พึงระวัง! ไฟล์ PDF แนบอีเมล ช่องโหว่ติดตั้งมัลแวร์
การใช้งานออนไลน์ในทุกวันนี้มีความเสี่ยงที่จะโดนภัยคุกคามและการโจมตีจากแฮกเกอร์อยู่สูงมาก ในทุก ๆ ที่บนโลกออนไลน์ เต็มไปด้วยช่องโหว่ ที่ต่อให้คุณระมัดระวังตัวแค่ไหน ก็อาจตกเป็นเหยื่อได้โดยไม่รู้ตัวได้ง่าย ๆ ดังนั้น สิ่งที่คุณควรจะทำควบคู่ไปกับการระวังตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ก็คือการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อรับมือกับทุกกลโกงของแฮกเกอร์ที่พยายามจะนำเอาความเสียหายมาให้ถึงที่ เพียงแค่เราคลิก ทุกอย่างอาจจะสูญหายไปหมดก็ได้ เราจึงต้องตามมุกใหม่ ๆ ให้ทันเพื่อที่จะไม่หลงกล แม้ว่าจะเทคนิคเหล่านั้นจะแนบเนียนแค่ไหนก็ตาม
ระวัง! ไฟล์ PDF ที่ถูกแนบมากับอีเมล เครื่องอาจติดมัลแวร์โดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากอีเมล ยังคงเป็นช่องทางการแพร่กระจายมัลแวร์ผ่านออนไลน์ที่ได้รับความนิยม และ PDF เป็นประเภทไฟล์ที่เหล่าแฮกเกอร์นิยมใช้แนบมากับอีเมลเพื่อโจมตีด้วยมัลแวร์มากที่สุด ทำให้ PDF ติดอันดับไฟล์แนบอันตรายที่พบได้บ่อยทางอีเมล คิดเป็น 66.65 เปอร์เซ็นต์ของการแพร่กระจ่ายมัลแวร์ผ่านทางช่องทางนี้ทั้งหมด เนื่องจาก PDF เป็นไฟล์ที่มักใช้ส่งหากันในแวดวงธุรกิจ ทำให้เหยื่อมีแนวโน้มที่จะระมัดระวังไฟล์ PDF ลดน้อยลง อีกทั้งยังพบว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงคำเตือนในการคลิกลิงก์แปลก ๆ ที่แนบมากับอีเมล PDF จึงเป็นตัวฟิชชิ่งที่ล่อเหยื่อได้ง่ายกว่าอีเมลที่แนบลิงก์ธรรมดา ๆ ให้คลิกเสียอีก แค่ตั้งชื่อไฟล์ PDF ด้วยบริบททางธุรกิจ เหยื่อก็กดเปิดโดยไม่นึกสงสัย
จริง ๆ แล้ว ไฟล์ PDF ติดมัลแวร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เพราะความปกติธรรมดาที่ ไฟล์ PDF มักถูกแนบมากับอีเมลต่าง ๆ อยู่แล้วทำให้เราไม่ทันระวังตัว นอกจากไฟล์ PDF ด้วยบริบททางธุรกิจ ที่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับสัญญาหรือเอกสารต่าง ๆ ยังพบไฟล์ PDF ปลอมที่มาในรูปแบบของใบแจ้งหนี้ (Invoice) หรือใบสำคัญรับเงิน (Receipt) อีกด้วย โดยข้อความในอีเมลจะแจ้งว่าเราได้รับใบแจ้งหนี้หรือใบสำคัญรับเงิน จากการซื้อ-ขายสินค้าจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) เจ้าหนึ่งที่มีอยู่จริง หรือจากการทำธุรกรรมบางอย่างกับธนาคารที่มีอยู่จริง ลงรายละเอียดต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เพื่อล่อให้เราคลิกเข้าไปดูในไฟล์ PDF ที่แนบว่าข้อมูลถูกต้องหรือไม่
ถ้าเราหลงเชื่อคลิกเปิดไฟล์ PDF ปลอมที่แนบมาเพื่อดูภายในไฟล์ว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ก็เท่ากับเราเป็นคนคลิกติดตั้งมัลแวร์ลงในอุปกรณ์ด้วยตัวเราเอง ทั้งจากการรันโปรแกรมเพื่อเปิดไฟล์ หรือไฟล์ PDF อาจพาเราไปยังลิงก์ที่ทำให้อุปกรณ์ของเราติดมัลแวร์ เช่น กรณีที่ไฟล์ติดรหัสเปิดไม่ได้ ถ้าเราตอบกลับไปว่าเปิดไฟล์ไม่ได้ แฮกเกอร์ก็อาจจะส่งลิงก์ใหม่มาให้เรากดโดยหลอกว่าเป็นวิธีถอดรหัสไฟล์ แต่ความจริงแล้วคือมัลแวร์ ที่พอเปิดไฟล์ได้แล้ว ก็เป็นการรันตัวมัลแวร์ให้ทำงานได้โดยสมบูรณ์
มัลแวร์ที่ถูกติดตั้งเข้ามาในอุปกรณ์ ก็จะเข้าไปป่วนการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยอาจเข้าไปลักลอบขโมยรหัสผ่านและข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าถึงบัญชีต่าง ๆ ของคุณ เข้าไปขโมยข้อมูลธนาคารและข้อมูลบัตรเครดิต หรือเข้าไปควบคุมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคุณ และยักยอก/ลบไฟล์ต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน
การฝังมัลแวร์ไว้บนไฟล์ที่ดูเหมือนเป็นไฟล์เอกสารธรรมดา ๆ ที่อีเมลรองรับและยอมรับ ก็เพื่อที่หลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัย ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไฟล์แนบที่เป็นอันตรายไม่ให้มาอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ เพราะหน้าตาภายนอกของมันก็คือไฟล์ PDF ทั่วไป ที่ใคร ๆ ก็สามารถส่งแนบมากับอีเมลการติดต่อธุรกิจทั่ว ๆ ไปได้ และหลายคนก็อาจไม่ทันได้ระวังตัว เผลอคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดที่ด้านในของไฟล์ เพราะความธรรมดาของมันนั่นเอง
ไม่กดเปิดไฟล์แปลก ๆ จากผู้ส่งที่ไม่คุ้นเคย ก็ช่วยได้มากแล้ว
เพราะฉะนั้น ก่อนเปิดไฟล์ต่าง ๆ ที่ถูกแนบมากับอีเมล ให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนว่าอีเมลที่ส่งมาหาเรานั้นเป็นชื่ออีเมลแอดเดรสจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เราทำการติดต่อด้วยจริง ๆ ด้วยทุกวันนี้มีเทคนิคการปลอมแปลงอีเมลหลากหลายมาก ปลอมได้แม้กระทั่งให้เราเห็นว่าเป็นอีเมลของเราเองส่งมาหาเราก็ทำได้ (โดยข่มขู่ให้เรากลัวว่าอีเมลนี้ของเราถูกแฮกเรียบร้อยแล้ว) หากเป็นไฟล์งานจากเพื่อนร่วมงาน หรือใครก็ตามที่เราติดต่อธุรกิจด้วย ให้โทรไปยืนยันทางโทรศัพท์หรือสอบถามด้วยตนเองว่าพวกเขาเป็นผู้ส่งจริง ๆ หรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพบว่าชื่อผู้ส่งอีเมลกับอีเมลดังกล่าวไม่ตรงกับอีเมลจริงของผู้ส่ง หรืออาจเช็กลิงก์ที่แนบมา หากไม่คุ้นเคยห้ามกดเด็ดขาด
และถ้าเราไม่เคยทำธุรกรรม หรือมีการติดต่อซื้อ-ขายใด ๆ กับหน่วยงานหรือองค์กรที่แนบไฟล์ PDF มากับอีเมล เช่น ไม่เคยทำการซื้อ-ขายสินค้าในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่อ้างตัวในอีเมลนี้ หรือไม่เคยไปติดต่อใด ๆ กับธนาคาร ในลักษณะที่ธนาคารจะต้องส่งเอกสารแนบอีเมลมาให้เช่นนี้ ก็อย่าได้กดเข้าไปในไฟล์ที่แนบมาโดยเด็ดขาด ต่อให้สงสัยแค่ไหนก็ตามว่าในไฟล์นั้นมีอะไร ก็ห้ามกดซี้ซั้วเพื่อเข้าไปลองดูเด็ดขาด หากอุปกรณ์ของคุณเกิดติดมัลแวร์อันตรายขึ้นมา ผลที่ตามมาอาจนำไปสู่ความเสียหายที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ก็ได้
สนับสนุนเนื้อหา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Basic Microsoft Project 2010/2013
MS Project เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการบริหารโครงการต่างๆ ให้เป็นไปอย่างที่ผู้ทำโครงการนั้นต้องการ สามารถวางแผนควบคุม ติดตามความคืบหน้า การกำหนดระยะเวลา ทั้งแบบโครงการเ...
Basic OpenOffice.org
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปใช้งานในธุรกิจทั่วไป ใน OpenOffice ประกอบไปด้วยโปรแกรมหลักๆของการใช้งานใน Office ทั่วไปคือ Writer Calc และ Impress โดยผู้เรียนไม่ต้อ...
ASP.net 4.0 with my sqlserver 2012 and ssrs
เรียนรู้วิธีการสร้างเว็บด้วย asp.net อีกภาษาในการเขียนเว็บโปรแกรมมิ่งจากทางฝั่ง Microsoft ซึ่งตัวภาษาจะมีพื้นฐานมาจากภาษา Visual Basic แต่สำหรับ ASP.NET 4.0 นั...
การออกแบบเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป
เนื้อหาหลักสูตรนี้จะเน้นในเรื่อง การเรียนรู้รูปแบบและหลักการในการออกแบบและดีไซน์เว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ผู้อบรมจะได้รับการปูพื้นฐานหลักการออกแบบเว็บไซต์เบื้องต้นเรียนรู้การทำ...
การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น(Microsoft Office and Internet)
หลักสูตรนี้จะเป็นการเน้นเรียนถึงหลักความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยเฉพาะในส่วนของโปรแกรม Microsoft Office ทั้งหลายที่ช่วยในการจัด...
การทําเหมืองข้อมูลด้วยซอฟแวร์ R ขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาและนำหลักการในการทำเหมืองข้อมูล ไปใช้ในการทำปัญหาพิเศษ การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย หรือเป็นเครื่องมือทางการตลาด เพื่อเอาชนะคู่แข่งท...
คำค้นหา : ช่องโหว่ติดตั้งมัลแวร์ไวรัสมัลแวร์คือเมล์การส่งข้อความไวรัสในเมล์มัลแวร์ในเมล์ช่องโหว่ไฟล์ pdfไฟล์แนบมัลแวร์แฮกเกอร์อีเมลภัยออนไลน์ความปลอดภัยทางไซเบอร์lifestyledont miss