วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง เซ็นรับรองอย่างไร ปลอดภัยชัวร์ !
การเซ็นสำเนาถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน เอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้ติดต่อธุรกรรมทางการเงิน สมัครเรียน สมัครงาน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องศึกษาไว้ มาดูวิธีเซ็นสําเนาถูกต้องให้ปลอดภัย ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพกันเถอะ !
ในปัจจุบัน การทำธุรกรรม หรือยืนยันสิทธิบางอย่าง ยังคงต้องใช้สำเนาเอกสาร เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันตัวตน ซึ่งถ้าหากไม่ระมัดระวังให้ดี เอกสารสำเนาเหล่านี้อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำไปปลอมแปลง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่เราได้
โดยเฉพาะสำเนาบัตรประชาชนที่มีข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญ ทั้งชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ และหมายเลขคำขอ (เลขใต้รูปถ่าย) ซึ่งเสี่ยงถูกมิจฉาชีพนำไปปลอมแปลงเอกสารได้บ่อยที่สุด เราจึงจำเป็นต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างถูกวิธี ดังนั้นวันนี้ เราจึงนำข้อมูลวิธีการเซ็นรับรองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จากกรมการปกครอง มาฝากกัน
วิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง สำหรับบัตรประชาชน
1. ขีด 2 เส้นคู่ขนานคร่อมที่ตัวสำเนา จากมุมล่างซ้ายไปมุมบนขวา
2. เขียนข้อความกำกับวัตถุประสงค์ ระหว่างเส้นคร่อมสำเนา
- ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าใช้สำเนานี้ทำอะไร
- โดยขึ้นต้นว่า "เพื่อใช้..." และลงท้ายประโยคด้วยคำว่า "...เท่านั้น" พร้อมเขียนเครื่องหมาย "#" ปิดหัวท้ายของข้อความ เพื่อป้องกันการเติมข้อความภายหลัง
- เช่น "# เพื่อใช้สมัครงานที่ (...ชื่อบริษัท...) เท่านั้น #" หรือ "# เพื่อใช้สำหรับติดต่อเรื่อง (...ระบุรายละเอียด...) เท่านั้น #"
3. เขียน วัน เดือน ปี ที่เซ็นสำเนากำกับเอกสาร
นอกจากการเขียนรายละเอียดกำกับการใช้แล้ว ควรเขียนระบุ วัน เดือน ปี กำกับสำเนาด้วยทุกครั้ง เพื่อใช้ยืนยันวันที่ใช้งาน และยังเป็นการระบุกำหนดอายุการใช้งานเอกสารสำเนานี้อีกด้วย
4. รับรองสำเนาถูกต้อง
โดยเขียนว่า "สำเนาถูกต้อง" พร้อมลงลายมือชื่อ คาดทับรูปถ่าย เพื่อป้องกันการเปลี่ยนรูปถ่าย
5. ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- ควรใช้ปากกาหมึกสีดำลงลายมือชื่อในสำเนา เพราะเครื่องถ่ายเอกสารบางชนิดสามารถถ่ายเอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออกให้เหลือแต่ข้อมูลบัตรประชาชนบนหน้าสำเนาได้
- ให้ถ่ายสำเนาด้านหน้าบัตรที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลเพียงด้านเดียวเท่านั้น (ไม่ต้องถ่ายหลังบัตร) เพราะเสี่ยงต่อการถูกสวมรอยได้ เนื่องจากด้านหลังบัตรประชาชนจะมี Laser ID ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการใช้ทำธุรกรรม ตรวจสอบ และยืนยันตัวตน
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อแนะนำจากกรมการปกครอง เพื่อความปลอดภัยในการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร แต่ในข้อปฏิบัติจริง หน่วยงานรัฐ และเอกชนบางแห่ง อาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น..
- ข้อกำหนดในการใช้สีปากกา บางแห่งอาจระบุให้ใช้ปากกาสีดำเท่านั้น หรือใช้ปากกาสีน้ำเงินเท่านั้น หรืออาจไม่ได้กำหนดสีของปากกาเป็นพิเศษ
- การขีดเส้นคร่อม หรือตำแหน่งการเซ็นลายมือบนหน้าบัตร บางองค์กร หรือบางหน่วยงาน อาจให้เซ็นข้อมูลไว้มุมขวาล่างแทนการเซ็นคร่อมทับสำเนา เนื่องจากอาจบดบังข้อมูลบนเอกสาร เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนที่จะเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องควรสอบถามเจ้าหน้าที่ หรือตรวจสอบข้อปฏิบัติภายในแต่ละหน่วยงานทุกครั้ง
สนับสนุนภาพและเนื้อหา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ,
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Basic HTML5 and CSS3 (คอร์ส html 5 และ css 3 พื้นฐาน)
ในการเรียน html5 และ css3 นับเป็นเทคโนโลยีการพัฒนาเว็...
Basic HTML+CSS (คอร์สเขียนเว็บพื้นฐาน)
สอนการออกแบบเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML และ CSS สำหรับผู้เริ่มต้น ที่ยังไม่มีความรู้มาก่อนเลย...
Basic PHP and MySQL (คอร์สอบรม php พื้นฐาน)
สอนการออกแบบเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML และ CSS สำหรับผู้เริ่มต้น ที่ยังไม่มีความรู้มาก่อนเลย...
Advanced PHP and MySQL (คอร์ส php mysql ขั้นสูง)
หลักสูตรต่อยอดการเขียนโปรแกรมด้วย PHP สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานมาภาษา PHP มาบ้างแล้ว โดยในห...
PHP OOP and MySQL
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เขียน PHP มาได้ซักระยะแล้วหรือผ่านการอบรมตัว Introduction t...
คำค้นหา : การเซ็นบัตรวิธีเซ็นสำเนาถูกต้องวิธีเซ็นสำเนาการเซ็นบัตรประชาชนขั้นตอนเซ็นบัตรคำแนะนำการเซ็นบัตรรูปแบบเซ็นบัตรการเซ็นสำเนาให้ถูกวิธี