Lenovo เผยเทรนด์ปี 2025 AI จะมีบทบาทมากขึ้น ช่วยทั้งเรื่องส่วนตัวและสังคม
Lenovo ประเทศไทยได้ฉลองครบรอบ 20 ปี ของ Lenovo ประเทศไทย และ 40 ปีของ Lenovo Global ซึ่งในรอบนี้จะมาพร้อมกับการเปิดเผยเทรนด์เรื่องราวๆ ต่าง ก่อนที่มีงาน Lenovo Tech Day 2025 ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย ช่วงเดือนพฤษภาคม 2025 นี้ แต่รอบนี้เรามาดูกันว่าการพูดถึงเทรนด์เทคโนโลยีของปี 2025 มีอะไรที่น่าสนใจบ้างกัน
บทบาทของภาษา LLMs เฉพาะทางที่จะเข้ามาพลิกโฉมการใช้งาน AI ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ หรือ LLM ที่เจาะจงสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมหรือโดเมนนั้นจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการใช้งาน AI ทางธุรกิจ โดยการใช้งาน LLM เฉพาะทางหรือเป็นโดเมนที่เจาะจงนั้นจะช่วยให้การสร้างเนื้อหาหรือคำตอบมีความแม่นยำและเกี่ยวข้องกันมากขึ้นเนื่องจาก LLM ที่ AI ใช้งานนั้นจะเป็นภาษาที่มีข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องในแต่ละอุตสาหกรรม อาทิ ข้อมูลเชิงลึก ข้อกำหนด กฏเกณฑ์ต่างๆ หรือตัวอย่างปฎิบัติเพื่อเป็นแนวทาง
โดย LLM ที่มีความเฉพาะจะสามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อหารูปแบบหรือเทรนด์ ให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้การงานใช้ LLM เฉพาะทางจะช่วยให้นวัตกรรมหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น เช่น การใช้งานในการสร้าง Task ทั่วไป การจัดการเวิร์กโฟลว์ การค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ในแง่ของการวางแผนทรัพยากรบุคคล ผ่านการใช้งาน AI นอกจากนี้โมเดลภาษาเฉพาะทางเหล่านี้จะช่วยสร้างนวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงาน รวมถึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของแต่ละอุตสาหกรรมได้ในอนาคต
เพิ่มการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ AI
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความตื่นตัวในเรื่องของ AI และ Generative AI อย่างมากในปี 2024 โดยจากรายงานมีการคาดการณ์ว่าการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ AI จะมีมูลค่าสูงถึง 110 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2028 และเมื่อธุรกิจเริ่มหันมาเห็นถึงประโยชน์ที่มากขึ้นของ AI และในปี 2025 จะเป็นปีที่เราได้เห็นการลงทุนด้าน AI เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้เลอโนโวรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ผสานนวัตกรรมและประสิทธิภาพของ AI เข้าไป ได้แก่ AI PCs, AI Applications และโซลูชัน Hybrid AI รวมถึงอื่นๆ
ความสนใจและความเข้าใจที่มีมากขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้จะนำไปสู่ความพิถีพิถันที่เพิ่มขึ้นในการเลือกใช้เครื่องมือ AI โดยผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในด้านธุรกิจจะไม่มองแค่เพียงว่าเครื่องมือ AI ดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับธุรกิจหรือไม่ แต่จะมีมุมมองและวิสัยทัศน์ที่ใหญ่ขึ้นว่าเครื่องมีอ AI ที่จะนำมาใช้นั้นรองรับข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ได้หรือไม่ด้วยเช่นกัน ทำให้ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนมากขึ้นที่เลือกใช้โซลูชัน AI โดยพิจารณาจากหัวข้อเหล่านี้ตั้งแต่การเริ่มใช้งาน รวมถึงการนำเอาองค์กรภายนอกที่มีความเข้าใจ และพร้อมให้บริการในเครื่องมือเหล่านี้ได้เข้ามาใช้งาน
AI จะเข้ามาเป็นเพื่อนร่วมงาน ให้การเข้าถึงและการใช้งานตอบโจทย์ยิ่งขึ้น
Agentic AI หรือ AI Agent ที่มีความสามารถในการปฎิบัติงานหรือตัดสินใจได้ด้วยตนเอง จะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้าทั้งในแง่ของส่วนบุคคลและส่วนรวม โดยจะเป็นครั้งแรกที่ AI ไม่ได้มีบทบาทเพื่อตอบโจทย์การทำงานพื้นฐานทั่วไปหรือเพียงแค่การตอบแชท แต่ AI จะสามารถทำงานได้ทั้งเชิงรับเชิงรุก กล่าวคือ AI จะเป็นเพื่อนรวมงานกับมนุษย์ได้อย่างแท้จริง จากการคาดการณ์ของ การ์ทเนอร์ พบว่า ภายในปี 2028 การตัดสินใจที่เกิดขึ้นในการทำงานของแต่ละวันจะมี
AI เข้ามาช่วยตัดสินใจกว่า 15% โดย AI Agent จะนำเอา LLM มาใช้งานในการสื่อสารโดยใช้ชุดข้อมูลความรู้ที่มีเพื่อตอบสนองได้แบบเรียลไทม์โดยไม่พึ่งการประมวลผลบนคลาวด์ ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลมีความเป็นส่วนตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลไม่ต้องถูกส่งขึ้นไปบนคลาวด์แต่จะถูกเก็บไว้ที่ตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ นอกจากนี้จะยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเนื่องจาก AI เอเจ้นท์สามารถตอบสนองต่องานได้ด้วยตัวเอง ทั้งในแง่ของการจัดการเอกสาร การสรุปการประชุม หรือการ
สร้างคอนเทนต์ นอกจากนี้เราจะได้เห็นการใช้งาน digital twins หรือฝาแฝดดิจิทัล ซึ่งเป็นการที่ AI ดึงเอาพฤติกรรมต่างๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการกระทำต่างๆ เช่น การนำเอา AI Agent สำหรับการสร้างรายการช็อปปิ้งสินค้า, AI เอเจ้นท์สำหรับการแปลภาษา และ AI เอเจ้นท์สำหรับการท่องเที่ยว มาทำงานร่วมกันกลายเป็น digital twins เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างและเฉพาะบุคคลของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ความต้องการการใช้งาน AI ในโครงสร้าง และระบบที่รองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เซิร์ฟเวอร์รองรับการใช้งาน AI นั้นได้รับการใช้งานที่แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจหันมาใช้งาน AI และ generative AI มากยิ่งขึ้น ซึ่งเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ล้วนใช้พลังงานและก่อให้เกิดความร้อนมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป โดยเลอโนโวคาดการณ์ว่าในปี 2025 ความต้องการในโครงสร้างพื้นฐานที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งาน AI โดยเฉพาะนั้นจะเพิ่มขึ้น ทำให้ออกแบบเซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับการใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้นตามดีมานด์ รวมไปถึงช่วยลดพื้นที่การจัดเก็บและความจำ ยังผลให้การสื่อสารระหว่างเซิร์ฟเวอร์ เป็นระบบ และสามารถปรับแต่งการจัดเก็บข้อมูลได้ตามต้องการ และยังให้จัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความต้องการการใช้งานระบบคลาวด์จากหลายผู้ให้บริการ
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและหลากหลาย ทำให้ธุรกิจจำนวนมากในเอเชียแปซิฟิกเริ่มพิจารณาการใช้งานระบบคลาวด์จากหลายผู้ให้บริการ หรือ multi-cloud เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น สามารถปรับขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ รวมถึงป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากใช้งานคลาวด์จากผู้บริการรายเดียวต้องหยุดชะงักลง เลอโนโวคาดการณ์ว่าในปี 2025 จะมีความต้องการใช้งานคลาวด์เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะคลาวด์โซลูชันที่เกี่ยวกับ AI เช่น การวิเคราะห์และคาดการณ์ ออโตเมชัน และการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนโซลูชันโครงสร้างของระบบเก็บข้อมูลนั้นมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายที่สูง ผู้นำธุรกิจจึงควรต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนระหว่างค่าใช้จ่ายในการย้ายและประโยชน์ที่จะได้รับในระยะยาวจากความยืดหยุ่น และขนาดการใช้งานตามความต้องการ
การลงทุนใน Edge Computing จะเพิ่มขึ้นเพื่อเสริมความรวดเร็วแบบเรียลไทม์
ในขณะที่อุตสาหกรรมอย่างโรงงานผลิต การสื่อสารและคมนาคมรวมถึงภาครัฐ ล้วนมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในเทคโนโลยี IoT และ 5G การลงทุนใน AI และ edge ก็เห็นถึงการเติบโตเช่นกัน โดยจากรายงาน Lenovo’s 2024 CIO Playbook พบว่าการใช้งาน edge นั้นเพิ่มขึ้นราว 25% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2023 และ 2024
โดยในปี 2025 อุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน edge ซึ่งสร้างข้อมูลได้มากกว่า หรือจะเป็นโซลูชัน edge computing ที่ประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นตัวผลักดันที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และเพิ่มประสิทธิผลให้กับงาน ความยืดหยุ่นของการใช้งานคลาวด์ และ edge computing จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจสามารถประมวลผลข้อมูลได้ใกล้เคียงกับแหล่งที่ข้อมูลเดิม จึงช่วยลดเวลาในการประมาลผลและความหน่วง ในขณะที่ข้อมูลขนาดใหญ่ก็ถูกจัดการได้อย่างรวดเร็ว
ความปลอดภัยทางไซเบอร์จะยังคงเป็นเรื่องที่สร้างความกังวล โดยเฉพาะการคุกคามที่มีเพิ่มขึ้นให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
จากเหตุการณ์ข้อมูลสำคัญรั่วไหลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2024 การสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังคงเป็นหัวข้อที่ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิคให้ความสนใจในปี 2025 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งภาครัฐในหลายประเทศล้วนเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องดังกล่าวผ่านกฎหมายหรือ พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Act)
โดยให้ธุรกิจมีมาตรการที่ชัดเจนในการสร้างความปลอดภัย พร้อมมีบทลงโทษหากมีข้อมูลรั่วไหลอันเกิดจากระบบความปลอดภัยของธุรกิจ ซึ่งทำให้ธุรกิจหันมาลงทุนเพิ่มขึ้นในเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ และโซลูชันในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อมาตรการที่รัดกุมยิ่งขึ้นในการเข้าถึงและเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย และด้วยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความนิยมในการใช้งาน AI ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโครงสร้างของระบบที่ดูแลและจัดเก็บข้อมูลจึงเพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องสร้างระบบ
Ecosystem ที่ครอบคลุมและปลอดภัยเพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่ภาครัฐจะออกมาตรการแบบฉับพลันซึ่งอาจส่งผลให้ธุรกิจต้องเร่งติดตั้งและอาจมีข้อผิดพลาด
ธุรกิจดาต้า เซ็นเตอร์ จะเติบโต
กลุ่มธุรกิจดาต้า เซ็นเตอร์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากสาเหตุการบริโภคข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2025 ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนที่ต้องบริหารการใช้พลังงานและการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการโครงสร้างระบบพื้นฐานที่รองรับการใช้งาน AI
ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันธุรกิจดาต้า เซ็นเตอร์
การใช้งานบริการดิจิทัลและ AI ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการในการใช้พลังงานของดาต้า เซ็นเตอร์ เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันในทั่วภูมิภาค ปี 2025 นี้ธุรกิจจะให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีที่คำนึงถึงความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ในบางประเทศมีการออกกฎหรือมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการจัดการกับปัญหาโลกร้อน สำหรับธุรกิจดาด้า เซ็นเตอร์ นั้นให้ความสำคัญกับการบริหารความต้องการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ และการไม่สร้างคาร์บอนฟุตปริ้นที่เพิ่มขึ้นตาม
ทั้งภาครัฐและธุรกิจล้วนจะหันมาให้ความสำคัญต่อการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยการใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีความเย็นมาใช้จัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตรวจสอบและดูแลด้านความยั่งยืนแบบองค์รวม และการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้กับผลิตภัณฑ์
ที่มา: sanook.com/hitech/1608511
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Deep Learning with Python (คอร์สขั้นสูง)
"AI" เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจการทำงานและการใช้ชีวิตยุคปัจจ...
Visualization in Power BI and AI
Power BI เป็นเทคโนโลยีที่เราสามารถนำข้อมูลมานำเสนอด้วยรูปแบบของ Visualization ในรูปแบบต...
Elasticsearch and Kibana with .NET
ElasticSearch คือเครื่องมือค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลแบบกระจาย ที่มีพื้นฐานมาจาก Apache Lu...
Elasticsearch with Python
ElasticSearch คือเครื่องมือค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลแบบกระจาย ที่มีพื้นฐานมาจาก Apache Lu...
Machine learning and Deep Learning with KNIME
โปรแกรม KNIME เป็นโปรแกรมที่เป็นโปรแกรม Open Source ที่ Free ตัวหนึ่ง เหมาะสำหรับคนที่ต...
Using AI coding assistant for Python developer
ผู้ช่วย AI เป็นเครื่องมือซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโค้ดได้อย่างมีประส...
คำค้นหา : lenovo ai 2025lenovo tech dayai agentdigital twinshybrid aiอุตสาหกรรมllmagentic aiทำงานเชิงรุกai ร่วมงานกับมนุษย์