มากกว่า ไซบูทรามีน สารอันตรายใน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ไม่ได้มีแค่ “ไซบูทรามีน” สารอันตรายที่มีการลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างน้อย 10 สาร อันตรายต่อร่างกาย บางอย่างถึงแก่ชีวิต
เป็นประเด็นสนใจขึ้นอีกครั้งสำหรับสารไซบูทรามีน จากที่ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ออกประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร อย. ตรวจพบไซบูทรามีน ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร CiS DIETARY SUPPLEMENT PRODUCT MFG 28/12/66 EXP 28/12/68 ที่ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Shopee ชื่อร้าน “Cis_janekwan” เว็บไซต์ shopee.co.th/janekwanaa
ก่อนที่ต่อมาผลิตภัณฑ์ Itcha หรือ อิชช่า ออกประกาศชี้แจงว่าตามเอกสารที่แจ้ง พบสารอันตราย ว่าเป็นล็อตการผลิตรหัส A และผลิตเดือนมกราคมนั้น บริษัทตรวจสอบแล้ว เป็นรหัสการผลิตช่วงเปิดตัวเดือนมกราคม เป็นช่วงที่สินค้าขาดตลาด เป็นไปไม่ได้ที่รหัสนี้จะอยู่ถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งรหัสปัจจุบันที่ทำการผลิต คือรหัส I แล้ว
ในเดือนพฤษภาคม พรีเซ็นเตอร์ได้มีการประชาสัมพันธ์ เปรียบเทียบของจริงของปลอม เผยแพร่ให้ลูกค้าได้รับรู้ ผ่านช่องทางออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์ม และหลังจากบริษัททราบว่ามีของปลอมระบาด บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ออกสูตรใหม่ ITCHA TRIPLE S ออกมา และเรียกคืน ITCHA XS จากตัวแทน โดยเปิดตัววันที่ 6 มิถุนายนนี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ออกมาให้ข้อมูล เนื่องจากเป็นเรื่องการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ
ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า เรื่องนี้อย.จะมีการสอบทวนล็อตอีกครั้ง โดยขั้นตอนการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาตรวจสอบนั้นจะต้องดูเรื่องของล็อตการผลิต และรายละเอียดต่างๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์ระบุว่า ตัวอย่างที่อย.เก็บมาตรวจสอบเป็นของปลอม นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ตัวอย่างเก็บตามล็อตนัมเบอร์ ในรายละเอียดจะต้องไปดูอีกครั้ง ส่วนจะมีการเก็บตัวอย่างใหม่มาตรวจสอบหรือไม่ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ใจเย็นๆ เดี๋ยวไปดูด้วยกัน หากจะมีการฟ้องร้องอย.ไม่ได้กังวล เพราะเป็นการทำตามหน้าที่
ไซบูทรามีน-สารอันตรายในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
อย.ระบุถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่จะตรวจพบมีการลักลอบผสมยาอันตราย ที่พบได้มี 11 รายการ และส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย
1. ไซบูทรามีน อาการไม่พึงประสงค์ มึนงง วิตกกังวล นอนไม่หลับ ปวดท้อง อาเจียน ความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว
2.ออริสแตท อาการไม่พึงประสงค์ ผิวหนังไวต่อแสงมากกว่าปกติ วิตกกังวล ปวดศีรษะ การนอนหลับผิดปกติ คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ
3. บิซาโคดิล อาการไม่พึงประสงค์ ปวดเกร็งท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด เวียนศีรษะ บ้านหมุน ทวารหนักระคายเคืองและอักเสบ
4. ฟลูออกซิทีน อาการไม่พึงประสงค์ วิตกกังวล มึนงง ง่วงซึม นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อ่อนแรง ตัวสั่น เจ็บหน้าอก ใจสั่น
5. ฟีนอล์ฟทาลีน อาการไม่พึงประสงค์ ผื่นผิวหนัง ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
6. เฟนฟลูรามีน อาการไม่พึงประสงค์ ง่วงซึม ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ มึนงง ปวดศีรษะ ซึมเศร้า
7. ซิลเดนาฟิล อาการไม่พึงประสงค์ หน้าแดง ตัวแดง ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ กระเพาะอาหารอักเสบ เพิ่มเอนไซม์ตับ
8. ทาดาลาฟิล อาการไม่พึงประสงค์ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก
9. เฟนเทอร์มีน อาการไม่พึงประสงค์ มองเห็นภาพไม่ชัด นอนไม่หลับ กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว
10. ฟูโรซีไมด์ อาการไม่พึงประสงค์ ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน หลอดเลือดอักเสบ อาการทางสมองที่เกิดจากการทำงานของตับบกพร่อง
11. ไดเฟนิล เมทิลไพโรลิดีน อาการไม่พึงประสงค์ ประสาทหลอน หวาดระแวง มีพฤติกรรมรุนแรง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อย.เคยมีการตรวจสอบพบการลักลอบใส่สารอันตราย หรือที่ทำผิดกฎหมายได้ ในเรื่อง เตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ที่มีอยู่ราว 456 รายการ ผ่านเว็บไซต์ อย. https://oryor.com/media/illegalProduct
ที่มา: bangkokbiznews.com/health/public-health/1130181
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
คำค้นหา : ไซบูทรามีนยาลดน้ำหนักผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักitcha xsอาหารและยายาอันตรายออริสแตทบิซาโคดิลฟลูออกซิทีนฟีนอล์ฟทาลีน