อุปกรณ์ประมวลเซ็นเซอร์ฝีมือซินโครตรอน
อุปกรณ์ประมวลเซ็นเซอร์ฝีมือซินโครตรอน สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกับสำนักวิศวกรรมสายธุรกิจไก่-เป็ด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พัฒนาอุปกรณ์ประมวลค่าความชื้นและอุณหภูมิในโรงเรือนขึ้น
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเลี้ยงไก่–เป็ดในโรงเรือนกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งกระบวนการเลี้ยงในโรงเรือน การควบคุมสภาพอากาศภายใน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งอุณหภูมิและความชื้น หรือแม้กระทั่งปัจจัยอื่น ๆ ที่ล้วนมีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่– เป็ดทั้งสิ้น
ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บอกว่า เพื่อควบคุมสภาพอากาศ โรงเรือนต่าง ๆ จึงมีการติดตั้งเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อช่วยควบคุมและตรวจสอบ ค่าอุณหภูมิและความชื้น ให้ตรงตามข้อกำหนดของกระบวนการการเลี้ยง เพื่อให้ได้ไก่–เป็ด ที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่ชุดอุปกรณ์เซ็นเซอร์และประมวลผลต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ราคาแพงและมีค่าบำรุงรักษาสูง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จึงได้ร่วมกับสำนักวิศวกรรมสายธุรกิจไก่-เป็ด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พัฒนาอุปกรณ์ประมวลค่าความชื้นและอุณหภูมิในโรงเรือนขึ้น
นายวัชรพล ภุมรา วิศวกรผู้วิจัย บอกว่า ปัจจุบันการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดความชื้นและเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ในโรงเรือนเลี้ยงไก่–เป็ด ของ ซีพีเอฟ (ประเทศ ไทย) จะมีการติดตั้งแยกชุด และมีหลากหลายยี่ห้อ โดยแต่ละชุดจะใช้ตัวควบคุมการทำงานซึ่งเป็นตัวประมวลผลของโรงเรือนที่หลากหลาย แยกตามชนิดของเซ็นเซอร์ ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ อีกทั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้ยังต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ จึงส่งผลต่อการติดตั้งระบบควบคุมโรงเรือน และการบำรุงรักษาเครื่องมือที่มีราคาค่อนข้างสูง ทีมวิจัยจึงได้ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์ประมวลค่าความชื้นและอุณหภูมิที่สามารถเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ได้ทุกยี่ห้อ อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการเลี้ยงของโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการทดสอบพบว่า อุปกรณ์ประมวลค่าดังกล่าวสามารถช่วยลดข้อจำกัดของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ได้หลายประเภท และเชื่อมต่อได้กับทุกยี่ห้อ ส่งผลให้บริษัทฯ ลดการสั่งซื้ออุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ลดต้นทุนจากราคาเครื่องละ 11,000 บาท เหลือเพียง 1,500 บาท ซึ่งลดลงจากเดิมถึง 86%
ด้านนายธีศิษฏ์ เสรีขจรจารุ ผู้จัดการทั่วไปด้านวิศวกรรม บมจ.ซีพีเอฟ ประเทศ ไทย ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัท ซีพีเอฟฯ มีฟาร์มอยู่ประมาณ 100 แห่งทั่วประเทศ และแต่ละแห่งต้องใช้เซ็นเซอร์ประมาณ 12-15 เครื่อง ซึ่งในขณะนี้ ทาง บริษัทฯ ได้ทยอยเปลี่ยนไปใช้ตัวประมวลผลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในฟาร์มทั่วประเทศ และยังจะขยายผลไปยังฟาร์มในต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 80 ฟาร์มอีกด้วย โดยหากเปลี่ยนไปใช้ทั้งหมดจะทำให้ บริษัทฯ สามารถลดต้นทุนการสั่งซื้อได้ถึง 14.82 ล้านบาท/ปี
นับเป็นผลงานที่สถาบันฯ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการวิจัยภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสามารถขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อีกด้วย.
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
คำค้นหา : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกับสำนักวิศวกรรมสายธุรกิจไก่-เป็ด พัฒนาอุปกรณ์ประมวลค่าความชื้นและอุณหภูมิในโรงเรือนประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเลี้ยงไก่–เป็ดในโรงเรือนกันอย่างแพร่หลายกระบวนการเลี้ยงในโรงเรือน การควบคุมสภาพอากาศภายในติดตั้งเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อช่วยควบคุมและตรวจสอบแต่ละแห่งต้องใช้เซ็นเซอร์ประมาณ 12-15 เครื่องบริษัทฯ ได้ทยอยเปลี่ยนไปใช้ตัวประมวลผลที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในฟาร์มทั่วประเทศ