การนำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ในการเลือกตั้ง
กระแสการเลือกตั้งของไทยครั้งนี้กำลังร้อนฉ่า ทว่าแม้จะผ่านมาแล้วถึง 4 ปี แต่อะไรหลายๆ อย่างกลับไม่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการเลือกตั้งครั้งก่อน ซึ่งภาพรวมในการเลือกตั้งครั้งก่อนนั้น เรื่องต่างๆ ในทางเทคนิคถูกสังคมประเมินไปในทิศทางที่แย่และแทบไม่มีคำชื่นชมสักแอะ ไม่ว่าจะเรื่องภาคสนาม เรื่องการให้ข้อมูล สุดถึงช่วงนับคะแนน และดูเหมือนว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ก็คงจะไม่ต่างกันเท่าไรนัก
ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งก่อน มีผู้คนในโลกออนไลน์ไม่มากไม่น้อย ได้พูดถึงการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการเลือกตั้ง เพราะยุคสมัยใหม่ได้ทำให้เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่แล้ว Blockchain ที่เรามักจะคุ้นหูไปในทางของการใช้ประโยชน์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเสียมากกว่านั้น จะนำมาใช้กับการเลือกตั้งได้อย่างไรได้บ้าง
Blockchain คืออะไร
Blockchain คือระบบเก็บข้อมูลโดยที่ไม่ต้องมีศูนย์กลาง และผู้ใช้ทุกคนสามารเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ ได้ โดยเทคโนโลยีนี้จะมีการสำรองข้อมูลแบบกระจาย ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ยาก พูดง่ายๆ ก็คือ เหมือนให้ทุกคนในเครือข่ายถือเอกสารชุดเดียวกัน อัปเดตเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันตลอด ผลที่เห็นได้ชัดคือ หากมีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อมูลที่ผิดปกติ เพราะไม่ตรงตามข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ การหาตัวการบิดเบือนข้อมูลก็จะแคบลงมาก ซึ่งจะต่างจากการครอบครองข้อมูลไว้เพียงที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งหากข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงไปก็เป็นอันจบเห่ ซึ่งอาจนำไปถึงการตรวจสอบที่ยุ่งยากกว่า
ในปัจจุบันเทคโนโลยี Blockchain นี้ถูกนำไปใช้ในระบบต่างๆ มากมาย เช่น ระบบธุรกรรมการเงิน, ระบบเก็บข้อมูลแบบ Cloud รวมไปถึงแนวคิดในการนำมาใช้สำหรับการเลือกตั้ง เนื่องจากเล็งเห็นถึงประสิทธิภาพในการตรวจสอบ และสามารถยกระดับการลงคะแนนที่โปร่งใสกว่าเดิม
Blockchain กับการเลือกตั้ง
หากเรานำเทคโนโลยีข้างต้นนี้มาประยุกต์ใช้กับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง องค์ประกอบต่างๆ จะมีดังนี้
ผู้คุมการเลือกตั้งหรือกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ระบุและกำหนดสิทธิ์ของผู้ลงคะแนน ซึ่งใช้คุณสมบัติตามกฎเป็นตัวกำหนด
ผู้ลงสมัครเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เป็นกลุ่มที่ต้องลงคะแนนให้กับผู้สมัคร
เมื่อถึงช่วงเวลาเลือกตั้ง ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพียงยืนยันตัวตนผ่านเครือข่าย และทำการลงคะแนน เป็นอันเสร็จสิ้น โดยเมื่อสิ้นสุดการลงคะแนนระบบจะตัดสิทธิ์ไม่ให้มีผู้ลงคะแนนเกินเวลา และคะแนนทั้งหมดจะรวมสุทธิให้เห็นอย่างทั่วถึงกับผู้ใช้ทุกคน ทั้งผู้ใช้สิทธิ์ ผู้สมัคร และผู้คุมการเลือกตั้ง
ซึ่งมีบางประเทศที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในระบบราชการบ้างแล้ว คือ
ประเทศสิงคโปร์ นำ Blockchain มาใช้ในระบบราชการ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง และการกำหนดราคากลาง เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ
ประเทศญี่ปุ่น มีการใช้ Blockchain ให้ประชาชนลงคะแนนเสียงผ่านการยืนยันตัวตนด้วยเลขบัตรประชาชน
ประเทศเอสโตเนีย นำมาใช้ในการจัดการข้อมูลบัตรประชาชน และการเข้าถึงสิทธิพลเมือง
ประเทศเกาหลีใต้ กำลังลงทุนในการนำ Blockchain มาใช้ในการเลือกตั้ง
ถ้าใช้ Blockchain ในการเลือกตั้งจริงๆ
หากต้องจำลองสถานการณ์การเลือกตั้งด้วย Blockchain มันควรจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
- Hardware ที่ทุกคนเข้าถึงได้
เรายังไม่มีวิธี Interface กับ Digital โดยไม่ผ่าน Hardware หากจะนำมาใช้ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เราต้องการ Device ที่รองรับลงคะแนนดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนสามารถลงคะแนนตรงสู่ระบบได้เลย - Software ต้องใช้ง่าย มีความปลอดภัยสูง
Software ต้องถูกออกแบบให้ครอบคลุมและปลอดภัยต่อการใช้งาน รวมถึงเมื่อคำนึงถึงความหลากหลายของผู้คน ต้องมีการใช้งานที่ง่ายที่สุด - ผู้มีสิทธิ์ทุกคนอาจต้องใช้ Digital ID
เป็นกระบวนการยืนยันตัวตนหากต้องนำข้อมูลเข้าสู่ดิจิทัล หนึ่งใน Model ที่กำลังได้รับความสนใจคือ Digital ID เราต้องมีข้อมูลดิจิทัลของเราเพื่อเป็นการยืนยันการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง ธุรกรรมที่ทำจะถูกบันทึกบน Blockchain เสมอ ทำให้เรายืนยันตัวตนผ่านธุรกรรมเดิมได้ ซึ่งการเลือกตั้ง เป็นกระบวนการที่การยืนยันตัวตนจะผิดพลาดไม่ได้ การใช้ Digital ID จึงช่วยลดโอกาสผิดพลาดส่วนนี้
ประโยชน์เบื้องต้นที่มองเห็น
ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถเป็นไปได้เพียงแค่ลงทุนกับมันและหยิบมาใช้ เราสามารถเห็นประโยชน์ของมันได้ เช่น
- ตัดระบบตัวกลางในการนับคะแนนเพื่อตัดปัญหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลคะแนน
- เพิ่มความสะดวกในการลงคะแนนแก่ผู้ใช้สิทธิ์ ทั้งในเรื่องของการเดินทาง ระบบจัดการต่างๆ ที่ยุ่งยาก ทำให้สามารถประหยัดงบ ลดการใช้กระดาษได้อีกด้วย
- ให้ผลที่ชัดเจนและแม่นยำ หากกำหนดคุณสมบัติในการลงคะแนนได้ชัดเจนพอจากฐานข้อมูล หมดปัญหาคะแนนผี
แต่ถึงอย่างไร ผลเสียของเทคโนโลยีรูปแบบนี้ก็มีอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงของผู้ขาดโอกาส เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ อาจส่งผลให้เสียสิทธิ์เลือกตั้งไปฟรีๆ รวมถึงการยืนยันตัวตนเพื่อลงคะแนนยังมีช่องโหว่อยู่ ต้องใช้ความซับซ้อนมากกว่านี้เพื่อความแม่นยำ ที่สำคัญระบบแบบไทยๆ จากที่เราเคยผ่านการใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ของทางราชการ จะเห็นได้ว่าระบบล่มหรือใช้ไม่ได้บ่อยมาก โดยเฉพาะหากมีการเข้าใช้มากถึงระดับสิบล้านคน ก็คงต้องมีการพัฒนาระบบที่จริงจังมากกว่านี้ เพราะอย่างไรเสีย เทคโนโลยีก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ที่สำคัญจริงๆ คือระบบกลไกต่างหาก
ที่มา: https://www.sanook.com/hitech/1579627/
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Programming ADO.NET Entity Framework and LINQ
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับการเขียน application ที่ติดต่อกับฐานข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดข...
Data Science with Python
ปัจจุบันมีการนำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) กันมากขึ้นตามหน่วยงานต่างในบ้านเรา ขั้นตอนการส...
Basic Python Django (หลักสูตรพื้นฐาน)
Django เป็นหนึ่งเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมในการนำไปพัฒนาเว็บไซต์ระดับโลกมากมาย อาทิ In...
Building REST APIs with Python
ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับนักพัฒนาแบบ Full-Stack มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้กา...
Basic Python for internet of things (IoT)
หลักสูตรนี้เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ภาษา Python สำหรับการนำไปต่อยอดด้าน internet of things...
Advanced Python Django (หลักสูตรขั้นประยุกต์)
Django framework เป็นหนึ่งในเฟรมเวิร์คที่พัฒนามาจากภาษา Python ได้รับความนิยมในการนำไปพ...
คำค้นหา : blockchainเลือกตั้งล่วงหน้าสิทธิ์เลือกตั้งเลือกตั้งด้วย blockchainยืนยันตัวตนยืนยันตัวตนเลือกตั้งผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งนับคะแนนเรียลไทม์คะแนนเลือกตั้งระบบล่ม