สารสเตียรอยด์ สารสังเคราะห์ที่ใช้ในทางการแพทย์

สารสเตียรอยด์ สารสังเคราะห์ที่ใช้ในทางการแพทย์

หมวดหมู่: บทความทั่วไป

สเตียรอยด์ เป็นชื่อเรียกของกลุ่มฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมหมวกไต (Adrenal cortex steroids) ซึ่งที่ต่อมนี้จะสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ถูกสร้างขึ้นจากสารตั้งต้นที่เรียกว่า คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ซึ่งสเตียรอยด์ที่ถูกสร้างขึ้น มีหลักๆ 2 ชนิด คือ Cortisol และ Aldosterone 

Cortisol ถูกสร้างวันละประมาณ 20 -30 มิลลิกรัมถูกหลั่งออกซึ่งจะมากหนือน้อยต่างกันตามช่วงเวลา โดยจะถูกสร้างสูงสุดตอนตื่นนอน และต่ำสุดตอนหลับ เรียกว่า ภาวะขาดฮอร์โมน” 

นอกจากนี้เมื่อออกกำลังกาย ภาวะที่ร่างกายมีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า มีบาดแผล ได้รับการผ่าตัด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายจะหลั่ง Cortisol มากขึ้นเพื่อควบคุมสภาวะเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ผลต่อความสมดุลของเกลือแร่ อิเล็กโทรไลต์ และน้ำ บรรเทาการอักเสบ เนื่องจากมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดผลต่อการเจริญเติบโต การแบ่งเซลล์ กล้ามเนื้อ กระดูก ดังที่กล่าวมาจะพบว่าสเตียรอยด์มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ร่างกายไมสามารถขาดสเตียรอยด์ได้เลย
 
สำหรับสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นจากต้นแบบ Cortisol มนุษย์เราได้พัฒนาความแรงของ Cortisol เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับโรคบางอย่างที่ต้องการมากขึ้น ผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อ
ใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าวได้ โดยยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์นี้ กฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษเนื่องจากมีความเป็นพิษสูง และเป็นอันตราย และต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น
       

ยากลุ่มสเตียรอยด์
 
Hydrocortisone Prednisolone Triamcinolone
Fluocinolone Betamethasone Clobetasol
Desoximetasone Prednicarbate Mometasone
Beclomethasone Budesonide Dexamethason
 
 
ถ้าสังเกตจากชื่อยาจะเห็นว่า มักลงท้ายด้วย -one หรือ -ol เสมอยกเว้นบางตัว ดังนั้นจึงพอใช้เป็นข้อสังเกตว่ายาแผนปัจจุบันตัวไหนเป็นสเตียรอยด์หรือไม่ถ้าพบว่ายาที่ได้นั้นมีชื่อเหล่านี้ก็เป็นที่ทราบเลยว่า ท่านได้รับสารสเตียรอยด์แล้วและท่านต้องปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย
 
ยากลุ่มสเตียรอยด์มีประโยชน์ และ โทษ ดังนี้


ประโยชน์ ทดแทนภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ข้ออักเสบเฉพาะที่รุนแรงควบคุมไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน โดยให้ยาด้วยวิธีรับประทาน หรือ ฉีดเข้าข้อโดยตรงหัวใจอักเสบรูมาติก โรคไต บางชนิด เช่น Glomerulonephritis, Nephrotic syndrome โรคเกี่ยวกับคอลลาเจนบางชนิด เช่น Polymyositis, Polyarteritis nodusa,systemic lupus erythematosus (SLE) โรคภูมิแพ้ ที่รุนแรง ควบคุมด้วยยามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล เช่น หอบหืดอย่างรุนแรง โรคปอดเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่ใช้ในรูปของยาพ่น กิน หรือ ฉีด โรคตา ในรูปหยอด หรือป้ายตา โรคผิวหนังผื่นแพ้ ในรูปยาทาเฉพาะที่โรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Ulcerative colitis, Crohn's disease โรคตับ Subacute Hepatic Necrosis, Chronic active Hepatitis, ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์และตับแข็งในสตรีที่ไม่ดื่มสุรา โรคมะเร็งในโรค Lymphoblastic Leukemiaมะเร็งเต้านม ป้องกันอาเจียนในผู้ที่ได้รับยาต้านมะเร็ง ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคโลหิตจาง Immunohemolytic anemia การปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อให้เกิดการยอมรับอวัยวะผู้อื่นดีขึ้น

                            
 
โทษ ยามีฤทธิ์กดการทำงานของต่อมหมวกไต ห้ามหยุดยาอย่างทันทีหลังจากใช้เป็นระยะเวลานาน เกิดลักษณะของผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานๆที่เรียกว่า Cushing's Syndrome คือ มีอาการบวม ท้องลาย สิวเม็ดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าสิวสเตียรอยด์ ผิวเข้มขึ้น ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย ขนขึ้นตามตัวติดเชื้อง่ายขึ้น เกิดเชื้อราในช่องปากง่ายขึ้น เพราะยาจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต่อต้านเชื้อโรค กดการเจริญเติบโตในเด็ก เกิดความดันโลหิตสูง ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังบาง เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)ความดันในลูกตาเพิ่มทำให้เป็นต้อหิน เลนส์กระจกตาขุ่น เกิดต้อกระจกภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงง่ายคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ทางเดินอาหารระคายเคือง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
 
ถ้าใช้ยามานาน แล้วหยุดยาทันที

เกิดอาการถอนยา ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อ่อนล้า ปวดศรีษะ มีไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักตัวลดลง ความดันโลหิตต่ำ กดผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง อื่นๆ ได้แก่ แผลหายช้า เกิดห้อเลือด ฟกช้ำง่ายมีไขมันสะสมมากที่ตับ ตับอ่อนอักเสบ มีขนขึ้นมาก ประจำเดือนผิดปกติ หรืออาจไม่มีประจำเดือนลดความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย
 
 
ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยจากสเตียรอยด์
 
มักตรวจพบการลักลอบใส่สเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ ยาลูกกลอน ที่ผลิตจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาติจากกระทรวงสาธารณสุข และ ยาชุดที่จำหน่ายโดยบุคคลที่ไม่ใช่เภสัชกร 

        สังเกตยาแผนโบราณ หรือยาลูกกลอนต้องมีเลขทะเบียนตำรับยา วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา ชื่อและจังหวัดที่ตั้งผู้ผลิตยา ชัดเจน หรือ ผู้จำหน่ายมีใบอนุญาติขายยาแผนโบราณและมีเภสัชแผนโบราณ ประจำร้านซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขบังคับให้มีการติดป้ายใบอนุญาติ และใบประกอบโรคศิลปะให้เห็นชัดเจน สามารถตรวจสอบได้หากเกิดปัญหา
       - ซื้อยาจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยา และมีเภสัชการประจำร้านทางกระทรวงสาธารณสุขบังคับให้มีการติดป้ายใบอนุญาติ และใบประกอบโรคศิลปะให้เห็นชัดเจน ทำให้สามารถตรวจสอบได้หากเกิดปัญหา
       - ไม่ใช้ยาชุดหรือซื้อยา จากร้านขายของชำ รถเร่ หรือแผงลอย หรือยาจากผู้ไม่ได้ใบประกอบโรคศิลปะ

 

 

 

ที่มา https://www.it-gateways.com

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 5,249 ครั้ง

คำค้นหา : สเตียรอยด์สารสังเคราะห์การใช้ยาภาวะขาดฮอร์โมนภาวะขาดฮอร์โมนคอเลสเตอรอลต่อมหมวกไตสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์