OpenAPI จาก AIS ช่องทางเปิดให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีโทรคมนาคม

OpenAPI จาก AIS ช่องทางเปิดให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีโทรคมนาคม

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

OpenAPI จาก AIS ช่องทางเปิดให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีโทรคมนาคม


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจโทรคมนาคมในไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนับแต่ยุคที่เคยใช้โทรศัพท์ได้อย่างเดียว มาสู่ยุคให้บริการข้อความ SMS และจนมาถึงทุกวันนี้ที่กลายเป็นช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเปิดโอกาสให้กับกับธุรกิจใหม่ หรือการใช้งานรูปแบบต่างๆ อย่างมากมาย แต่หลังจากนี้แนวทางการเปิด API เป็น OpenAPI ของ AIS ก็จะเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้อีกมาก

AIS OpenAPI เปิดทางให้องค์กรภายนอกเข้าถึงข้อมูลและฟีเจอร์ต่างๆ ที่เคยจำกัดอยู่ที่โครงข่ายโทรคมนาคมเท่านั้น โดยการเปิดให้องค์กรภายนอกเข้าใช้งานนี้ มีความปลอดภัย จำกัดเฉพาะข้อมูลที่ผู้เรียกดูได้รับอนุญาต และเป็นมาตรฐาน

ก่อนหน้านี้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอาจมีการเปิดฟีเจอร์ต่างๆ ออกมาให้องค์กรที่ได้รับอนุญาตใช้งานได้ แต่ก็มีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนและต่างกันออกไปตามแต่ลักษณะการใช้งาน ทำให้ระยะเวลาการพัฒนาแอปพลิเคชันใช้เวลานานกว่าที่ควร

AIS OpenAPI พัฒนาการใช้งานแบบเดิม เพิ่มเติมรูปแบบการใช้งานใหม่เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น
ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาที่แนวทางการเปิดฟีเจอร์ต่างๆ ไม่มีมาตรฐาน จึงร่วมกันวางแนวทางเปิด API ให้กับนักพัฒนาภายนอกเข้ามาใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ ของเครือข่าย เป็นมาตรฐาน API กลางที่ตรงกันทุกค่ายที่รองรับ เรียกว่า Camara API เปิดให้นักพัฒนาและธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงความสามารถของเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายได้โดยตรง โดยตอนนี้ AIS ก็รองรับมาตรฐานเหล่านี้แล้วบางส่วน ได้แก่

  • Number Verify API: บริการยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขโทรศัพท์ โดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน หรือการยืนยันตัวตนผ่าน OTP แอปพลิเคชั่นที่ใช้ API นี้สามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้ใช้ที่กำลังล็อกอินเป็นหมายเลขที่อ้างจริงหรือไม่ ทำให้การยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์ง่าย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  • SIM Swap API: บริการแจ้งเตือนว่าซิมถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น ตรวจสอบว่าซิมที่กำลังใช้งานนี้ถูกนำไปใช้งานในอุปกรณ์อื่นๆ ภายในสิบวันที่ผ่านมาหรือไม่ API นี้ สามารถใช้ลดความเสี่ยง เช่น แอปธนาคารอาจจะขอยืนยันตัวตนเพิ่มเติม หากพบว่าซิมถูกนำไปใช้บนอุปกรณ์อื่น ซึ่งอาจจะเป็นกรณีที่ซิมถูกขโมยไปใช้งานชั่วคราวเพื่อล็อกอินแอปพลิเคชั่น
  • Device Location API: สำหรับองค์กรที่มีซิมเป็นของตัวเองแล้วใช้งานเฉพาะ เช่น โรงงานอาจซื้อซิมเพื่อติดตั้งในอุปกรณ์ผลิต, ธนาคารที่ใช้ซิมสำหรับเชื่อมต่อตู้เอทีเอ็มกับธนาคาร, หรือบริษัทขนส่งที่มีซิมในรถเพื่อติดต่ออยู่แล้ว API นี้เปิดให้ตรวจสอบพื้นที่ใช้งานซิมการ์ดโดยอาศัยข้อมูลเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายโดยตรง ธนาคารอาจจะปิดการทำงานตู้เอทีเอ็มและแจ้งเตือนทีมงานดูแลความปลอดภัยเมื่อตู้ถูกเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่, บริษัทขนส่งสามารถตรวจสอบพื้นทีรถได้แม่นยำขึ้นเมื่อใช้ข้อมูลร่วมกับ GPS บนอุปกรณ์เอง

     


มาตรฐานกลางที่รองรับอนาคต

แนวทางการเปิดฟีเจอร์เหล่านี้อาจจะมีเครือข่ายหลายแห่งให้บริการด้วย API ของตัวเองมาก่อนอยู่แล้ว แต่การพัฒนาสำหรับเครือข่ายแต่ละแห่งก็ต่างกันไปจนเครื่องมือต่างๆ ที่สร้างขึ้นก็ไม่ได้รับประกันว่าจะทำงานได้ในอนาคต หรือทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ได้

เนื่องจาก Camara API เป็นมาตรฐานกลางของ GSM Association ผู้วางมาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ทำให้เครือข่ายต่างๆ ที่กำลังจะเปิด API ก็มีแนวโน้มจะทำตามมาตรฐานกลางนี้ต่อไปในอนาคต หรือแม้แต่เครือข่ายที่มี API ของตัวเองอยู่แล้วก็น่าจะปรับมาสู่มาตรฐานกลางนี้ต่อไป สำหรับ AIS เองเมื่อเปิดบริการนี้ ก็ทำความร่วมมือกับ Singtel และ Maxis เพื่อเปิด API บางส่วนให้ทำงานข้ามเครือข่ายแล้ว ในอนาคตความร่วมมือในแนวทางนี้ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อไป

 

Flow การทำงานของ Number Verification API เปิดให้ดูได้บน GitHub ของ Camara Project

Camara API นั้นวางสเปค API ต่างๆ โดยเปิดไฟล์ OpenAPI สำหรับทุก API ให้เป็นสาธารณะบน GitHub (ตัวอย่างไฟล์ OpenAPI สำหรับ Number Verification API) ทำให้ เราสามารถใช้เครื่องมือสร้าง client สำหรับภาษาต่างๆ ได้โดยง่าย เช่น โปรแกรมทดสอบ API ยอดนิยมอย่าง Postman นั้นรองรับไฟล์ OpenAPI ในตัว หรือภาษายอดนิยมอย่าง Python, JavaScript ล้วนมีเครื่องมือช่วยให้เขียนโค้ดตาม API ได้ง่ายขึ้น

นอกจาก API 3 ตัวหลักที่ AIS เปิดใช้งานแล้ว Camara API ยังกำหนดมาตรฐานเอาไว้อีกนับสิบ รายการที่เราอาจจะได้เห็นการใช้งานในอนาคต รายการที่น่าสนใจอย่างเช่น

  • KYC Fill-In API: บริการส่งต่อข้อมูลที่เครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายยืนยันข้อมูลแล้ว ให้กับบริการที่ต้องการความน่าเชื่อถือ เช่น แพลตฟอร์มสมัครงานต้องการยืนยันตัวตนว่าคนที่มาใช้งานเป็นตัวจริง, หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชต้องการยืนยันตัวตนผู้ขายสินค้า
  • Simple Edge Discovery API: สำหรับเครือข่ายที่มีบริการ Edge Cloud ให้บริการ API นี้ช่วยให้แอปพลิเคชั่นสามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใกล้ที่สุดได้อัตโนมัติ ลด latency ที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ลดต่ำจนเหมือนเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรเอง
  • Quality on Demand API: ปรับความเร็วอินเทอร์เน็ตให้เป็นไปในรูปแบบที่เรากำลังใช้งานอยู่ เช่น ต้องการชมภาพยนตร์หรือกำลังเล่นเกมอยู่



AIS OpenAPI สำหรับธุรกิจยุคต่อไปที่จะสร้างแอปพลิเคชั่นเชื่อมต่อกับเครือข่ายอย่างสมบูรณ์

API ต่างๆ ที่ AIS OpenAPI เปิดมาตอนนี้เปิดทางให้เราสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่ทำงานได้ง่ายขึ้น ผู้ใช้สามารถล็อกอินได้โดยไม่ต้องจำรหัสผ่าน หรือกรอกข้อมูล OTP, เพิ่มความปลอดภัย ในกรณีที่มีการเปลี่ยนซิมหรือใช้งานนอกพื้นที่ที่กำหนด การเชื่อมต่อเข้ากับบริการ OpenAPI จะสร้างประสบการณ์การใช้งานใหม่ให้กับผู้ใช้ได้ในอนาคต

การลงทุนสร้างแอปพลิเคชั่นกับ AIS OpenAPI ยังเป็นแนวทางที่เปิดทางให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาแล้วสามารถใช้งานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จากการเป็นมาตรฐานกลางที่ผู้ให้บริการตกลงร่วมกัน


ที่มา: blognone.com/node/141795

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Bella
เข้าชม 160 ครั้ง

คำค้นหา : openapinumber verify apisim swap apipythondevice location apiquality on demand apijavascriptcamara apiais openapiเปลี่ยนซิม