โซลาร์ชีท แบบใหม่ พับได้ วิ่งพร้อมชาร์จไฟให้ Tesla

โซลาร์ชีท แบบใหม่ พับได้  วิ่งพร้อมชาร์จไฟให้ Tesla

หมวดหมู่: บทความทั่วไป

พับได้ โซลาร์ชีท แบบใหม่ วิ่งพร้อมชาร์จไฟให้ Tesla

ศาสตราจารย์ Paul Dastoor และทีมงานของเขาที่ University of Newcastle ได้สร้างแผงโซลาร์เซลล์ที่พิมพ์ออกมา มันถูกเรียกว่าโซลาร์ชีท เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถพับเก็บได้ และตอนนี้มันกำลังถูกนำมาใช้ทดสอบชาร์จกับรถยนต์ Tesla ที่เขาจะใช้มันขับไปทั่วออสเตรเลีย

แผงดังกล่าวพิมพ์บนพลาสติกเป็นม้วน 20 เมตร โดยใช้เครื่องพิมพ์ 2 มิติทั่วไป คล้ายกับการพิมพ์นิตยสารและหนังสือพิมพ์ แตกต่างกันตรงที่ใช้หมึกอิเล็กทรอนิกส์ในการพิมพ์ครับ

สำหรับการทดสอบ ในแต่ละวันเขาจะต้องเอาโซลาร์ชีทออกมาตากแดดเป็นเวลามากกว่า 10 ชั่วโมง และชาร์จไฟที่ได้เข้าไปยังแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถทำให้ Tesla วิ่งต่อไปได้ในระยะทาง 130 กิโลเมตร และเขามีเป้าหมายที่จะวิ่งให้ได้ 15,000 กิโลเมตรเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของโซลาร์ชีท

แตต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ความทนทานโซลาร์ชีทนั้นมีน้อยกว่าแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป และยังมีประสิทธิภาพที่น้อยกว่า แต่ด้วยการใช้งานที่สามารถพับเก็บได้ ต้นที่ประมาณ 10 ดอลลาร์ต่อตารางเมตร นั่นแปลว่า แม้จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่ต่ำ แต่ก็ทำให้ได้ไฟฟ้าด้วยต้นทุนที่ต่ำมากเช่นกัน

เราเชื่อว่าในอนาคต พลังงานทางเลือกกำลังกลายเป็นทางเลือกที่สำคัญนะ และการพัฒนาให้มันใช้งานได้ง่ายขึ้น แน่นอนว่าผู้ใช้อย่างเราก็จะตัวเลือกการที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน มารอดูกันว่า ศาสตราจารย์ Paul จะทำสำเร็จหรือไม่..

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย เอ็นโอไอ ไอทีจีเนียส
เข้าชม 1,296 ครั้ง

คำค้นหา : โซลาร์ชีทteslaที่ชาร์จ teslaแผงโซลาร์เซลล์การพิมพ์นิตยสารหนังสือพิมพ์หมึกอิเล็กทรอนิกส์แบตเตอรี่ศาสตราจารย์ paul