5 วิธีใช้ 'จีพีเอส' อย่างถูกต้องรับรองไม่มี 'หลงทาง'..!
ปัจจุบันระบบนำทางระบบจีพีเอส มีใช้กันอย่างแพร่หลาย เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ประเภท Standalone สำหรับใช้นำทางโดยเฉพาะ (เช่น Garmin, Kamaz และอื่นๆ) ไปจนถึงระบบนำทางในสมาร์ทโฟน ที่มีแอพพลิเคชั่นให้เลือกใช้มากมาย
แต่ด้วยข้อจำกัดของการอัพเดตข้อมูลแผนที่ ทำให้ถนนบางสาย (โดยเฉพาะต่างจังหวัด) ยังคงขึ้นว่าสามารถขับรถผ่านได้ ทั้งๆที่ถนนเหล่านั้นอาจเป็นเพียงเส้นทางเดินแคบๆ หรือถนนเก่าแก่ที่แทบจะไม่มีใครใช้สัญจรกันอีกแล้ว ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้คุณผู้อ่านหลงทางเพราะเชื่อเนวิเกเตอร์มากเกินไป Sanook! Auto มีคำแนะนำ 5 ประการดังนี้
1.รอให้เนวิเกเตอร์ล็อคสัญญาณจีพีเอสก่อนเดินทาง
คนส่วนใหญ่มักหยิบโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์เนวิเกเตอร์ขึ้นมา แล้วใส่จุดหมายปลายทางลงไปทันทีโดยไม่รอให้ตัวเครื่องจับสัญญาณจีพีเอสได้ก่อน ทำให้ตำแหน่งที่เราอยู่ไม่ตรงกับจุดเริ่มต้นบนเนวิเกเตอร์ ส่งผลให้การวางแผนเดินทางล่วงหน้าผิดพลาดได้
หากเป็นระบบนำทางบนมือถือที่มีระบบ A-GPS อาจใช้เวลาไม่ถึง 30 วินาทีในการล็อคสัญญาณ แต่หากเป็นเครื่องนำทางโดยเฉพาะที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์เข้ามาเกี่ยวข้อง อาจใช้เวลาล็อคสัญญาณราว 3-5 นาทีก็เป็นได้ ถ้าไม่ได้เปิดใช้เป็นเวลานานๆ
2.หลีกเลี่ยงการนำทางแบบ 'Shortest Route'
เนวิเกเตอร์บางรุ่นหรือบางแอพพลิเคชั่นบนมือถือบางตัว สามารถปรับรูปแบบการเลือกเส้นทางได้ แต่เราแนะนำให้หลีกเลี่ยงการนำทางแบบ 'Shortest Route' หรือ 'ทางที่ใกล้ที่สุด' เพราะเนวิเกเตอร์จะพาเราไปยังเส้นทางที่สั้นที่สุดตามข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ซึ่งอาจเป็นทางลูกรังชนิดล้อเกวียนแตก หรือทางที่เลิกใช้ไปตั้งแต่ยุคโบราณแล้วก็เป็นได้
เราแนะนำให้ปรับเป็นแบบ Quickest Route ที่เน้นวิ่งบนถนนเส้นหลัก หรือ Economy Route ในกรณีที่ต้องการหลีกเลี่ยงทางด่วนหรือด่านจ่ายเงิน (ชื่อเรียกอาจแตกต่างไปตามแต่ละยี่ห้อ)
3.ตรวจสอบตำแหน่งจุดหมายปลายทางทุกครั้ง
เมื่อพบสถานที่ปลายทางบนเนวิเกเตอร์แล้ว ควรตรวจสอบรายละเอียดสถานที่นั้นๆให้ดีเสียก่อน ว่าชื่อซอย, ถนน, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด ตรงกับที่เราต้องการจะไปจริงๆ บางสถานที่อาจมีชื่อซ้ำกันแต่อยู่คนละจังหวัด อันนี้ยังไม่น่าห่วงเท่าไหร่ แต่บางที่อยู่อำเภอเดียวกันแถมชื่อยังเหมือนกันอีก แบบนี้ต้องเช็คให้ดี
4.ตรวจสอบเส้นทางไปยังจุดหมายโดยละเอียด
เมื่อเนวิเกเตอร์คำนวณเส้นทางเสร็จเรียบร้อย ควรตรวจสอบเส้นทางให้แน่ใจอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มเดินทาง หากเป็นถนนต่างจังหวัด ก็ควรอิงถนนหลวง หรือถนนเส้นหลักเอาไว้ก่อน พยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางย่อยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะบางทีเนวิเกเตอร์อาจพาไปเส้นทางทางที่ชาวบ้านเขาไม่ใช้กันแล้ว
เทคนิคหนึ่งในกรณีที่ระบบนำทางพาไปยังถนนเส้นรองโดยไม่จำเป็น เราสามารถตั้ง 'จุดผ่าน' ให้เป็นถนนเส้นหลักตามที่เราต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงถนนเส้นรองนั้นๆได้
5.วางแผนล่วงหน้าและฝึกใช้ระบบนำทางให้ชำนาญ
การใช้ประโยชน์จากระบบนำทางอย่างดีที่สุดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ไม่ใช่เริ่มออกเดินทางแล้วค่อยมาเปิดจีพีเอส เพื่อที่จะได้มีเวลาเช็คข้อมูลสถานที่ปลายทาง เส้นทางที่ต้องวิ่งผ่าน รวมถึงจุดแวะต่างๆ อีกทั้งยังควรฝึกใช้ระบบนำทางให้ชำนาญก่อนนำมาใช้จริง จะได้รู้จักสัญลักษณ์และเสียงเตือนต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยขณะขับรถได้อีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
คำค้นหา : ระบบจีพีเอส Standalone Garmin Kamazสมาร์ทโฟน เนวิเกเตอร์ล็อคสัญญาณจีพีเอสระบบ A-GPS Shortest Routeทางที่ใกล้ที่สุดQuickest Route Economy Routeตรวจสอบเส้นทางตรวจสอบตำแหน่งวางแผนล่วงหน้า