กรณีโทรศัพท์มือถือหาย เทคนิคเตรียมรับมืออย่างไร มาดูกัน

กรณีโทรศัพท์มือถือหาย  เทคนิคเตรียมรับมืออย่างไร มาดูกัน

ถ้าโทรศัพท์มือถือหาย ควรเตรียมรับมืออย่างไร

 

เพราะโทรศัพท์มือถือในยุคปัจจุบัน ถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถทำอะไรได้หลายต่อหลายอย่าง แถมยังเป็นอุปกรณ์ส่วนตัวที่เก็บรวบรวมข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตประจำวันของเรา พูดง่าย ๆ ก็คือ แค่มีโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวก็ออกจากบ้านได้แล้ว แถมภายในยังมีข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สูงมาก ในฐานะสมบัติส่วนตัว ดังนั้น หากโทรศัพท์มือถือเกิดหายขึ้นมา มันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด มีความเสี่ยงสูงที่เจ้าของเครื่องจะถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว นำเอาข้อมูลที่มีไปสวมรอยใช้งานบริการต่าง ๆ หรือทำธุรกรรมให้เกิดความเสียหาย นำเอาข้อมูลไปแบล็กเมล์ หรือข้อมูลสำคัญอาจหายไปโดยที่ไม่สามารถกู้คืนได้ มีความเสียหายตามมาอีก
การเตรียมตัวก่อนโทรศัพท์มือถือหาย


ไม่มีใครรู้หรอกว่าโทรศัพท์มือถือจะหายตอนไหน แต่มันสามารถหายได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะด้วยความเผอเรอของตนเองที่ไปลืมทิ้งไว้ที่ไหนไม่รู้ หรืออาจจะโดนขโมยไปแบบไม่รู้ตัว ดังนั้น การเตรียมตัวในเรื่องพื้นฐานจึงเป็นเรื่องสำคัญ วันดีคืนร้ายที่โทรศัพท์มือถือหายขึ้นมาจริง ๆ จะได้ลดทอนความเสียหายลงได้บ้าง เพราะโทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ไม่ใช่แค่ตัวเครื่องที่เป็นทรัพย์สินส่วนตัว แต่ข้อมูลที่อยู่ภายในก็ประเมินค่าไม่ได้เช่นกัน

1.เปิดการล็อกแอปพลิเคชันแบบยืนยันตัวตนสองปัจจัย (2FA) ด้วยรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก เพื่อประวิงเวลาไม่ให้บุคคลอื่นเข้าสู่ตัวเครื่องหรือเข้าสู่ระบบได้ง่ายดายเกินไป กว่าจะปลดล็อกได้ต้องใช้เวลา นอกจากนี้ การสุ่มรหัสไปเรื่อย ๆ เพื่อพยายามปลดล็อกเกินจำนวนครั้งที่กำหนด โทรศัพท์ก็จะล็อกตัวเองโดยอัตโนมัติ หรืออาจเปิดใช้งานข้อมูลชีวมาตร (Biometrics) เช่น สแกนลายนิ้วมือ สแกนใบหน้า สแกนม่านตา ไว้ก็ได้ ก็จะปลดล็อกได้ยากขึ้น

2.ยกเลิกการแจ้งเตือนบนหน้าจอล็อก เพื่อป้องกันการถูกแอบอ่านการแจ้งเตือนต่าง ๆ จากหน้าจอล็อก โดยเฉพาะการแจ้งเตือนรหัส OTP หรือการยืนยันตัวตนแบบสองปัจจัย (2FA) ถ้าต้องการใช้รหัส ก็ต้องปลดล็อกเข้าไปเปิดอ่านเท่านั้น

3.ไม่บันทึกข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ลงในโทรศัพท์มือถือ เช่น วันเดือนปีเกิด, username/password, หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือแม้แต่การสะกดชื่อ-นามสกุลที่ถูกต้อง ในกรณีที่โทรศัพท์ถูกปลดล็อก จะสามารถเข้าสู่โปรแกรมต่าง ๆ ได้ง่ายมาก มันสามารถคาดเดาได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เดาสุ่ม login เข้าระบบได้ โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวกับการเงิน แอปฯ ธนาคาร บัญชีโซเชียลมีเดีย แอปฯ สำคัญ ๆ เพราะคนทั่วไปมักจะตั้งชื่อ ตั้งรหัสผ่าน จากข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง เพื่อให้จดจำได้ง่าย

4.เลือกวิธีกรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเองทุกครั้ง เมื่อจะเข้าใช้งานระบบออนไลน์ต่าง ๆ วิธีนี้จะปลอดภัยกว่าการบันทึกไว้เพื่อความสะดวกสบาย เพราะถ้าโทรศัพท์มือถือหายหรือถูกขโมย คนอื่นจะเข้าสู่บริการออนไลน์ที่เราสมัครเอาไว้ได้โดยไม่ต้องคาดเดารหัสอะไรเลย

5.สำรองข้อมูลต่าง ๆ ไว้บนคลาวด์ (Cloud) เสมอ เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับเรียกคืนข้อมูลสู่โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ กรณีที่มีการสั่งล้างข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าที่หายไปจนเกลี้ยงแล้ว เพื่อป้องกันคนนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เมื่อซื้อมือถือเครื่องใหม่มาใช้ ก็สามารถเรียกคืนข้อมูลเก่าที่สำรองไว้มาลงเครื่องใหม่ได้ทันที

6.ลงทะเบียนใช้บริการช่วยค้นหาอุปกรณ์ อย่าง Find my Device (Android) หรือ Find my IPhone (IOS)


โทรศัพท์มือถือหายไปแล้ว ทำอย่างไรดี
1.รีบแจ้งระงับบริการ E-Banking ของธนาคารต่าง ๆ โดยเร็วที่สุด
2.รีบเปลี่ยนหรือรีเซ็ตรหัสผ่านของแอปพลิเคชันที่สำคัญ
3.แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวัน และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
4.หาตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือผ่านบริการ Find my Device (Android) หรือ Find my IPhone (IOS) หรือเพื่อสั่งล้างข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือเครื่องที่หาย

 

สนับสนุนเนื้อหา: 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Nong-beam
เข้าชม 140 ครั้ง

คำค้นหา : โทรศัพท์หายการแก้ปัญหาการป้องกันการสำรองข้อมูลกรณีศึกษาการป้องกันโทรศัพท์หายการสำรองข้อมูลต่างๆข่าวมือถือข่าวไอทีข่าวเทคโนโลยีการป้องกันภัย