มาดู 6 ข้อหลัก ที่เข้าใจผิดของ PowerBank ที่หลายคนใช้

มาดู 6 ข้อหลัก ที่เข้าใจผิดของ PowerBank ที่หลายคนใช้

6 เรื่องเข้าใจผิดของ PowerBank ที่หลายคนใช้ แต่มันคือการทำร้าย

 

แบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank เป็นอุปกรณ์เสริมหนึ่งที่หลายคนอาจจะมีการพกติดตัวเป็นประจำ บางคนอาจจะไม่ได้พกแต่ไปยืมเพื่อน ในการชาร์จไฟให้กับมือถือตัวเอง หน้าที่หลักๆ ตามชื่อเลย เป็นที่เก็บพลังงานสำรอง เพื่อจ่ายอุปกรณ์ให้กับคุณ เมื่อยามจำเป็น แต่มันมี 6 เรื่องที่ คุณอาจจะเข้าใจผิดอยู่ และบางเรื่องก็ส่งผลร้ายต่ออุปกร์นี้โดยไม่รู้ตัว มันจะมีเรื่องอะไรบ้าง เรามาดูกัน

 

1.Power Bank ทุกอันสามารถชาร์จไฟได้ทุกอุปกรณ์

 


จริงอยู่ว่ามี Power Bank บางแบบที่สามารถชาร์จไฟกับอุปกรณ์ได้ทุกแบบเช่น มือถือ, หูฟัง, Smart Watch, Tablet และ Notebook แต่ใช่ว่าทุกก้อนจะชาร์จได้ มันมีปัจจัยทั้ง

  1. กำลังไฟที่จ่ายไฟออก (Output) จะต้องจ่ายถึง บางก้อนจะมีแปะหน้ากล่องว่าจ่ายไฟได้เท่าไหร่ ถ้าอยากซื้อให้จ่ายไฟสูงๆ จะต้องดูกำลัง 65W ถึงจะชาร์จไฟได้ทุกอุปกรณ์
  2. ความจุของแบตเตอรี่ หากอยู่ที่ 10000 mAh ส่วนมากจะกำลังสูงสุด 30 – 60W อาจจะไม่เพียงพอต่อการชาร์จไฟ Notebook ได้
  3. พอร์ตชาร์จไฟ โดยมากแล้วถ้าเป็นแบบ USB-C จะรองรับกำลังไฟได้สูงเพราะมีเทคโนโลยี Power Deilvery หรือ PD 

 

2.การเสียบ Power Bank ตลอดเวลา ราวกับเป็นเครื่องสำรองไฟ
ผู้เขียนเองเคยเจอคนรอบข้างถามว่า ถ้าเราจะใช้ Power Bank ไปด้วยและชาร์จไฟไปไหมสามารถทำได้ไหม คำตอบคือ อย่าทำเด็ดขาด!!! เพราะมันจะทำให้ Power Bank เสื่อมได้ง่าย เพราะความร้อนสูง และนอกจากนี้หาก Power Bank ร้อนเกินไป และไม่ได้รับมาตรฐาน อาจจะเกิดอันตราย ถึงขั้นระเบิดได้

 

3.ใช้งานให้หมดไม่เหลือ

 

Power Bank เป็นอุปกรณ์ที่เหมือนกับมือถือคือใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไออน ที่ไม่เหมาะกับการใช้ไฟจนไฟหมดแล้วชาร์จไฟ หากไฟเหลือ 20% เราควรจะชาร์จเพื่อยืดอายุการใช้งาน แต่เราสามารถชาร์จไฟ Power Bank ให้เต็ม 100% เพื่อไปชาร์จอุปกรณ์ของเราได้

 

4.ลืมไว้ในรถ!
เรื่องนี้หลายคนชอบลืมประจำ เพราะความเล็กแสนสะดวกพกของ Power Bank ก็อาจจะทำให้หลายคนลืมในรถ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเด็ดขาดเพราะ เพราะ Power Bank เป็นแบตเตอรี่ ถ้าโดนความร้อนนานๆ ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ ร้ายแรงสุดคือ ระเบิดตัวเอง

 

5.ทำตกบ่อยๆ
อีกเรื่องที่ Power Bank ไม่ชอบรวมถึง Gadget อื่นๆ ที่ไม่ชอบคือ การทำตกบ่อยๆ เพราะ การทำให้ตกบ่อยๆ เซลล์แบตเตอรี่อาจจะมีปัญหาได้เช่นเดียวกันครับ หรือบางครั้งพอร์ตชาร์จอาจจะพังได้

 

6.Power Bank ไม่เกิน 30,000 mAh ขึ้นเครื่องบินไม่ได้
จริงๆ แล้วแบตเตอรี่ที่พกพาขึ้นเครื่องบินได้ โดยประเทศไทยกำหนดไม่เกิน 32,000 mAh แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าประเทศอื่นๆ จะมีกฎคล้ายกันหรือไม่ ทั้งหมดอ่านต่อได้ที่

 

 

เมื่อรู้แบบนี้วิธีการใช้งาน Power Bank ที่ถูกต้องก็จะทำให้อุปกรณ์เสริมนี้ช่วยให้คุณมีพลังงานใช้งานไปนานๆ แล้วครับ แต่อย่าลืม ถ้าแบตเตอรี่สำรองมีขนาดผิดปกติ และ เก็บไฟไม่นาน เราควรจะทิ้งให้ถูกต้องด้วยนะ

 

สนับสนุนเนื้อหา: 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Nong-beam
เข้าชม 344 ครั้ง

คำค้นหา : powerbankการเสียบ power bankการใช้งาน power bankลักษณะการใช้งานการรักษาอุปกรณ์ชาร์จแบตที่ชาร์จแบตแบตสำรองการพกพาแบต