ้น
คุณมาลินา เอ็นลุนด์ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคง Facebook เอเชียแปซิฟิก และ คุณบุ๋ม วีรวรรณ มอสบี้ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงฮัก
จากการวิเคราะห์นี้ Facebook จึงสร้างแคมเปญร่วมกับพาร์ทเนอร์ในเรื่องของความปลอดภัยในเด็กเพื่อช่วยลดเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กที่ถูกแชร์ออนไลน์บน Facebook
“แม้ว่าข้อมูลจะแสดงให้เห็นว่าจำนวนของเนื้อหาอาจจะไม่ได้เท่ากับจำนวนของเหยื่อ แต่เราเชื่อว่าไม่ควรจะมีเหยื่อแม้แต่คนเดียว การปกป้องและการขจัดปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกออนไลน์นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งอุตสาหกรรม และ Facebook เองก็ยึดมั่นที่จะทำหน้าที่ในส่วนของเราเพื่อปกป้องเด็กๆ จากอันตรายทั้งขณะที่กำลังใช้งานแอปพลิเคชันของเราหรือไม่ได้ใช้ก็ตาม และเราใช้แนวทางการค้นคว้าวิจัยและศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างโซลูชันที่จะขัดขวางการแชร์เนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกออนไลน์” คุณมาลินา เอ็นลุนด์ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคง Facebook เอเชียแปซิฟิก กล่าว
“การแชร์เนื้อหารูปภาพหรือวิดีโอการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกกออนไลน์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ส่งผลร้ายแรงต่อเด็กที่อยู่ในเนื้อหานั้นๆ มาก สถิติจากชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต เกี่ยวการแจ้งเบาะแส และเคสที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ในสองปีที่ผ่านมา พบว่าพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 54.59 นับจากปี 2019 จนถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ยังพบอีกว่าแนวโน้มของผู้เสียหายมีเกณฑ์อายุที่น้อยลง จากกลุ่มวัยรุ่น เปลี่ยนเป็นกลุ่มเด็กแทน” คุณบุ๋ม วีรวรรณ มอสบี้ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงฮัก กล่าว
“ทาง HUG Project จึงพยายามให้ความสำคัญในเรื่องการป้องกันมาขึ้น ด้วยการจัดทำคู่มือในรูปแบบ Interactive fiction เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงได้มากขึ้น เราทำงานร่วมกับ Facebook เพื่อทำความเข้าใจว่าเราจะสามารถขัดขวางการแชร์เนื้อหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เด็กๆ ต้องกลายเป็นเหยื่อซ้ำๆ รวมถึงหาวิธีให้ความรู้แก่ผู้คนว่าจะสามารถรายงานเนื้อหาเหล่านี้ได้อย่างไร”
กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ: Report It. Don’t Share It.
คุณสามารถช่วยเด็กๆ ได้โดยการรายงานเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็ก หากรู้สึกว่าเด็กตกอยู่ในอันตราย สามารถโทรแจ้งเพื่อรายงานไปศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และหากคุณพบรูปภาพที่เด็กกำลังถูกทำร้าย โปรดรายงานไปที่ Facebook และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และอย่าแชร์ ดาวน์โหลด หรือคอมเม้นต์เนื้อหาเหล่านั้น เนื่องจากการส่งต่อเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็ก หรือใส่เนื้อหาเหล่านั้นในข้อความอาจจะมีความผิดตามกฎหมาย เมื่อคุณทำการรายงานมายัง Facebook เราจะไม่ขอให้คุณรวมเนื้อหานั้นๆ เข้ามาในรายงาน
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Basic OpenOffice.org
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปใช้งานในธุรกิจทั่วไป ใน OpenOffice ประกอบไปด้วยโ...
ASP.net 4.0 with my sqlserver 2012 and ssrs
เรียนรู้วิธีการสร้างเว็บด้วย asp.net อีกภาษาในการเขียนเว็บโปรแกรมมิ่งจากทางฝั่ง M...
Building Mobile Apps for Windows Phone
เนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาโมบาย แอพพลิเคชั่นบน Windows Phone 8, การจัดการองค์ประก...
การออกแบบเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป
เนื้อหาหลักสูตรนี้จะเน้นในเรื่อง การเรียนรู้รูปแบบและหลักการในการออกแบบและดีไซน์เว็บไซต...
AutoCAD Drawing 2D Workshop
หลักสูตร AutoCAD (Workshop) ในคอร์สนี้ จะเป็นเน้นในเรื่องของการทำตัวอย่างอย่างเดียว เพื...
คำค้นหา : facebookเทคโนโลยีตรวจจับวิดีโอเนื้อหาncmecวิดีโอต้นฉบับโลกออนไลน์hug projectinteractive fictionfacebook ประเทศไทยโครงการฮัก