เช็กวิธีออนไลน์อย่างปลอดภัย

เช็กวิธีออนไลน์อย่างปลอดภัย

หมวดหมู่: บทความทั่วไปTip & Technicข่าวไอที

รู้แล้วรอด! เช็กวิธีออนไลน์อย่างปลอดภัย ไม่หลงกลลวงโจรไซเบอร์
แนะนำวิธีง่ายๆ หลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อวายร้ายบนโลกไซเบอร์สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รับมือภัยคุกคามออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน…

เพราะการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังขยายรูปแบบการใช้งานไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ จากคอมพิวเตอร์ สู่สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไปจนถึงสมาร์ทดีไวซ์อื่นๆ ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการใช้งานที่อำนวยความสะดวกสบายให้ชีวิตประจำวัน และไม่เพียงแต่การใช้งานเพื่อการค้นคว้า หรือการทำงาน แต่พฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อความบันเทิง ซึ่งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หากพูดถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์... หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเชื่อว่าการโจมตีส่วนใหญ่นั้นมุ่งไปที่ข้อมูลหรือความเสียหายมูลค่าสูงๆ เฉพาะในองค์กรธุรกิจ แต่ถ้าเราบอกว่าไม่ใช่เพียงเท่านั้น คุณจะเชื่อไหม...?

ปัจจุบัน อัตราการโจมตีจากอาชญากรออนไลน์นั้นไม่เคยมีแนวโน้มลดลง!!! โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ไซแมนเทค ได้ออกมาเปิดเผยสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับจำนวนและรูปแบบการโจมตีที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต โดยระบุว่า...ในปี 2558 มีข้อมูลส่วนตัวนับ 500 ล้านรายการ ถูกโจรกรรมหรือสูญหาย ขณะที่ในประเทศไทยก็พบว่ามีการหลอกลวงทางโซเชียลมีเดียสูงเป็นอันดับที่ 11 ของเอเชียแปซิฟิก คิดเป็นจำนวน 82 ครั้งต่อวันในปีที่ผ่านมา มิหนำซ้ำ...วายร้ายที่เลือกออนไลน์เป็นช่องทางหลอกลวงเหยื่อ ยังได้พัฒนาทักษะการหลอกลวงให้ซับซ้อนขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มีผู้ตกเป็นเหยื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

คำถามง่ายๆ คือ คุณรู้หรือไม่ ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียให้ปลอดภัยนั้น ต้องทำอย่างไร? เพราะเชื่อว่าหลายคนรู้ แต่หลายคนก็ไม่รู้ เราจึงมีคำแนะนำจากไซแมนเทค ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านความปลอดภัยข้อมูลมาเตือนภัย

สำหรับ... วิธีที่จะทำให้คุณปลอดภัยจากการโจมตีของโจรไซเบอร์นั้น มีเพียง 5 วิธีง่ายๆ ที่รับรองว่าทำแล้วจะไม่ตกเป็นเหยื่อจากภัยออนไลน์แน่นอน

1. ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก
รหัสผ่านที่คุณใช้สำหรับเข้าถึงบัญชีข้อมูลต่างๆ รวมถึงเข้าสู่โซเชียล ควรเป็นรหัสที่คาดเดาได้ยาก ไม่ใช้คำหรือตัวเลขง่ายๆ ที่สามารถคาดเดาได้ และควรเปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน ที่สำคัญ...ไม่ควรนำรหัสผ่านเก่ากลับมาใช้งานอีกด้วย

2. คิดก่อนคลิก
ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูล (ทั้งที่ปลอดภัยและหลอกลวง) การเลือกเปิดไฟล์แต่ละไฟล์นั้น ควรเลือกเฉพาะไฟล์ที่มาจากผู้ส่งที่คุณรู้จักหรือสามารถยืนยันความปลอดภัยได้ พวกอีเมลชื่อแปลก หัวข้อหลอกลวงชวนให้คลิก ถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงให้ไกล! เพราะอาจมีการแฝงไวรัสหรือมัลแวร์ที่จะทำลายหรือล้วงข้อมูลส่วนตัวของคุณได้

3. ปกป้องตนเอง
หากไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย อาจจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ปกป้องความปลอดภัยติดเครื่องเอาไว้ เพราะในปัจจุบันก็มีทั้งซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนให้บริการอย่างแพร่หลาย

4. ระวังถูกหลอกจากความกลัว
หลายครั้งที่ซอฟต์แวร์เถื่อน ซอฟต์แวร์ฟรีที่ไม่น่าไว้ใจ กลายเป็นต้นทางของการกระจายไวรัสสู่อุปกรณ์ของคุณ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการโจมตีผู้ใช้งานด้วยการหลอกในรูปแบบต่างๆ เช่น หลอกว่าคอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัส แล้วหลอกให้เหยื่อหลงซื้อซอฟต์แวร์ไม่มีประโยชน์ หรือจ่ายเงินให้คนร้าย เพื่อลบไวรัสหรือมัลแวร์เหล่านั้นออกจากเครื่อง

5. ปกป้องข้อมูลส่วนตัว
เชื่อหรือไม่ ว่าข้อมูลที่คุณแชร์อยู่บนโลกออนไลน์นั้น อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการโจมตีของโจรไซเบอร์ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีที่ใช้ความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมสังคม ดังนั้น จึงไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียต่างๆ มากนัก ทั้งวันเกิด ที่อยู่ และข้อมูลจำพวกรหัสที่ใช้ในการเข้าถึงบัญชีข้อมูลทั้งหลาย

รู้แบบนี้แล้ว...อย่าปล่อยให้ตัวเองต้องตกเป็นเหยื่อโจรออนไลน์อีกต่อไป!!!

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,706 ครั้ง

คำค้นหา : วิธีออนไลน์กลลวงโจรไซเบอร์การตกเป็นเหยื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามออนไลน์คอมพิวเตอร์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตสมาร์ทดีไวซ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตการใช้งานออนไลน์โลกออนไลน์อาชญากรออนไลน์โซเชียลมีเดียไซแมนเทคบริการโซลูชั่น