หมาและแมวติดไวรัสโคโรนาได้หรือไม่ แล้วจะถ่ายทอดมาสู่คนได้ไหม
เป็นเรื่องที่น่าฉุกคิดนะครับ สำหรับบรรดาทาสหมาทาสแมว เพราะเจ้าไวรัสโคโรนานี่ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากสัตว์ ซึ่งก็คือค้างคาวและงูนั่นเอง สำหรับข้อสงสัยแรก หมาและแมวติดไวรัสโคโรนาได้หรือไม่ คำตอบคือ “ติดได้” ส่วนข้อสงสัยที่สองแล้วสัตว์เลี้ยงจะถ่ายทอดเชื้อไวรัสมาสู่เจ้าของได้หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่”
ทางการแพทย์ได้ตรวจพบไวรัสโคโรานาในสัตว์มาตั้งนานแล้ว และพบว่าไวรัสโคโรนาในสัตว์นั้น เป็นไวรัสที่จำเพาะเจาะจงในแต่ละสายพันธุ์ ไม่แพร่เชื้อข้ามสายพันธุ์สัตว์ ในนกนั้นจะมี avian coronavirus ส่วนหมูก็จะมี porcine coronavirus ในวัวจะชื่อว่า bovine coronavirus และในม้าก็คือ equine coronavirus ส่วนเจ้าตูบนั้นจะมีไวรัสโคโรนาเฉพาะสายพันธุ์สุนัขคือ canine coronavirus ส่วนแมวก็มี Feline coronavirus
แล้วโคโรนาไวรัสในหมาและแมวจะถ่ายทอดสู่กันได้หรือไม่
คำตอบคือ”ไม่” เพราะไวรัสโคโรนาในสัตว์จะจำเพาะเจาะจงแต่ละสายพันธุ์ (อ้างอิงจากหนังสือ Zoonoses : infectious diseases transmissible from animals to humans เขียนโดย ดร.ฮาร์ตมุต เคราส์)
ในนกนั้นจะมี avian coronavirus ส่วนหมูก็จะมี porcine coronavirus ในวัวจะชื่อว่า bovine coronavirus และในม้าก็คือ equine coronavirus ส่วนเจ้าตูบนั้นจะมีไวรัสโคโรนาเฉพาะสายพันธุ์สุนัขคือ canine coronavirus ส่วนแมวก็มี Feline coronavirus
นั่นแปลว่าถ้าน้องหมาที่บ้านคุณติดเชื้อโคโรนาไวรัสมันจะไม่ถ่ายทอดไปสู่น้องแมว ในทางตรงกันข้ามถ้าน้องแมวมีเชื้อโคโรนาไวรัส มันก็จะไม่ลามไปติดน้องหมาอย่างแน่นอน และสบายใจได้อย่างครับโคโรนาไวรัสในหมาและแมวไม่ติดต่อสู่มนุษย์
ส่วนเสริม : ไวรัสกลายพันธุ์
ดร.นีล ซี. เพนเดอร์สัน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ค้นพบเจอเรื่องที่น่ากลัวก็คือไวรัสร้ายนี้สามารถกลายพันธุ์ให้กระโดดข้ามสายพันธุ์ได้ แมวบางตัวอาจจะติดไวรัสโคโรนาจากหมูก็ได้ ส่วน ดร.ปีเตอร์ แดสแซก ประธานขององค์กร EcoHealth Alliance ได้อธิบายถึงการติดต่อข้ามสายพันธุ์เพิ่มเติมว่า ไวรัสจากสัตว์ที่สามารถถ่ายทอดสู่คนได้นั้นก็เพราะ ความบังเอิญที่เซลส์ตัวรับในร่างกายเราเกิดไปมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสัตว์บางสายพันธุ์ ก็สามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสัตว์ชนิดนั้นมาได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและเกิดขึ้นแล้วก็คือ มนุษย์เรามีเซลส์ตัวรับที่คล้ายคลึงกับค้างคาว ที่เป็นพาหะหลักของไวรัสโคโรนานี่เอง แต่เรื่องหนึ่งที่ไม่ต้องห่วงก็คือ หมา – แมว – มนุษย์นั้น มีเซลส์ตัวรับที่แตกต่างกันมาก ไม่เคยมีรายงานการค้นพบว่าไวรัสจากมนุษย์จะลามไปติดต่อในสัตว์เลี้ยง หรือไวรัสจากสัตว์เลี้ยงจะถ่ายทอดมาถึงเจ้าของเช่นกัน
ถ้าน้องหมาน้องแมวติดเชื้อโคโรนาไวรัสจะมีอาการอย่างไร
จากข้อที่แล้วโคโรนาไวรัสในหมาและแมวนั้นคนละสายพันธุ์กัน ฉะนั้นหมาและแมวที่ติดเชื้อก็จะแสดงอาการต่างกัน
อาการในน้องหมา : ไวรัสโคโรนาจะมุ่งโจมตีที่ระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการไอ, จาม และมีเมือกและน้ำมูกมาก อาจมีอาการอื่นเช่น อาเจียน, ท้องเสีย, เซื่องซึม, เบื่ออาหาร
อาการในน้องแมว : ถ้าน้องแมวติดโคโรนาไวรัส อาการจะหนักหนา น่าสงสารกว่ามากครับ ไวรัสจะคุกคามระบบทางเดินหายใจของเหมียว รวมถึงระบบการย่อยอาหารด้วย อาการเริ่มต้นจะคล้ายป่วยเป็นไข้ทั่วไป น้องเหมียวจะจามบ่อย, ตาแฉะ, น้ำมูกไหล, ท้องเสีย, คลื่นไส้, น้ำหนักลด น้องเหมียวที่ติดไวรัสโคโรนาประมาณ 5% – 10% ไวรัสจะพัฒนาความรุนแรงให้น้องเหมียวมีอาการเยี่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) ซึ่งถ้าถึงขั้นนี้ส่วนใหญ่จะถึงชีวิต โดยเฉพาะลูกแมว
ลักษณะการแพร่เชื้อ
พาหะนำหลักของโคโรนาไวรัสในน้องหมาน้องแมวนั้นมาจาก “อึ” ช่องทางที่หมาและแมวจะรับเชื้อไวรัสโคโรนาเข้าสู่ร่างนั้นแตกต่างกัน ในหมานั้นจะรับผ่านทางปาก ก็คือการไปกินหรือเลียอึของหมาตัวอื่นที่มีเชื้อไวรัสโคโรนาอยู่แล้ว วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือจำกัดบริเวณน้องหมาไว้ในบ้านจะดีที่สุด ส่วนน้องแมวนั้นจะรับไวรัสโคโรนาเข้ามาทางระบบหายใจ และสารคัดหลั่งในช่องปากเช่น น้ำลาย, เสมหะ และน้ำเมือก ที่มีการเจือปนของอึที่มีเชื้อไวรัสโคโรนา
การดูแลรักษา
ข่าวร้ายนะครับถ้าน้องหมาน้องแมวติดเชื้อไวรัสโคโรนา ยังไม่มีวัคซีนที่รักษาได้โดยตรง เช่นเดียวกับไวรัสโคโรนาในมนุษย์ ต้องรักษาไปแต่ละอาการ เช่นท้องเสีย, รักษาระบบทางเดินหายใจ ถ้ามีอาการรุนแรงก็ต้องให้น้ำเกลือ และยาเข้าใต้ผิวหนัง โคโรนาไวรัสเป็นเชื้อโรคที่ร้ายแรงต่อชีวิตน้องหมาน้องแมว ทางที่ดีควรให้น้องหมาน้องแมวอยู่ในพื้นที่ปิด สะอาด ควรเลี้ยงไว้ภายในบ้าน หมั่นพาน้องแมวน้องหมาไปฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน อย่าให้ขาด
ให้น้องหมาน้องแมวได้ออกกำลังกายบ้างก็ดี แล้วอย่าให้พวกเขาเครียดนัก เพราะถ้าเป็นแล้วโอกาสที่เราจะสูญเสียเข้าไปค่อนข้างสูง เพราะไวรัสโคโรนาจะเป็นจุดเริ่มต้นที่พาน้องหมาน้องแมวไปสู่อาการต่อเนื่องที่รุนแรงขึ้น ในหมานั้นอาจจะมีอาการลุกลามไปสู่ภาวะลำไส้อักเสบ ส่วนน้องแมวนั้นจะลุกลามไปสู่โรค คือโรคช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว feline infectious peritonitis (FIP) คนละตัวกับ เอดส์แมวนะครับ อันนั้น FIV (Feline Immunodeficiency Virus)
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Advanced ASP.net 4.0 (คอร์สขั้นสูง)
หลักสูตร Advanced ASP.net 4.0 เป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับผู้เรียนที่เคยเขียนโปรแกรมด้วย ASP.net ด้วย VB.net และ C# มาบ้างแล้ว และต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เว็บได้มา...
การจัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft Excel และ Access
ในหลักสูตรนี้จะแนะนำพื้นฐานการสร้างฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Acess 2010 โดยเริ่มจากการใช้ Template ที่มากับตัวโปรแกรม เนื้อหาในหลักสูตรครอบคลุมโครงสร้างและการปรับแต่งฐา...
Basic Responsive Web Design
หลักสูตร สำหรับผู้ที่จะเรียนรู้หลักการออกแบบบนหน้าจอขนาดต่าง ๆ และนำไปประยุกต์สร้างเว็บด้วยแนวคิดและหลักการของ Responsive Web Design ที่ช่วยตอบสนองการแสดงผลเว็บไซต์ได้ดี แ...
Oracle Database 11g for Administration (5 days)
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่สำคัญสำหรับผู้เริ่มต้นการเป็นผู้เชี่ยวชาญในฐานข้อมูล Oracle โดยจะปูพื้นฐานเรื่องการจัดการกับฐานข้อมูล การติดตั้ง และการดูแลบำรุงรักษาในระบบฐานข้อ...
Developing Web Applications with Microsoft Visual Studio 2010
In this course, students will learn to develop advanced ASP.NET MVC and Web Forms applications using .NET Framework 4 tools and technologies. ASP.NET MVC will be introduce...
คำค้นหา : ไวรัสโคโรนาทาสหมาทาสแมวavian coronavirusporcine coronavirusbovine coronavirusequine coronaviruscanine coronavirusfeline coronavirusไวรัสกลายพันธุ์อาเจียนเซื่องซึมเบื่ออาหารตาแฉะน้ำมูกไหลคลื่นไส้น้ำหนักลด