มาดูข้อกฎหมายและ พ.ร.บ. คอมฯ เบื้องต้นที่ชาวโซเชียลฯ ควรต้องรู้

มาดูข้อกฎหมายและ พ.ร.บ. คอมฯ เบื้องต้นที่ชาวโซเชียลฯ ควรต้องรู้

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพ.ร.บ. ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นี้ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พ.ร.บ. กำหนดไว้

 

ซึ่งทุกวันนี้การเสพข่าวสารบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย กลายเป็นกิจวัตรที่ทุกคนทำกันเป็นปกติ แต่ในความปกติดังกล่าว ผู้ใช้งาน หรือ User หรือเจ้าของแอ็กเคานต์ควรจะต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น กดไลก์ กดแชร์ หรือโพสต์ข้อความที่พาดพิงผู้อื่น ว่ารูปแบบใดบ้างที่อาจจะผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์บ้าง

 

1. การกดไลก์ (Like)
การกด Like ไม่ถือเป็นความผิด นอกเสียจากว่าไปกด Like ข้อมูลปลอม ข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่เป็นความจริง หลอกลวง ที่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ประชาชน ความมั่นคงของประเทศได้ เช่น ข้อมูลที่ผลกระทบต่อสังคม ความมั่นคงของชาติ และหากเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ อาจจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี

 

2. การกดแชร์ (Share)
การกด Share ข้อมูลปลอม ข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่เป็นความจริง หลอกลวง ที่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ประชาชน ความมั่นคงของประเทศได้ เช่น ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสังคม ความมั่นคงของชาติ และหากเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี

 

 

3. การเป็นแอดมินเพจ
หน้าที่ของแอดมินเพจต่าง ๆ คือต้องสอดส่องดูแลความเรียบร้อย ตลอดจน monitor ความคิดเห็นของลูกเพจ ไม่ให้ไปในเชิงลบ และขัดต่อกฎหมาย หากลูกเพจแสดงความคิดเห็นที่ผิดต่อกฎหมาย แอดมินมีหน้าที่ลบจากพื้นที่ หากไม่ลบหรือซ่อนข้อความนั้น จะถือว่ามีความผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เช่นกัน ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิดมาตรา 14 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

 

4. การโพสต์สิ่งลามกอนาจาร
เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า สิ่งลามกอนาจารไม่ควรโพสต์ หรือเผยแพร่ด้วยประการทั้งปวง ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายและไม่ควรกระทำ และเป็นความผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิดมาตรา 14 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

 

5. การโพสต์รูปเกี่ยวกับเด็ก
การโพสต์รูปเด็กหรือเยาวชน โดยไม่ได้รับความยิมยอมหรือไม่ได้ขออนุญาต ต้องมีการปิดบังหน้า นอกจากจะเป็นการยกย่อง เชิดชู ความดีงาม ถึงจะสามารถกระทำการโพสต์ได้ ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิด มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

 

6. ข้อมูลผู้เสียชีวิต
ห้ามโพสต์ภาพผู้ที่เสียชีวิต รวมไปถึงให้ข้อมูลเรื่องการเสียชีวิต ยิ่งเป็นโพสต์ดูหมิ่นหรือแสดงความเกลียดชัง ไม่ว่าจะเป็นญาติ คนสนิท หรือแม้แต่บุคคลที่มีชื่อเสียง หากเข้าลักษณะเป็นความผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

 

7. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น
การด่าทอผู้อื่นซึ่งหน้าก็ถือว่าเป็นความผิดแล้ว แต่หากโพสต์ด่าว่าผู้อื่นโดยข้อมูลนั้นเป็นเท็จ ก็มีโทษ หากเข้าลักษณะเป็นความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ฉะนั้น ควรสะกดกลั้นอารมณ์แล้วอย่าไปลงกับสื่อโซเชียล มิเช่นนั้นอาจโดนโทษทั้งจำทั้งปรับ

 

8. การละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
การจะเอาอะไรของใครไปใช้ ต้องมีการขออนุญาตและให้เครดิตก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น เช่นเดียวกับโลกออนไลน์ การจะโพสต์ Quote ข้อความ เพลง รูปภาพ วิดีโอใด ๆ ต้องบอกแหล่งที่มา ให้เครดิต หรือขออนุญาตเจ้าของก่อน มิฉะนั้น หากเข้าลักษณะเป็นความผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีความผิด มีโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

 

9. การส่งรูปภาพ
หากเป็นการส่งให้เพื่อนหรือญาติสนิทมิตรสหายดู อาจเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อเป็นความรู้สามารถส่งรูปภาพได้ แต่หากเป็นการแชร์ภาพ หรือนำรูปภาพไปใช้เพื่อการพาณิชย์หรือสร้างรายได้ ต้องขออนุญาตและทำให้ถูกต้องก่อน มิฉะนั้น อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิด มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

 

10.การฝากร้าน
ก่อนจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนออกมา เราได้เห็นการฝากร้านใต้โพสต์ของผู้มีชื่อเสียงและดารามากมาย แต่ตอนนี้ไม่สามารถทำได้แล้ว หากไม่ได้รับอนุญาต เพราะการฝากร้านในโซเชียลมีเดีย ถือเป็นสแปมและรบกวนผู้อื่น มีโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท ฉะนั้น ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนค่อยฝากร้าน

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้ใช้งานบนโลกโซเชียลมีเดีย ควรจะตระหนักรู้ไว้ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ เพราะอย่างน้อยก่อนที่จะโพสต์ หรือกดไลก์ กดแชร์ จะทำให้เรามีความยับยั้งชั่งใจกันบ้าง

 

สนับสนุนเนื้อหา: 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย Nong-beam
เข้าชม 683 ครั้ง

คำค้นหา : ข้อกฏหมายพรบ.คอมพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์บทลงโทษข้อกำหนด พรบโชเชียลกติกาข้อบังคับแนวทางกฎหมายการจำกัดสิทธิการป้องกันเสรีภาพข่าว พรบพรบ กฎหมายข้อกำหนดของ พรบพรบ.ชาวโชเชียล