สาเหตุที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ

สาเหตุที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

แอพฯแชตสาเหตุทำภาษาไทยวิบัติ? 
เสน่ห์และลูกเล่นของ ไลน์ ที่ทำให้คนไทยติดแชตกันงอมแงม อย่างหนึ่งก็คือการส่งสติกเกอร์ เพื่อใช้สื่อสารแทนคำพูด หรือข้อความ ซึ่งสติกเกอร์ของไลน์ ก็มีหลากหลาย วันพฤหัสที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 5:54 น. 

การสื่อสารในยุคปัจจุบันไม่ได้จำกัดแค่การโทรศัพท์พูดคุยเท่านั้น เมื่อปัจจุบันการพิมพ์ข้อความแชตคุยกันผ่านแอพพลิเคชั่นของคนไทยได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก 

ไม่ว่าจะไปทางไหน บนรถไฟฟ้า ในห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ต่าง ๆ ตามท้องถนน จะเห็นคน “ก้มหน้าก้มตา” กดโทรศัพท์กันป็นแถว 

จนปัจจุบันเมืองไทย กลายเป็น “สังคมก้มหน้า” ไปเรียบร้อยแล้ว!! 

ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่นิยมใช้แชตกันในปัจจุบันก็มีอยู่มากมาย แต่ที่นิยมอย่างมากในไทยคงหนีไม่พ้น “แอพพลิเคชั่นไลน์” ที่มีจำนวนผู้ใช้งานคนไทยมาก กว่า 33 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้น 

เสน่ห์และลูกเล่นของ ไลน์ ที่ทำให้คนไทยติดแชตกันงอมแงม อย่างหนึ่งก็คือการส่งสติกเกอร์ เพื่อใช้สื่อสารแทนคำพูด หรือข้อความ ซึ่งสติกเกอร์ของไลน์ ก็มีหลากหลาย นอกจากสติกเกอร์แบบทางการแล้ว ยังมีสติกเกอร์แบบครีเอเตอร์ ที่เปิดโอกาสให้นักออกแบบที่สนใจสร้างสรรค์สติกเกอร์จากฝีมือตัวเอง แล้วนำขึ้นขายใน ครีเอเตอร์ มาร์เก็ตด้วย 

โดยข้อมูลจาก ไลน์ ประเทศไทย อัพเดทล่าสุด เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2558 นั้น ใน ไลน์ ครีเอเตอร์ มาร์เก็ต ที่ให้นักออกแบบทำสติกเกอร์ขึ้นไปขายให้กับผู้ใช้งานไลน์ทั่วโลกนั้น มีนักออกแบบสติกเกอร์ทั่วโลก เข้ามาลงทะเบียนแล้วจำนวน 496,979 ราย ในจำนวนนี้เป็นนักออกแบบจากประเทศไทยจำนวน 59,696 ราย หรือคิดเป็น 12% ของจำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 

อย่างไรก็ตามการทำสติกเกอร์ขายในครีเอเตอร์ มาร์เก็ตนั้น ผู้ออกแบบจะต้องส่งผลงานสติกเกอร์ไปให้ทีมงานของทางไลน์ ญี่ปุ่น ทำการตรวจสอบและพิจารณาก่อนว่าจะอนุญาตให้นำสติกเกอร์ขึ้นขายในครีเอเตอร์ มาร์เก็ตหรือไม่ 

ซึ่งเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหลัก ๆ นั้น จะต้องเป็นสติกเกอร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องชาติ ศาสนา การเมือง และไม่ขัดต่อศีลธรรมหรือ กฎหมายของประเทศนั้น ๆ และต้องไม่สื่อหรือแสดงออก ทางความรุนแรง ทารุณเด็ก เรื่องเพศ รวมถึงเกี่ยวกับยาเสพติด 

นอกจากนั้นก็ต้องเป็นสติกเกอร์ที่ถูกออกแบบใหม่ไม่เลียนแบบ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และต้องไม่เป็นรูปภาพที่มีการใช้คำประกอบที่เป็นภาษาหยาบคาย ไม่สุภาพ ฯลฯ 

ในปัจจุบัน มีสติกเกอร์ที่ออกแบบโดยครีเอเตอร์ ที่ขายในในสติกเกอร์ ช็อป นั้นมีหลากหลาย หลายแบบ ซึ่งก็มีทั้งการสื่อสารด้วยสีหน้าของตัวการ์ตูน และสื่อสารด้วยภาพ และคำประกอบ เพื่อให้การสื่อสารให้ผู้รับข้อความสติกเกอร์ได้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็มีสติกเกอร์ที่ถูกออกแบบจำนวนไม่น้อยที่ใช้คำที่เขียนไม่ถูกหลักภาษา หรือสะกดคำผิดไป เช่น อัลไล (อะไร), คับ (ครับ), กาน (กัน), บัย(บาย), ที่ร๊ากก (ที่รัก), โกดแง้ว(โกรธแล้ว) ฯลฯ 

จึงมีหลายฝ่ายกังวลจะส่งผลให้มีการใช้ภาษาไทยผิด หรือทำให้ภาษาเพี้ยนไป โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ๆ เยาวชนที่นิยมการแชตคุยกันแล้วเกิดความเคยชินนำมาใช้เขียนหรือสะกดภาษาไทยผิดไปจนทำให้ภาษาวิบัติได้ 

ในเรื่องนี้ รศ.ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรมราชบัณฑิตยสถาน ให้ความเห็นว่า กรณีนี้ต้องแยกดูเป็น 2 เรื่อง คือ คำที่ใช้เป็นคำใหม่ หรือเป็นคำที่มีในพจนานุกรม แต่เขียนไม่ถูกตามหลักภาษาไทย ซึ่งทุกวันนี้มีคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน โดยเป็นคำที่ใช้สื่อสารพูดคุยเฉพาะในกลุ่ม แต่เมื่อเวลาผ่านไปหากมันไม่ได้รับความนิยม คำใหม่นั้นก็จะตายหายไปเอง แต่ก็จะมีคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาทดแทน หรือใช้สื่อสารกันในกลุ่มอีกอย่างแน่นอน 

“คนเราอยากสร้างอะไรใหม่ ๆ อยู่แล้ว อยู่ที่คนอื่นจะรับหรือไม่ ถ้าคนอื่นไม่รับหรือไม่ชอบ มันก็จะหายไปเอง เหมือนกับการใช้ภาษา จนเกิดคำใหม่ ๆ ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามันไม่นิยม หรือกาลเวลาผ่านไปแล้วมันเชย คำเหล่านั้นก็จะตายหายไปเอง” 

ส่วนกรณีการที่วัยรุ่นพิมพ์แชตคุยกันแล้วใช้ภาษาผิดนั้น ส่วนใหญ่เป็นการใช้พูดคุยสื่อสารกันในเฉพาะกลุ่ม ซึ่งหากนำภาษาและการเขียนแบบนั้นมาใช้อย่างทางการ เช่น เขียนส่งเป็นการบ้าน ก็คงไม่มีอาจารย์คนไหนให้ผ่าน หรือหากนำไปเขียนจดหมายสมัครงานก็คงไม่มีบริษัทไหนรับเข้าทำงานแน่นอน จึงอยู่ที่กาลเทศะในการใช้มากกว่า ส่วนการที่มีการสร้างสติกเกอร์แล้วใช้คำที่สะกดผิดนั้น มองว่าเป็นเรื่องของการสร้างคำ หรือใช้คำ เพื่อให้เป็นจุดขายและดึงดูดความสนใจเพื่อให้สติกเกอร์ที่ออกแบบมาขายได้ แต่หากไม่ได้รับความนิยมก็จะหายไปเอง จึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลว่าจะเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดภาษาวิบัติ 

ด้านนายเอก อัครประเสริฐกุล หัวหน้าฝ่ายออกแบบไลน์ ประเทศไทย กล่าวว่า โดยปกติแล้ว ทางไลน์จะให้ความสำคัญในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง สังเกตได้จากการส่งข้อมูลข่าวสารให้กับผู้ใช้ในออฟฟิเชียลแอคเคาท์ไลน์ ประเทศไทย ส่วนเรื่องการใช้ภาษาวัยรุ่นหรือคำสแลงในสติกเกอร์นั้น มองว่าเป็นกระแสนิยม ใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่า อย่างไรก็ตาม ทางไลน์ ขอแนะนำให้ผู้ใช้มีวิจารณญาณในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักภาษา.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 6,338 ครั้ง

คำค้นหา : สาเหตุที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติเสน่ห์และลูกเล่นของ ไลน์ คนไทยติดแชตกันงอมแงมการส่งสติกเกอร์ เพื่อใช้สื่อสารแทนคำพูดสติกเกอร์ของไลน์ ก็มีหลากหลาย การสื่อสารในยุคปัจจุบันไม่ได้จำกัดแค่การโทรศัพท์ “ก้มหน้าก้มตา” กดโทรศัพท์กันป็นแถวกลายเป็น “สังคมก้มหน้า” ไปเรียบร้อยแล้ว“แอพพลิเคชั่นไลน์”มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสติกเกอร์แบบทางการสติกเกอร์แบบครีเอเตอร์ มีนักออกแบบสติกเกอร์ทั่วโลก ทีมงานของทางไลน์ ญี่ปุ่น