การปรับแผนธุรกิจของ MVNO

การปรับแผนธุรกิจของ MVNO

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

MVNOไทยในยุค4จี..รอดหรือร่วง?
ในการปรับแผนธุรกิจของ MVNO จำเป็นต้องสร้างความคุ้มค่าที่แตกต่างจากคู่แข่ง MVNO ด้วยกันแล้ว จะต้องทำต่างจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย

แม้การประมูลคลื่น 4 จี ย่านความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) จะเสร็จสิ้นลงไปแล้ว 
สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำภายหลังได้ใบอนุญาตคือ การบริหารจัดการคลื่นความถี่ให้ได้มาอย่างเกิดประโยชน์ที่สุด เพื่อคุ้มกับเงินที่ได้ประมูลไป 

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ทิศทางของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (MVNO)ของประเทศไทยจะเหมือนกับสถานการณ์ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ที่เปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ราคาก็จะมีแนวโน้มลดลง 

ในการปรับแผนธุรกิจของ MVNO จำเป็นต้องสร้างความคุ้มค่าที่แตกต่างจากคู่แข่ง MVNO ด้วยกันแล้ว จะต้องทำต่างจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย เช่น โปรโมชั่นภายในเวลาที่กำหนด การเป็นระบบสื่อสารให้กับ M2M หรือ IoT ในเซกเตอร์ต่าง ๆ เช่น การเป็นข่ายสื่อสารให้กับ IoT ของสถาบันการแพทย์ เป็นต้น 

ทั้งนี้ MVNO สามารถเช่าใช้โครงข่ายกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทุกราย ไม่ใช่แค่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพราะในประกาศการจัดสรรคลื่น2100, 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ กำหนดให้ผู้ชนะการประมูลต้องจัดให้มีบริการโครงข่ายโทรคมนาคมความจุอย่างน้อย 10% ของตนเองให้แก่ MVNO 

“MVNO จะต้องไม่มีความเกี่ยวโยงกันกับผู้ชนะการประมูล จึงมีทางเลือกมากพอ ส่วนคุณภาพโครงข่ายที่ MVNO เช่า ก็จะต้องมีความน่าเชื่อถือในประสิทธิภาพของโครงข่าย การครอบคลุมถือเป็นปัจจัยที่รับประกันได้ด้วย” 

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า ส่วนมุมมองและทรรศนะของผู้ให้บริการโครงข่าย (MNO) จะต้องมอง MVNO เป็นพันธมิตรที่เข้ามาเติมเต็มช่องว่างทางการตลาด ไม่ใช่ในภาพคู่แข่ง ซึ่งตลาดโทรศัพท์เคลี่อนที่ขนาดใหญ่ย่อมมีช่องว่างขนาดเล็กอยู่มาก MVNO สามารถใช้ความคล่องตัวของตัวเองเข้าไปเติมเต็มในช่องว่างได้ ไม่ควรจะยึดติดกับสภาพเดิม ๆ ที่เน้นเอากำไรจากส่วนต่างแต่เพียงเท่านั้น 

“MVNO ถือเป็นทางเลือก และเติมเต็มให้กับตลาดขนาดเล็ก ๆ ซึ่งแพ็กเกจของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ไม่สามารถครอบ คลุมได้ การแข่งขันก็จะขึ้นอยู่กับตลาดที่ MVNO วางเป้าหมายไว้ด้วย” พ.อ. เศรษฐพงค์ กล่าว 

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ผู้ให้บริการขนาดใหญ่ที่ประมูลได้คลื่นมา ส่วนใหญ่มองว่าจะต้องเก็บคลื่นไว้ให้มากที่สุด ดังนั้น ทางเลือกของ MVNO ในประเทศไทยน่าจะอยู่ที่ กสท และ ทีโอที 

ซึ่ง ทีโอที และ กสท เองจะอยู่รอดการเปิดโอกาสให้ MVNO ร่วมธุรกิจถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะทั้ง 2 องค์กรคงจะทำการตลาดเองไม่ได้ แข่งกับเอกชนไม่ได้ ถ้าองค์กรยังเป็นของรัฐอยู่ ดังนั้นควรมีแพ็กเกจที่เป็นธรรมกับ MVNO ด้วย และทั้ง 2 องค์กรต้องมีกำไรด้วย ทั้งนี้ มองว่าการเกิดของ MVNO ถือเป็นทางเลือกที่มากขึ้น ประชาชนได้ประโยชน์ 

MVNO จะอยู่รอดหรือไม่ ควรขึ้นอยู่กับผู้นำองค์กรที่จะต้องวางนโยบาย สร้างความแตกต่างและมีมูลค่าต่อผู้บริโภคให้ได้.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,928 ครั้ง

คำค้นหา : การปรับแผนธุรกิจของ MVNOคู่แข่ง MVNOบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่การประมูลคลื่น 4 จีความคุ้มค่าที่แตกต่างโปรโมชั่นภายในเวลาที่กำหนด การเป็นระบบสื่อสารให้กับ M2M บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด บริษัท ทีโอที จำกัดคุณภาพโครงข่ายที่ MVNO เช่าทำการตลาดเองไม่ได้ แข่งกับเอกชนไม่ได้ องค์กรยังเป็นของรัฐอยู่