คอโซเชียลฯมีหนาว ถ่ายคลิปหาไลค์‬ นาทีชีวิตของคนอื่น

คอโซเชียลฯมีหนาว ถ่ายคลิปหาไลค์‬ นาทีชีวิตของคนอื่น

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

คุก1ด./ปรับ1หมื่นมนุษย์กล้อง ถ่ายนาทีชีวิตแต่ไม่ช่วย
คอโซเชียลฯมีหนาว! ทนายเผยกฎหมายปราบคนแล้งน้ำใจ ความผิดฐานละเว้น ชี้ถ่ายคลิปหาไลค์‬ นาทีชีวิตของคนอื่น ช่วยได้แต่ไม่ช่วย คุก 1ด./ปรับ 1 หมื่น

หลายคนคงเคยแชร์คลิปวิดีโอที่เผยให้เห็นเหตุการณ์นาทีระทึกต่างๆ ทั้งที่ถูกบันทึกได้จากกล้องติดรถ วงจรปิดต่างๆ และที่สะดวกและง่ายที่สุด คือการบันทึกด้วยโทรศัพท์มือถือ หรือ “สมาร์ทโฟน” ซึ่งมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ล่าสุดวันที่ 20 มิ.ย. ทนายความเจ้าของแฟนเพจชื่อดัง “ทนายเพื่อนคุณ” กล่าวผ่าน “เดลินิวส์ออนไลน์” ด้วยว่า การถ่ายคลิปเพื่อเรียกยอดไลค์จากนาทีชีวิตของคนอื่น ทั้งที่ตัวเองช่วยได้ แต่กลับไม่ช่วยเลือกถ่ายคลิป จะมีความผิดฐานละเว้น ตามกฏหมายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ระบุไว้ว่า “ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้ โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือชีวิตผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือ ปรับ ไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ไม่ช่วยทั้งๆที่ตัวเองช่วยได้ แต่เจตนายังจะถ่ายคลิป อาจเข้าข่ายความผิดฐานละเว้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีผู้ประสบอันตรายถึงระดับชีวิต อย่างคนจมน้ำ อย่างน้อยผู้เห็นเหตุการณ์แม้จะรู้ตัวว่าว่ายน้ำไม่เป็น แต่ควรตะโกนร้องเรียก หรือวิ่งไปตามคนที่อยู่แถวนั้นให้มาช่วยเหลือ กฎหมายมีจุดประสงค์เพื่อให้มนุษย์ไม่นิ่งดูดาย อย่าละเลยในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ แน่นอนว่าการกระทำตามมาตรา 374 ไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมาย แต่ว่าด้วยจิตสำนึกที่ดีของวิญญูชน รวมถึงความมีน้ำใจและการมีมนุษยธรรมต่อเพื่อนร่วมโลก ทนายความ กล่าว

ทนายความ ยังอธิบายต่ออีกว่า ถึงแม้ในภายหลังเขาจะรอดหรือไม่รอดชีวิตไม่สำคัญ แต่ในฐานะที่จะช่วยได้แล้วไม่ช่วย ผิดเต็มๆ แต่หากกรณีที่การช่วยเหลือ ต้องแลกชีวิตผู้ช่วยเหลือ ถึงแม้ไม่ช่วยก็ไม่ผิด ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูที่สามัญสำนึกรายละเอียดเป็นกรณีๆไปว่าพยายามอย่างวิญญูชนทั่วๆไปหรือไม่ แต่สำหรับกรณีถ่ายคลิปเพื่อปกป้องตัวเอง หรือเป็นพยานหลักฐานต่างๆ ถ้าไม่ได้ไปละเมิดสิทธิใคร ในทางกฎหมายสามารถทำได้ ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าจะผิดตามมาตราดังกล่าว แต่หากเจอเหตุการณ์ตามมาตรา 374 ป.อาญา และยังมัวถ่ายคลิปอยู่โดยไม่ช่วยผู้ประสบภัย จะผิดเต็มๆ แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายดังกล่าว กำหนดไว้เพื่อปราบคนแล้งน้ำใจ

สิ่งที่สังคมต้องช่วยดำเนินการในตอนนี้เป็นอันดับแรก ไม่ใช่การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง เพราะปัญหาจะเกิดขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ ตามสภาพสังคมและการเวลา แต่ต้องพัฒนาตัวบุคลในสังคม พัฒนาตัวผู้ใช้กฎหมายให้มีความรู้และศีลธรรมควบคู่กันไป กฎหมายนั้นออกโดยคนในสังคมและผู้ใช้ก็คือคนในสังคม ดังนั้นถ้าคนในสังคมมีคุณภาพแล้ว กฎหมายและการใช้บังคับก็จะดีตามไปด้วยนั่นเอง และนี่ก็คือการแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นที่ต้นเหตุโดยแท้จริง ทนายความ ระบุ

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,666 ครั้ง

คำค้นหา : คอโซเชียล ถ่ายคลิปหาไลค์‬ นาทีชีวิตมนุษย์กล้องกฎหมายคนแล้งน้ำใจแชร์คลิปวิดีโอสมาร์ทโฟนทนายเพื่อนคุณเดลินิวส์ออนไลน์คนจมน้ำมนุษยธรรมเพื่อนร่วมโลก สามัญสำนึกพยานหลักฐานละเมิดสิทธิผู้ประสบภัยศีลธรรม