ที่มา วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก 2 เมษายน
องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 2 เม.ย.ของทุกปี เป็น "วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก" (World Autism Awareness Day) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “วันออทิสติกโลก”เพื่อส่งเสริมให้สังคมเข้าใจ และยอมรับความเป็นอยู่ ของบุคคลที่มีภาวะออทิสติก พร้อมทั้งสนับสนุนให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น
นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนดให้ วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี เป็น วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก (World Autism Awareness Day) เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิก และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันรณรงค์ให้สังคมได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของ “โรคออทิสติก” เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการสร้างความเท่าเทียม เพื่อที่บุคคลที่ประสบภาวะเป็นออทิสติกจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข
บางประเทศจัดกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ เพื่อให้เป็นสัปดาห์ตระหนักรู้ออทิสติก (World Autism Awareness Day) ในช่วงสัปดาห์เดียวกับวันที่ 2 เมษายน เช่นที่ประเทศอังกฤษ ขณะที่บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการจัดกิจกรรมให้เป็นเดือนแห่งการตระหนักรู้เกี่ยวกับออทิสติกตลอดทั้งเดือนเมษายนเลยทีเดียว
ทั้งนี้ องค์กรออทิสติกแห่งอเมริกา ได้กำหนดให้ใช้ริบบินรูปจิ๊กซอว์ (puzzle ribbon) เป็นสัญลักษณ์สากลของการตระหนักรู้ออทิสติก โดยมีการจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น เข็มกลัดติดเสื้อ แม่เหล็กติดตู้เย็น หรือสติกเกอร์ นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์โดยใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ เช่น ใส่เสื้อผ้าสีฟ้า หรือตกแต่งสถานที่เป็นสีฟ้า เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกิจกรรมดังกล่าว
องค์กรออทิสติกแห่งอเมริกา ได้กำหนดให้ใช้ริบบินรูปจิ๊กซอว์ (puzzle ribbon) เป็นสัญลักษณ์สากลของการตระหนักรู้ออทิสติก
องค์กรออทิสติกแห่งอเมริกา ได้กำหนดให้ใช้ริบบินรูปจิ๊กซอว์ (puzzle ribbon) เป็นสัญลักษณ์สากลของการตระหนักรู้ออทิสติก
“วันตระหนักรู้โรคออทิสติกโลก” จึงเป็นวันสำคัญที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคออทิสติกให้กับสังคมโลกอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติได้กำหนดธีมเฉพาะของวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก ในแต่ละปี ดังนี้
- พ.ศ. 2555 “Awareness Raising”
- พ.ศ. 2556 “Celebrating the ability within the disability of autism”
- พ.ศ. 2557 “Opening Doors to Inclusive Education”
- พ.ศ. 2558 “Employment: The Autism Advantage”
- พ.ศ. 2559 “Autism and the 2030 Agenda: Inclusion and Neurodiversity”
- พ.ศ. 2560 “Toward Autonomy and Self-Determination”
- พ.ศ. 2561 “Empowering Women and Girls with Autism”
- พ.ศ. 2562 “Assistive Technologies, Active Participation”
- พ.ศ. 2563 “The Transition to Adulthood”
- พ.ศ. 2564 “Inclusion in the Workplace”
- พ.ศ. 2565 “Inclusion Education”
- พ.ศ. 2566 “Transformation: Toward a Neuro-Inclusive World for All”
- พ.ศ. 2567 “Colour” ซึ่งโลโก้สัญลักษณ์ของวันตระหนักรู้ออทิสติกโลกประจำปีนี้ เลือกใช้สีสันที่สดใส เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการ “พลิก” หรือ “ยุติ” ภาพจำเดิมๆ ของคนเราเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นออทิสติก ชีวิตของพวกเขาไม่ใช่สีที่มัวหม่นหรือซึมเซา หากแต่เต็มไปด้วยสีสันแห่งพลังสร้างสรรค์ที่พร้อมจะถูกปลดปล่อยออกมา
กลุ่มคนที่มีภาวะออทิสติก คืออย่างไร
ตามทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โรคออทิสติกไม่ได้แยกเป็นกลุ่มอาการออทิสติกและโรคออทิสติกแยกกันแล้ว แต่ถูกนำมารวมเป็นกลุ่มภาวะออทิสติกทั้งหมด โดยมีการแยกออกเป็นระดับความรุนแรงตามอาการและภาวะออทิสติกที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
ในกลุ่มเด็กที่มีอาการออทิสติก จะพบว่าพัฒนาการของพวกเขาจะล่าช้าใน 2 ด้านหลัก คือ ด้านภาษาเพื่อสื่อสารทางสังคม และด้านพฤติกรรม ซึ่งสองด้านนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก และมักจะทำให้เด็กมีความยากลำบากในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีการสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในชีวิตประจำวัน
ด้านภาษาในการสื่อสารทางสังคม ผู้ป่วยอาจแสดงออกเป็นการไม่สนใจการพูดคุยหรือไม่ตอบสนอง การพูดช้ากว่าวัยเดียวกัน หรือไม่สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ นอกจากนี้ เมื่อโตขึ้น ผู้ป่วยอาจยังมีปัญหาในการเริ่มต้นการสนทนา และขาดความสามารถในการเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมชั้น และมักไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์ทางสังคมได้ เนื่องจากไม่สามารถอ่านสีหน้าและอารมณ์ของผู้อื่น
ส่วนด้านพฤติกรรมนั้น พวกเขาอาจมีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่เหมาะสม เช่น การสะบัดมือซ้ำๆ การพูดซ้ำๆ การมองพัดลมหมุนๆ การยึดติดกับอาหารและการกินอาหารซ้ำๆ และความไม่ยืดหยุ่น รวมถึงการมีความชอบในการทำตามขั้นตอนหรือแผนที่ได้วางไว้ และการมีความไวต่อการรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่อาจมีประสิทธิภาพต่ำหรือสูงเกินไป เช่น ความไม่ชอบเสียงบางอย่าง การชอบที่จะดมกลิ่นอย่างมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสัญชาตญาณของภาวะสุขภาพจิต หรืออาจมีสาเหตุอื่นเช่นภูมิต้านทานที่ต่ำลง
ดังนั้น การดูแลและรักษาเด็กที่มีอาการออทิสติก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก หากผู้ปกครองพบว่าลูกหลานมีอาการออทิสติก ต้องพาไปตรวจและดูแลรักษาโดยแพทย์และทีมสหวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการได้ตามปกติ และช่วยปรับพฤติกรรม รวมถึงฝึกทักษะการเข้าสังคมให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เด็กที่มีอาการออทิสติกที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 3 ขวบปีแรก จะช่วยเพิ่มพัฒนาการ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ดี เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวกับสังคม เข้าโรงเรียนได้ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต่อไปในอนาคต
ที่มา: thansettakij.com/world/592418
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
คำค้นหา : วันออทิสติกโลกจิ๊กซอว์puzzle ribbonการพูดซ้ำๆองค์กรออทิสติกเข็มกลัดติดเสื้อบุคคลออทิสติกเด็กออทิสติกอาการออทิสติกอ่านสีหน้าผู้อื่น