ยื่นภาษี 2565 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง เงื่อนไขอย่างไร มาดูกัน
ยื่นภาษี 2565 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง เงื่อนไขอย่างไร เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเวลานี้เข้าสู่ช่วงโค้งท้ายของมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ต้องเตรียมตัวยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2565 โดยที่กรมสรรพากรเปิดให้ยื่นภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. 2566 (กรณียื่นออนไลน์ได้ถึง 8 เม.ย.2566)
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปไขคำตอบถึงสิทธิ์ลดหย่อนประเภทต่างๆที่สามารถนำมาหักภาษีว่ามีอะไรบ้าง
สิทธิลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท ทุกคนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไข
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ในปีภาษีนั้น
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท สามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ เอกสารที่ใช้สำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ซึ่งต้องเป็นบุตรตามกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุ 20 - 25 ปี แต่กำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- กรณีมีเฉพาะบุตรตามกฎหมาย: ลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
- กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: ลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
- กรณีมีทั้งบุตรตามกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส
- กรณีเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเอง: ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ไม่เกิน 2 คน และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม โดยบิดามารดาจะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปีในปีภาษีนั้น และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้ หากจะใช้สิทธิลดหย่อนเลี้ยงดูแม่เพียงคนเดียว ต้องตกลงกับพี่น้องว่าใครจะใช้สิทธินี้
- กรณีเลี้ยงดูบิดามารดาของคู่สมรส: ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ไม่เกิน 2 คน จะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรมของคู่สมรส และคู่สมรสไม่มีรายได้เลยตลอดปีภาษีนั้น
- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้น มีบัตรประจำตัวผู้พิการ และหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ (ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นบิดามารดา – บุตร – คู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองประเภท)
สิทธิลดหย่อนจากเงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะและสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
สิทธิลดหย่อนจากการออมและลงทุน
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- สิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยได้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท แต่เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
สิทธิลดหย่อนจากเบี้ยประกัน
- เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท (แต่ปี พ.ศ. 2565 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม จึงจะลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 7,200 บาท หรือตามจำนวนเงินสมทบจริง)
- เบี้ยประกันชีวิต เงินฝากแบบมีประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันของคู่สมรสได้สูงสุด 10,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยเงื่อนไขเช่นเดียวกับประกันชีวิตทั่วไป
- เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
สิทธิลดหย่อนภาษี จากเบี้ยประกัน
- เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
ค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ
- ค่าลดหย่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี กรณีมีผู้กู้ร่วม สิทธิประโยชน์จะเฉลี่ยตามจำนวนคนที่ร่วมกู้ เช่น สามีภรรยากู้ซื้อบ้านร่วมกัน จ่ายดอกเบี้ยตามจริงไป 100,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าดอกเบี้ยบ้านได้คนละ 50,000 บาท เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ สำเนาสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือรับรองหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยจากเจ้าหนี้จำนอง
- ค่าลดหย่อน “ช้อปดีมีคืน 2565” จากการซื้อสินค้าหรือบริการที่ตรงตามเงื่อนไขของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 มาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Microsoft Teams with Office 365 for User
Microsoft Teams เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใ...
Microsoft Teams with Office 365
Microsoft Teams is the hub for teamwork in Office 365. This course will provide an over...
สร้าง Chart วิเคราะห์การขาย ด้วย Excel สำหรับการทำตลาดออนไลน์
การทำตลาดออนไลน์จำเป็นต้องนำข้อมูลเข้ามาเพื่อวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลได้หลายรูปแบบ เพื่...
สร้าง Dashboard ด้วย Excel สำหรับวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
การจัดทำรายงานข้อมูลตัวเลขที่ต้องอัปเดตอยู่เป็นประจำ ที่ต้องนำเสนอแผนภูมิ (Chart) ของ E...
Adobe Illustrator CC 2019 สร้างสรรค์งานออกแบบกราฟิกดีไซน์
ในการออกแบบภาพกราฟิกและงานกราฟิกต่างๆ ซึ่งแม้แต่ผู้ที่ไม่เคยทำงานด้านออกแบบมาก่อน หรือไ...
คำค้นหา : กรมสรรพากรยื่นภาษี 2565ยื่นภาษีออนไลน์ยื่นภาษีทำอย่างไรยื่นภาษีออนไลน์ทำอย่างไรลืมรหัสผ่าน ภาษียื่นภาษีเว็บไหนยื่นภาษีเตรียมอะไรบ้างรายได้ เสียภาษีไหมวิธียื่นภาษี