ล้ำหน้า เทคโนโลยีมีการต่อยอดเป็นหุ่นยนต์สร้างบ้าน

ล้ำหน้า เทคโนโลยีมีการต่อยอดเป็นหุ่นยนต์สร้างบ้าน

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสร้างบ้าน ดังนั้น การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพงานก่อสร้างให้เดินหน้าภายในระยะเวลาที่จำกัดเป็นสิ่งที่จำเป็นผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ให้ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านแรงงานที่กำลังเป็นปัญหาในทุกวันนี้

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงร่วมมือกับสมาคมรับสร้างบ้าน บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปร ดัคส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จัดประกวด“การพัฒนาหุ่นยนต์สร้างบ้าน”ขึ้นเพื่อทดแทนในส่วนของปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตร ภาพ เลขาธิการ วช.เล่าถึงจุดประสงค์ในการประกวดครั้งนี้ว่า เพื่อให้เยาวชนใช้ความรู้ในการวิจัย พัฒนา งานประดิษฐ์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาผสมผสานกันในการช่วยเหลือ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยเฉพาะในขั้นตอนของการก่อผนังอิฐที่เดิมต้องใช้ระยะเวลานานรวมถึงใช้แรงงานจำนวนมากจึงจัดให้มีการประกวดหุ่นยนต์สร้างบ้านที่จะมาช่วยทดแทนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่กำลังขาดแคลน

โดยทาง วช. ได้เปิดรับสมัครการประกวดหุ่นยนต์สร้างบ้านมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาคัดเลือกจนมีผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด9ทีมเพื่อแข่งขันทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์

“ทั้งนี้ยังจะมีการต่อยอด นำหุ่นยนต์ของผู้แข่งขันที่ได้รับรางวัลไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่1หรือรางวัลต่าง ๆ จะมีการสนับสนุนส่งเสริมให้กลายเป็นหุ่นยนต์สร้างบ้านที่ผลิตขายได้จริงในอนาคต”

นายถวิล ขวัญกิจสกุลวีระ ผู้จัดการฝ่ายบริการเทคนิค บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปร ดัคส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หุ่นยนต์ของผู้เข้าแข่งขันจะใช้เวลาในการก่อผนังอยู่ที่10-15นาที ในการก่ออิฐแผงระยะ2-3ตารางเมตร ซึ่งถือว่ามีความรวดเร็ว แต่ยังต้องนำเอาไปพัฒนาในอีกระดับหนึ่ง เพื่อที่จะให้งานออกมาได้ใกล้เคียงกับแรงงานคน สามารถใช้งานได้จริง แต่ต้องไม่ลืมว่าถึงแม้คนจะทำงานได้ละเอียดกว่าหุ่นยนต์ แต่ในเรื่องของความสเถียร และความคงทน คนจะมีระยะเวลาล้าในการทำงาน วันนึงอาจทำได้เพียง20ตารางเมตร แต่หุ่นยนต์สามารถทำได้ถึง40ตารางเมตร เพราะหุ่นยนต์ไม่ต้องพักเที่ยง ไม่ต้องมีเวลากินข้าว ซึ่งช่วยในเรื่องการประหยัดเวลาและสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้

ด้าน รศ.ดร.สุธี อักษรกิตติ์ ประธานกรรมการ สาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมวิจัย วช. บอกถึงหลักเกณฑ์ในการตัดสินการแข่งขันว่า หุ่นยนต์ที่เข้าแข่งขันไม่ได้กำหนดลักษณะหรือรูปแบบที่ตายตัว เนื่องจากไม่อยากตีกรอบ อยากให้ผู้เข้าแข่งขันสร้างจินตนาการ ออกแบบหุ่นยนต์ด้วยตัวเอง ซึ่งจะดูในส่วนของผลลัพธ์มากกว่า ว่าการก่อผนังจะออกมามีประสิทธิภาพ มีความเรียบร้อย มีความสวยงาม สามารถลดเวลาในการทำงานลงได้มากน้อยเพียงใด

ซึ่งอย่างไรก็ตาม ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมที่ชนะเลิศคือทีมINROC-Z-BOจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมซึ่ง นายวรพจน์ ศตเดชากุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาทีม เปิดเผยว่า ตัวเองและเด็ก ๆ ในทีมรู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยจะนำความรู้ที่ได้รับจากการแข่งครั้งนี้ไปต่อยอดสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ต่อไป

รวมถึงจะยังมีการพัฒนาวิจัย เพิ่มเติม เพื่อที่จะสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถออกมาใช้งานได้จริง และใช้ทดแทนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่กำลังขาดแคลน.

ศรัณย์ บุญทา

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,676 ครั้ง

คำค้นหา : อุตสาหกรรมก่อสร้างบริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปร ดัคส์ จำกัด (มหาชน)พัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมการพัฒนาวิจัยหุ่นยนต์ทีมINROC-Z-BOหุ่นยนต์สร้างบ้านการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพงานก่อสร้าง