กองทัพเรือสหรัฐฯ เลื่อนการแข่งขันโครงการอากาศยานสอดแนมโจมตีแบบไร้นักบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือ UCLASS ไปจนถึงปีงบประมาณ 2016 หรือ 2 ปีจากแผนเดิม โดยจะมีแผนนำเข้าประจำการเป็นทางการจริงๆ ในปี 2022…
กองทัพเรือสหรัฐฯ ประกาศเลื่อนการแข่งขันในโครงการจัดหาอากาศยานสอดแนมโจมตีแบบไร้นักบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือ Unmanned Carrier-Launched Airborne Surveillance Strike : UCLASS จนกว่าจะถึงปีงบประมาณ 2016
อากาศยาน UCAS ต้องเลื่อนการแข่งขันออกไป
นาวาเอกโบว์ ดูอาร์เต้ ผู้จัดการโครงการอากาศยานไร้นักบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน กองทัพเรือสหรัฐฯ กล่าวว่า แผนงานสำหรับการดำเนินโครงการจะเริ่มต้นในปี 2022 ตามเวลาที่กำหนดไว้ เรายังคงต้องการอากาศยาน ที่มีความสามารถเก่งกาจรอบด้านอยู่
ผู้จัดการโครงการ UCLASS ทร.สหรัฐฯ กล่าวต่อว่า สำนักงานเลขาธิการกระทรวงกลาโหม มีการศึกษาอยู่ถึงความต้องการที่กองทัพเรือเสนอมา แม้จะมีความกังวลมาอย่างต่อเนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติ ในสิ่งที่บางคนรับรู้กันถึงจุดมุ่งหมายหลักของ UCLASS คือ การหาข่าวกรอง การเฝ้าระวัง และการบินลาดตระเวน (ISR) ที่ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือ แต่ทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงในเพนตากอน ออกเอกสารการศึกษากลยุทธ์ของกองทัพเรือมาล่าช้า และยังถูกรัฐสภาคัดค้านตามหน้าที่การตรวจสอบอีกด้วย
อากาศยานไร้คนขับแบบ MQ-4C ไทรตัน
กัปตันดูอาร์เต้ กล่าวอีกว่า จากวิสัยทัศน์ของคณะกรรมาธิการอาวุธ ในปีงบประมาณ 2015 ตามใบรายจ่ายด้านการป้องกันประเทศ มีความเจาะจงระบุข้อสังเกต โดยเน้นคำว่า "มากเกินความเหมาะสม" ไปในโครงการ UCLASS ด้วยปัจจัยที่ไม่สามารถเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศได้ รวมทั้งความทนทาน ต่อการใช้ในภารกิจ สนับสนุนการปฏิบัติการ ISR ของหมู่เรือบรรทุกเครื่องบิน Carrier Strike Group (CSG) ที่ต้องมีความสามารถที่จำเป็นได้น่าพึงพอใจ โดยคาดว่าจะส่งผลร้ายต่อแผนการจัดซื้ออากาศยานไร้คนขับแบบ MQ-4C ไทรตัน จำนวน 68 ลำ เนื่องจากมีข้อบกพร่องในด้านการอยู่รอดในสนามรบ และความจุในการติดตั้งอาวุธ รวมทั้งความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการ
โบอิ้ง เจเนอรัลอะตอมมิก ล็อกฮีดมาร์ติน และนอร์ทรอปกรัมแมน ต่างก็ได้รับสัญญาการออกแบบเบื้องต้นในโครงการนี้เมื่อปี 2013 ในปีการเงิน 2015 ของทำเนียบขาว มีความต้องการงบประมาณด้านการป้องกันประเทศ 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนา UCLASS ในระหว่างปีการเงิน 2015-2019
นอร์ทรอปกรัมแมน X-47B
นอร์ทรอป กรัมแมน ได้พัฒนาเครื่องไร้คนขับประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือ UCAV รุ่น X-47B เพื่อการนี้ และทางกองทัพเรือก็ได้มีการทดสอบการปฏิบัติงานของอากาศยาน บนเรือบรรทุกเครื่องบินธีโอดอร์ รูสเวลต์ (CVN 72) และการทดสอบก็ได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยเรากำลังมองไปในเรื่องของการผลิตเครื่องรุ่นนี้ออกมาใช้งาน ทางกองทัพเรือมีแผนที่จะใช้งานระบบควบคุมทั่วไป ในการปฏิบัติการทั้งตัวอากาศยาน และการบรรทุกอาวุธ โดยทั้งหมดจะเป็นระบบสถาปัตยกรรมแบบเปิด.
ที่มา : https://www.thairath.co.th
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
คำค้นหา : โครงการ UCLASSโครงการอากาศยานสอดแนมโจมตีแบบไร้นักบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินคณะกรรมาธิการอาวุธCarrier Strike Groupสำนักงานเลขาธิการกระทรวงกลาโหมนาวาเอกโบว์ ดูอาร์เต้เครื่องบินไร้คนขับการบินลาดตระเวณบินสอดแนม