อีเมล์สำหรับคนไทยใช้ชื่อภาษาไทย

อีเมล์สำหรับคนไทยใช้ชื่อภาษาไทย

หมวดหมู่: บทความทั่วไปSoftware ReviewHardware Reviewข่าวไอที

     ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์ เน็ตประมาณ 24 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดราว 70 ล้านคน แต่มีเพียง 6.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 10% เท่านั้น ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้ ทำให้คนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ประสบปัญหาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านภาษา

     แน่นอนว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ในบางประเทศได้ เริ่มพัฒนาระบบ URL และอีเมลแอดเดรส เป็นภาษาท้องถิ่นของตน ผ่านแนวทางการดำเนินโครงการที่ชื่อว่า Email Address Internationalization หรือ EAI เช่น รัสเซีย จีน ยูเครน กรีซ เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับการส่งเสริมโดยหน่วย งานบริหารอินเทอร์เน็ตโลก ICANN และประชาคมด้านสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต IETF (The Internet Engineering Task Force)

    ในประเทศจีนมีการจดชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วยดอทประเทศจีน ซึ่งมีการลงทะเบียน ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 250,000 ชื่อต่อเดือน โดยทาง China Internet Network Information Center (CNNIC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนรหัสประเทศจีน ได้ร่วมมือกับ Coremail, Google และ Netease เพื่อปรับปรุงระบบให้รองรับอีเมลภาษาจีน โดย CNNIC เริ่มมีการพัฒนาเทคนิคการรับส่งอีเมลแอดเดรสหลากภาษา ให้สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ปี 2012 และ ต่อไป CNNIC มีแผนที่จะนำ EAI ลงไปใช้งานในเครือข่าย E-Government รวมถึงรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ มหาวิทยาลัย และทางการทหาร

     ด้าน Coremail ผู้ให้บริการระบบอีเมลสัญชาติจีน ได้พัฒนาโครงสร้างและการทำงานของระบบให้บริการ EAI โดยใช้เทคนิค Double Email คือการใช้อีเมลแอดเดรสภาษาท้องถิ่นควบคู่กับอีเมลแอดเดรสภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้สามารถติดต่อได้ทั้งผู้รองรับ EAI และไม่รองรับได้ในครั้งเดียว โดย Coremail ได้เปิดให้ผู้ใช้งานสมัคร EAI ได้แล้วตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2014 และมีผู้สมัครแล้วกว่า 50,000 แอคเคาท์ ทั้งนี้การใช้งานอีเมลแอดเดรสภาษาจีนได้รับการสนับสนุนและตั้งเป็นนโยบายโดยรัฐบาลจีน

     สำหรับประเทศไทย มูลนิธิศูนย์สารสน เทศเครือข่ายไทย หรือ THNICF เป็นผู้นำร่องและผลักดันแนวทางการใช้อีเมลภาษาท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA จัดเวทีสัมมนาเพื่อหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบการใช้งาน Email Address Internationalization (EAI) ในประเทศไทย รวมถึงชี้ให้เห็นความสำคัญของอินเทอร์เน็ตภาษา ท้องถิ่นและเตรียมแผนรองรับในองค์กรและผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น และระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงกลุ่มผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ

     ดร.โคทม อารียา ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย หรือ THNICF กล่าวถึง ความสำคัญที่ประชาชนจะสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่เนื่องจากเดิมอินเทอร์ เน็ตใช้ภาษาอังกฤษในการเข้าถึง และจำนวนผู้ไม่ใช้ภาษาอังกฤษในหลายประเทศมีจำนวนมากกว่าผู้ใช้ภาษาอังกฤษ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี หรือ Digital Divide เพราะคนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษก็ไม่สะดวกที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อเริ่มต้นแก้ปัญหาดังกล่าว

     ในประเทศไทย มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการให้เกิด IDN หรือโดเมนภาษาท้องถิ่นขึ้นภายใต้ “.ไทย” รวมถึง EAI ซึ่งคือชื่อโดเมนภาษาท้องถิ่นที่ใช้ตัวอักษรไทยทั้งหมด โดยการจัดงานในครั้งนี้ มุ่งหวังที่จะทำความเข้าใจและสร้างความตระหนักกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้วางแนวทางการใช้งาน EAI ในประเทศไทย

     นางเพ็ญศรี อรุณวัฒนามงคล ตัวแทนจากมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย กล่าวว่า จากการศึกษาถึงความเข้ากันได้ของระบบอีเมลต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ Affilias, Crossflow, Coremail, Gmail, Hotmail และ Yahoo นั้น ยังมีระดับการรองรับ EAI ที่แตกต่างกัน โดยแยกประเด็นทดสอบเป็น การส่ง การรับ การตอบกลับ และการแนบชื่อ (cc) อีเมล ซึ่งปนกันระหว่าง EAI และอีเมลอักษรลาตินดั้งเดิม การทดสอบแสดงให้เห็นว่าการรับส่งอีเมลแอด เดรสภาษาไทยระหว่าง Affilias, Crossflow และ Coremail สามารถทำได้ และสามารถส่งอีเมลไปยัง Gmail, Hotmail และ Yahoo ได้ สำหรับระบบ Hotmail และ Yahoo นั้นยังไม่สามารถส่งหาอีเมลแอดเดรสผู้รับในภาษาไทยได้ ซึ่งการรับอีเมลจากผู้ส่งนั้นจะแสดงผลเป็นอีเมลแอดเดรสที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น ในขณะที่ Gmail นั้นสามารถส่งอีเมลไปยังอีเมลแอดเดรสภาษาไทยของผู้รับ และยอมรับอีเมลจากผู้ส่งที่ใช้อีเมลแอดเดรสภาษาไทยโดยแสดงผลในภาษาไทยได้ แต่ผู้ใช้ยังไม่สามารถสร้างชื่อผู้ใช้งานภาษาไทยบนระบบ Gmail ได้

     ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบเพื่อรองรับ EAI อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบจากทั้งฝั่งผู้ให้บริการโฮสต์และผู้พัฒนาเว็บไซต์ แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะผลักดันอีคอมเมิร์ซลงสู่กลุ่มประชาชนรากหญ้าที่มีจำนวนมากให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยในเวทีสัมมนาต่างมีความเห็นตรงกันว่าควรเริ่มจากภาครัฐมีนโยบายมาสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวก่อน รวมถึงการสนับสนุนให้องค์กรส่วนท้องถิ่น ได้เริ่มใช้ชื่อโดเมนและมีอีเมลแอดเดรสเป็นภาษาไทยก่อน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือสถานีตำรวจภูธร รวมถึงการสร้างมาตรฐานและแนวทางในการนำ EAI มาใช้กับประเทศไทยอย่างจริงจัง.“

ขอบคุณเนื้อหาและภาพประกอบจาก: 

 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 4,630 ครั้ง

คำค้นหา : อีเมล์สำหรับคนไทยใช้ชื่อภาษาไทยEAI การเปลี่ยนแปลงการใช้งานเมล์ อีเมล์ไทย การเข้ารหัสเมล์ด้วยภาษาไทย นวัตกรรมไอที ความร่วมมือระหว่างประเทศมูลนิธิศูนย์สารสน การผลักดันใช้ภาษาท้องถิ่น