หัวเว่ย เผยนวัตกรรมใหม่ที่จะปฏิวัติวงการ AI 5G และประสบการณ์ผู้ใช้งาน
หัวเว่ย ประกาศผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่โดดเด่นในงานประกาศผลรางวัลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Top Ten Inventions Awards) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกสองปี ภายในงานประชุมด้านการส่งเสริมนวัตกรรมที่มากับหัวข้อ “การขยายขอบเขตนวัตกรรมกรรมประจำปี พ.ศ. 2565” (Broadening the Innovation Landscape 2022) ณ สำนักงานใหญ่หัวเว่ยในเมืองเซินเจิ้น
รางวัลดังกล่าวมอบให้กับผลงานที่อาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมไปถึงผลงานที่ช่วยต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน และผลงานที่จะสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับบริษัทและอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบโลกขณะที่สถานการณ์โรคระบาดยังคงดำเนินไป ยังนำมาซึ่งโอกาสของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะนวัตกรรมดิจิทัล ความนิยมของเทคโนโลยี อาทิ AI, blockchain, cloud computing, big data, IoT และ metaverse กำลังเปลี่ยนวิถีการทำงาน การใช้ชีวิต และความบันเทิงของทุกคน
รายงานจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ระบุว่ามูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (intangible asset) ในปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 65.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 54% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั่วโลก ขณะเดียวกัน ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา WIPO ได้รับคำขอรับสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% แสดงให้เห็นว่าหลายๆ ประเทศมีการลงทุนด้านนวัตกรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กันมากขึ้น ทั้งยังมีความตระหนักในการใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องนวัตกรรมมากขึ้นด้วย
“องค์กรธุรกิจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อนวัตกรรม และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้มีความจำเป็นอย่างมากที่องค์กรธุรกิจจะต้องมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมและการดำเนินงานที่เป็นสากล” นายหลิว ฮวอ ผู้อำนวยการสำนักงานประจำประเทศจีนขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก กล่าว สำหรับบนเวทีโลกแล้ว ผลงานของหัวเว่ยนับว่าน่าประทับใจเป็นพิเศษ โดยในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยยังคงครองอันดับหนึ่งในด้านจำนวนการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน ด้วยจำนวนคำขอรับตามระบบ PCT รวมทั้งสิ้น 6,952 คำขอ โดยเป็นการยื่นเรื่องในปี พ.ศ. 2563 มากกว่า 1,500 คำขอ ไม่เพียงเท่านี้ จากการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามพิธีสารมาดริดจำนวน 98 คำขอ ส่งผลให้หัวเว่ยขึ้นแท่นอันดับ 4 ด้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ และติดอันดับท็อป 5 ของโลกอีกครั้ง
ความสำเร็จเหล่านี้เป็นผลโดยตรงจากการลงทุนอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ยในด้านนวัตกรรม และนวัตกรรมยังเป็นหัวใจหลักในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจของหัวเว่ย
“แม้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจตลอด 3 ปีที่ผ่านมาจะมีความท้าทายสูง แต่ยิ่งสถานการณ์ยิ่งยากลำบาก เรายิ่งมุ่งมั่นที่จะลงทุนเพื่ออนาคต” นายซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย กล่าว “ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เพิ่มการลงทุนด้าน R&D เป็น 1.427 แสนล้านหยวน ซึ่งคิดเป็น 22.4% ของรายได้ทั้งหมดของเรา ทั้งนี้ การลงทุนด้าน R&D และสัดส่วนรายได้ที่เราใช้จ่ายไปกับ R&D ยังมีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปี และส่งผลให้หัวเว่ยเป็นนักลงทุนด้าน R&D ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกจากการสำรวจของ EU Industrial R&D Investment Scoreboard ประจำปี พ.ศ. 2564 ไม่เพียงเท่านี้ ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เม็ดเงินลงทุนในงานวิจัยพื้นฐานของเรายังมากกว่า 20,000 ล้านหยวนต่อปี”
นายซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย
นายหลิว ฮัว ยังกล่าวแสดงความชื่นชมหัวเว่ยในระหว่างการเสวนาว่า WIPO ประทับใจในความทุ่มเทของหัวเว่ยในด้านนวัตกรรม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าแข่งขันในตลาดโลกในระดับสูง โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
หัวเว่ย ให้ความสำคัญกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญามาโดยตลอด โดยหัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 และได้รับสิทธิบัตรชิ้นแรกในปี พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรจากทั่วโลกไปแล้วทั้งสิ้น 200,000 คำขอ และได้รับสิทธิบัตรมาครองแล้วมากกว่า 110,000 ชิ้น ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตรภายใต้ระบบ PCT กว่า 60,00 ชิ้น หลายคนอาจมองว่านี่เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก โดยหัวเว่ยเป็นต้นแบบที่พิเศษอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศจีน และจริงๆ แล้วก็มีเหตุผลรองรับในเรื่องนี้เช่นกัน
นายซ่ง อธิบายว่าหัวเว่ยให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาคือกุญแจสำคัญในการปกป้องนวัตกรรมของเรา หัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรมากกว่า 10,000 ชิ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์สำหรับเราเช่นกัน เราได้เผยแพร่นวัตกรรมของเราให้กับอุตสาหกรรมโดยผ่านทางสิทธิบัตร เราต้องการที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตรและเทคโนโลยีของเราเพื่อที่จะได้แบ่งปันนวัตกรรมของเรากับทั่วโลก นี่คือวิธีการที่จะช่วยขยายขอบเขตให้กับนวัตกรรม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า และส่งมอบเทคโนโลยีให้กับทุกคน”
ด้านนายอลัน ฟ่าน ประธานฝ่ายสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย ได้เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดของหัวเว่ยในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
นับเป็นเวลา 5 ปีติดต่อกันแล้วที่หัวเว่ยขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลกในด้านจำนวนคำขอรับสิทธิบัตรในระบบ PCT และในปีที่ผ่านมามีจำนวนเกือบ 7,000 คำขอ นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของการยื่นคำขอโดยผู้ยื่นรายเดียว ทั้งนี้ ระบบ PCT เปิดให้หัวเว่ยสามารถยื่นคำขอสิทธิบัตรระดับชาติภายใน 30 เดือน และใช้เวลาช่วงนี้เพื่อวางแผนสำหรับการยื่นคำขอสิทธิบัตรในระดับนานาชาติต่อไป
จำนวนการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของหัวเว่ยในประเทศจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนรวมมากกว่า 10,000 ชิ้น ในปี พ.ศ. 2563 และเกือบถึง 12,000 ชิ้นในปี พ.ศ. 2564 ปัจจุบันยังไม่มีบริษัทใดในประเทศจีนที่ได้รับสิทธิบัตรมากกว่าหัวเว่ย
นายอลัน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้หัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาประมาณ 4 พันคำขอต่อปี โดยเฉลี่ยมีประมาณ 3,000 คำขอที่ได้รับการอนุมัติ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยยังรั้งอันดับ 5 ของบริษัทที่ได้รับสิทธิบัตรใหม่มากที่สุด ส่งผลให้หัวเว่ยมีสิทธิบัตรรวมทั้งสิ้น 20,000 ชิ้นในสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรประบุว่า หัวเว่ยเป็นผู้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรรายใหญ่ที่สุดในยุโรปในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2564 ยุโรปยังเป็นหนึ่งในตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของหัวเว่ย ปัจจุบัน หัวเว่ยมีศูนย์วิจัย 20 แห่งในยุโรป ซึ่งรวมถึงในเยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สวีเดน เบลเยียม โปแลนด์ เป็นต้น ซึ่งการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรโดยศูนย์วิจัยของหัวเว่ยในยุโรปจึงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี
ระบบสิทธิทางปัญญารูปแบบใหม่ควรผูกกับนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ในรูปแบบที่สังคมต้องการและยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ระบบสิทธิทางปัญญาจึงควรที่จะรับรองได้ว่าสิ่งเหล่านี้คือการสร้างสรรค์ที่สมควรได้รับการคุ้มครองเพราะเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าได้อย่างแท้จริง
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Inventor Basic
หลักสูตรนี้จะสอนกี่ยวการใช้โปรแกรม Autodesk Inventor เบื้องต้น ซึ่งจะเน้นการใช้โปรแกรมในภาคปฏิบัติ ในการสร้างชิ้นงาน 3มิติ (Part Model), การประกอบชิ้นงาน (Assembly), การนำ...
หลักสูตรการใช้คำสั่ง SQL เบื้องต้น และนำเสนอข้อมูลด้วย SSRS (Microsoft Report Service Server)
SQL Server Reporting Services (SSRS) เป็น Technology หนึ่งของ Microsoft SQL Server Services ที่ใช้ในการสร้างและบริหารจัดการรายงาน เริ่มมีใน SQL Server 2005 และในปัจจุบันเป...
Basic Angular พื้นฐาน
Angular เป็นหนึ่งใน front end framework ที่กำลังมาแรงและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงตัวหนึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google เพื่อนำมาประยุกต์สร้างโปรเจ็กต์ในรูปแบบ Single Page Appli...
HTML5 and CSS3 with Bootstrap Framework
หลักสูตร Understand Bootstrap Framework จะอธิบายเนื้อหาในเว็บไซต์ https://getbootstrap.com/ โดยจะอธิบายเนื้อหาของทุกเมนูเริ่มต้น ซึ่งประกอบด้วย Getting Started, CSS, Compo...
Laravel 4 framework
คอร์ส Laravel แบบเจาะลึก จะเจาะลึกการใช้งาน Laravel PHP Framework ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ จากการสำรวจในปี 2013 Laravel เป็น PHP framework ที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยเหล่านัก...
คำค้นหา : หัวเว่ย5gนวัตกรรมดิจิทัลaiblockchaincloud computingbig dataiotmetaversewipoระบบ pctทรัพย์สินทางปัญญา