ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์ แอปพลิเคชันพจนานุกรม
ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์ แอปพลิเคชันพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสภา จับมือเนคเทคพัฒนา ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์ ช่วยคนไทยใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องได้แบบง่ายๆแค่ปลายนิ้ว
วันนี้ (21 ก.ย.58 ) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เปิดตัว “ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์” แอปพลิเคชันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 และ “แอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ช่วยให้คนไทยใช้ภาษาไทยได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว
น.ส.กนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เปิดเผยว่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเห็นว่าปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องให้คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องซึ่งสำนักงานฯ ได้รับผิดชอบในส่วนของพจนานุกรมที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีออกมากำหนดให้หน่วยงานราชการต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงร่วมมือกับเนคเทค นำพจนานุกรมฉบับดังกล่าว รวมถึงหนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงเป็นจำนวนมากมาให้บริการบนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้นและไม่ไดัจำกัดการใช้แค่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาแต่เป็นทุกคนที่ใช้ภาษาไทย ซึ่งคาดว่าทั้งสองแอปพลิเคชั่นจะช่วยให้คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้นทั้งนี้อนาคตจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับคำทับศัพท์ออกมาอีกด้วย
ด้านดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวถึงการพัฒนา “ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์” ว่า เป็นการนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยภาษาที่เนคเทคทำมากว่า 20 ปีโดยใช้ชื่อว่าเล็กซิตรอนมาต่อยอดเป็นสองแอปพลิเคชั่นใหม่
โดยแอปพลิเคชันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่ได้ประมวลคำที่มีใช้ในภาษาไทยกว่า 43,000 คำมีการแสดงผลการใช้งานมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบหมวดอักษร และ รูปแบบการค้นคำ ผู้ใช้สามารถค้นคำได้ทั้งจากตัวอักษรตั้งต้นและจากส่วนหนึ่งของคำ ทั้งยังค้นคำจากประวัติการใช้งานของผู้ใช้เองได้ด้วย
ส่วนแอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ 2 หมวด คือ “หมวดอ่านอย่างไร” เพื่อทราบคำอ่านที่ถูกต้องและ “หมวดเขียนอย่างไร” โดยพิมพ์คำที่ต้องการทราบคำอ่านหรือการสะกดคำลงไป แม้ว่าผู้ใช้สะกดคำผิด แอปพลิเคชันนี้ก็แนะนำการสะกดคำที่ถูกต้องให้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังค้นคำจากประวัติการใช้งานของผู้ใช้เองได้เช่นเดียวกัน
แอปพลิเคชันทั้ง 2 โปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส เวอร์ชั่น7 ไอโอเอส เวอร์ชั่น8แอนดรอยด์ และวินโดว์ส โม บาย โดยพิมพ์คำว่า The Royal Society หรือราชบัณฑิตยสถาน ดาวน์โหลดฟรีทั้งจากแอพสโตร์ กูเกิลเพลย์สโตร์ และวินโดวส์ โฟน
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
คำค้นหา : สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงร่วมมือกับเนคเทคเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้นไม่ไดัจำกัดการใช้แค่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาแต่เป็นทุกคนที่ใช้ภาษาไทยแอปพลิเคชั่นจะช่วยให้คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและเหมาะสมอนาคตจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับคำทับศัพท์ออกมา รูปแบบหมวดอักษร และ รูปแบบการค้นคำ ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบไอโอเอส แอนดรอยด์ และวินโดว์ส โม บายพิมพ์คำว่า The Royal Society หรือราชบัณฑิตยสถาน