เดลล์เปิดตัว Concept Luna พร้อมก้าวข้ามขีดจำกัดสู่การออกแบบพีซีอย่างยั่งยืน
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า? .. นี่คือคำถามยอดนิยมที่กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของทุกการตัดสินใจในการออกแบบที่เราใช้ที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ และนี่ยังเป็นวิธีที่เราใช้ในการผลักดันตัวเราเองให้ไม่เพียงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นอย่างเยี่ยมยอด
แต่ยังช่วยให้เราพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถจัดการกับความท้าทายทางสังคมต่างๆ ที่ซับซ้อนได้ จากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับวิกฤตของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนถึงปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) และข้อจำกัดในด้านทรัพยากรต่างๆ
สิ่งที่ผลักดันการทำงานของเราก็คือคำถามที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า” เราสามารถผลักดันรูปแบบการนำผลิตภัณฑ์มาใช้ใหม่ (reuse) จนถึงขีดจำกัดแล้วสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon footprint) ของผลิตภัณฑ์ของเราลงได้อย่างมหาศาล?”
นี่คือคำมั่นสัญญาที่เราทำเพื่อส่งมอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษและครอบคลุมเกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งหมดภายในองค์กรของเรา และนี่คือเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างสูงของเราในการกระตุ้นการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ตลอดจนการบรรลุถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emissions) ที่ไม่มีภารกิจใดที่จะมีความสำคัญมากไปกว่านี้
การออกแบบผลิตภัณฑ์มีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายทั้งสองดังกล่าว แนวทางปฏิบัติด้านการออกแบบหมุนเวียน (circular design) ในปัจจุบันของเรายังคงขับเคลื่อนความเป็นผู้นำให้กับสายผลิตภัณฑ์ของเราในการเดินหน้าเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าว ในปีที่แล้วเพียงปีเดียว เราได้แนะนำการใช้ closed-loop aluminum จากฮาร์ดไดรฟ์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
รวมถึงไบโอพลาสติกที่ทำมาจากเศษไม้ในกระบวนการผลิตกระดาษ และขยายขนาดการใช้งานคาร์บอนไฟเบอร์ที่เรียกคืนขึ้นสูงกว่า 1.2 ล้านปอนด์ หากแต่เรายังต้องการค้นหากุญแจดอกใหม่ในการเปิดประตูใหม่ๆ เพื่อให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ในปีที่แล้ว เราเผยวิสัยทัศน์กระแสการทำนวัตกรรมแบบคู่ขนานเพื่อเร่งกระบวนการการออกแบบหมุนเวียน และในวันนี้ เราพร้อมที่จะเผยต้นแบบ (prototype) แรกของความพยายามทั้งหมดนี้แล้วภายใต้ชื่อเรียก Concept Luna
การทดสอบความเป็นไปได้ของแนวคิด (proof-of-concept) นี้ ได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือกับอินเทล ตัว Concept Luna มุ่งเน้นที่จะสำรวจการปฏิวัติแนวคิดการออกแบบต่างๆ ที่จะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงได้ สลับสับเปลี่ยนได้ และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อสามารถลดทรัพยากรใช้งานและรักษาวัสดุหมุนเวียนในระบบให้ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดสอบว่าสิ่งใดเป็นไปได้ หรือสิ่งใดไม่สามารถผลิตหรือจำหน่ายได้ แต่ถ้าหากแนวคิดการออกแบบใน Concept Luna สามารถเป็นไปได้จริง เราอาจสามารถมองเห็นการลดลงของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยรวมทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ลดลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราตื่นเต้นกันกับ Concept Luna:
การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์: เรามองไปยังหนทางใหม่ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเพื่อให้พลังและการระบายความร้อนที่ดียิ่งกว่า และเราได้ทดลองกับวัสดุที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อยกว่าเพื่อสามารถนำส่งอุปกรณ์ที่ปลอดคาร์บอนมากกว่าเดิม
แผงวงจรหลัก (motherboards) อาจเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนที่ใช้พลังงานสูงสุดในการผลิต ด้วยการลดขนาดพื้นที่โดยรวมลงประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ (ปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่า 5,580 mm2) และชิ้นส่วนประกอบประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เราประเมินว่าปริมาณของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแผงวงจรอาจสามารถลดลงได้ถึง 50% เปอร์เซ็นต์
เราได้พิจารณาการวางเลย์เอาต์ของส่วนประกอบภายในใหม่ทั้งหมด การย้ายแผงวงจรหลักขนาดเล็กกว่าไปยังที่ปิดด้านบนทำให้เข้าใกล้กับพื้นที่พื้นผิวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเปิดรับอากาศที่เย็นกว่าจากภายนอก และเมื่อรวมกับการแยกแผงวงจรออกจากหน่วยชาร์จแบตเตอรี่ในฐาน ทำให้นำไปสู่การกระจายความร้อนแบบ passive heat ที่ดีขึ้น และยังช่วยขจัดความจำเป็นในการใช้พัดลมโดยสิ้นเชิงได้อีกด้วย
ประสิทธิภาพเหล่านี้สามารถลดความต้องการพลังงานโดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญ เปิดทางให้กับการมีแบตเตอรี่ขนาดเล็กลงที่มาพร้อมกับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ (deep-cycle cells) ขั้นสูงทรงพลังเพียงพอสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน
แชสซีอะลูมิเนียมที่พัฒนาด้วยการใช้พลังน้ำและโครงสร้างการปั๊มอะลูมิเนียมเพื่อขึ้นรูปจะใช้พลังงานที่น้อยลงและเหลือเศษเหล็กจากการผลิตน้อยที่สุด
วิสัยทัศน์ในอนาคตของการนำมาใช้ซ้ำ การซ่อมแซม และการสร้างใหม่: จุดยืนของเราเรียบง่าย เราต้องการที่จะย้ายจากการใช้แล้วรีไซเคิล ไปสู่การใช้แล้วนำมาใช้ใหม่ได้อีกหลายครั้งแล้วค่อยไปสู่การรีไซเคิลเมื่อวัสดุไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปในรูปลักษณ์เดิม ทั้งนี้ การทำซ้ำของ Concept Luna สามารถทำในสิ่งเหล่านี้ได้ มันคือวิสัยทัศน์ที่แสดงให้เห็นว่าอะไรที่สามารถเป็นไปได้บ้าง
ทั้งนี้ Concept Luna คือตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นรูปแบบในการสำรวจเส้นทางใหม่ๆ ของเราเพื่อเร่งความก้าวหน้าให้เป็นไปตามเป้าหมายของเรา การพิสูจน์ว่าอะไรที่สามารถเป็นไปได้เป็นเพียงแค่ก้าวแรกของการทำงาน ในขั้นตอนถัดไปคือนำแนวคิดการออกแบบที่ยั่งยืนที่เป็นนวัตกรรมเหล่านี้มาประเมินว่าสิ่งไหนมีศักยภาพสูงสุดในการขยายสายผลิตภัณฑ์ของเรา
โดยคอนเซ็ปต์นี้และการทำซ้ำในอนาคต ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่จะตามมา คือวิธีที่เราจะสร้างความเป็นผู้นำเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เห็นกันอยู่ในสายผลิตภัณฑ์ของเราในวันนี้ เพื่อตรวจสอบใหม่อีกครั้ง และเพื่อพิจารณาทุกขั้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (product lifecycle) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Basic PHP and MySQL (คอร์สอบรม php พื้นฐาน)
สอนการออกแบบเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML และ CSS สำหรับผู้เริ่มต้น ที่ยังไม่มีความรู้มาก่อนเลย สามารถเริ่มต้นเรียนรู้ได้จากคอร์สนี้ ในส่วนของเว็บโปรแกรมมิ่งจะสอนพื้นฐานภาษา PHP แ...
คำค้นหา : วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์