เผยจำนวนองค์กรที่ปฏิรูปสู่การเป็น ‘องค์กรอัจฉริยะ’ และอัตราการลงทุนด้าน IoT ที่เติบโตขึ้น

เผยจำนวนองค์กรที่ปฏิรูปสู่การเป็น ‘องค์กรอัจฉริยะ’ และอัตราการลงทุนด้าน IoT ที่เติบโตขึ้น

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

เผยจำนวนองค์กรที่ปฏิรูปสู่การเป็น ‘องค์กรอัจฉริยะ’ และอัตราการลงทุนด้าน IoT ที่เติบโตขึ้น
ซีบรา เทคโนโลยีส์ (สัญลักษณ์หุ้นในตลาด NASDAQ: ZBRA) ผู้นำด้านนวัตกรรมผ่านโซลูชั่นที่ทันสมัยและเครือข่ายคู่ค้าที่ครอบคลุมเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้องค์กรยุคใหม่ เผยผลสำรวจที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เกี่ยวกับ “ดัชนีองค์กรอัจฉริยะ” (Intelligent Enterprise Index) พบว่า 61% ขององค์กรทั่วโลกกำลังปรับตัวเข้าสู่  “องค์กรอัจฉริยะ” เมื่อเทียบกับปีก่อนเพียง 49%

การสำรวจทั่วโลกดังกล่าววิเคราะห์ถึงขอบเขตการทำงานขององค์กรที่สามารถเชื่อมต่อการทำงานลักษณะออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านเทคโนโลยีที่ให้ผลการทำงานแบบเรียลไทม์, การนำเอาข้อมูลมาประยุกต์ใช้ และการทำงานร่วมกันแม้อยู่ต่างสถานที่ ซึ่งองค์กรเหล่านี้ถูกวัดความเป็นองค์กรอัจฉริยะโดยคำนวณจากเกณฑ์บรรทัดฐาน 11 ข้อประกอบด้วย วิสัยทัศน์ด้านอินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง หรือ IoT, การประยุกต์ใช้, การจัดการข้อมูล, การวิเคราะห์ฐานข้อมูลอัจฉริยะ และอื่น ๆ

จากบรรทัดฐานข้างต้นและความมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า องค์กรธุรกิจค้าปลีกมีการพัฒนาอย่างมากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา  โดยได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นจากอันดับสุดท้ายของดันชีปีที่แล้วสู่อันดับต้น ๆ ของปีนี้ ซึ่งเป็นรองเพียงกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพเท่านั้น

จำนวนองค์กรที่เรียกได้ว่าเป็น “องค์กรอัจฉริยะ” อย่างแท้จริง ต้องได้รับคะแนน 75 คะแนน หรือสูงกว่าคะแนนในดัชนีที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในปีนี้ 17% ขององค์กรที่มีพนักงานอย่างน้อย 250 คน ผ่านเกณฑ์บรรทัดฐาน ซึ่งเทียบกับปีที่แล้วที่มีเพียง 11% นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่า 37% ของธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือ SMB ที่มีพนักงาน 50-249 คน ได้รับคะแนน 75 คะแนน หรือมากกว่าดัชนี ตัวเลขดัชนีชี้ให้เห็นว่าธุรกิจSMB ที่ใช้เทคโนโลยี IoT มีความเป็น “องค์กรอัจฉริยะ” มากกว่าองค์กรขนาดใหญ่

คุณดริว เอเลอร์ส, ฝ่ายนักอนาคตศาสตร์ระดับโลก, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “เมื่อสามปีที่แล้วที่ซีบราเผยดัชนีองค์กรอัจฉริยะ พบว่าองค์กรจำนวนมากพยายามทำความเข้าใจถึงการประยุกต์ใช้โซลูชั่น IoT อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โครงสร้างการทำงานของธุรกิจของพวกเขา ซึ่งปัจจุบันเราเห็นการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในการพัฒนาระบบการมองเห็นการดำเนินการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานในองค์กรอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น เราเชื่อว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำไมองค์กรต่าง ๆ จึงเดินหน้าดำเนินการตามแผนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เราจะเห็นการลงทุนเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”

คุณศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “การปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยี IoT และอุปกรณ์เคลื่อนที่มาใช้ระบบปฏิบัติการ สามารถช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างการดำเนินงานร่วมกันได้มากขึ้น ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อดังกล่าวช่วยให้องค์กรสามารถสร้างข้อมูลด้านกระบวนการและทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน  พัฒนาประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ทางธุรกิจ ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะล้ำสมัย ซึ่งรวมการเชื่อมต่อ IoT ของอุปกรณ์ปลายทาง, การจัดการการกำหนดค่า, การขนส่งข้อมูล, การจัดเก็บข้อมูล, การวิเคราะห์และการเรียนรู้ของเครื่องให้อยู่ในแพลตฟอร์มเดียว Savanna จากซีบราจะเปลี่ยนข้อมูลดิบให้เป็นข้อมูลเชิงลึกสำหรับธุรกิจ เพื่อยกระดับการให้บริการ การผลิต รวมถึงการทำกำไร"

ผลสำรวจโดยสังเขป

     - ความเร็วของการปรับใช้ IoT ที่กำลังเพิ่มขึ้น นำไปสู่เทคโนโลยีที่มีความอัจฉริยะมากขึ้น คะแนนดัชนีองค์กรอัจฉริยะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อหลายองค์กรเริ่มก้าวเข้าสู่ขั้นตอนการใช้งาน โดยมีคะแนนในปีนี้อยู่ที่ 5 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 6 คะแนน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ “เทคโนโลยีอัจฉริยะ” ขององค์กรค้าปลีกและการขนส่งและโลจิสติกส์ และยังได้คะแนนเพิ่มขึ้น 9 คะแนนจากปี 2560 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการจัดทำดัชนี นอกจากนี้ 74% ขององค์กรในเอเชียแปซิฟิกมีวิสัยทัศน์สำหรับ IOT และแผนดำเนินการที่ตรียมไว้แล้ว โดย 55% ได้ดำเนินการไปแล้ว ส่วนอีก 43% กำลังวางแผนที่จะดำเนินการในอีก 1-3 ปีข้างหน้า
    - ​การเติบโตอย่างต่อเนื่องของโซลูชั่น IoT และการลงทุนในแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอื่น ๆ ในปีนี้ค่าใช้จ่ายขององค์กรทั่วโลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ล้านดอลลาร์ซึ่งเพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบเป็นรายปี 86% ของผู้องค์กรต่าง ๆ คาดการณ์ว่าจำนวค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้จะเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า โดยผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งคาดว่าจะเพิ่มการลงทุน 21%-50%  อีกทั้งองค์กรในเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 92% คาดว่าการลงทุนใน IoT และอุปกรณ์เคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า
    - ​องค์กรมีการติดตั้งระบบ Intelligence-Driven Solution อย่างแพร่หลายมากขึ้น 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังศึกษาการใช้งานโซลูชั่น IoT ที่ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 38% และอีก 32% คาดว่าในเร็ว ๆ นี้จะมีการปรับใช้โซลูชั่นดังกล่าวในระดับภูมิภาค
    - ​เนื่องจากความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก องค์กรต่าง ๆ จึงลงทุนกับระบบการตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 62% ของผู้องค์กรกำลังตรวจสอบความปลอดภัยของเทคโนโลยี IoT อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ระบบมีความสมบูรณ์และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นส่วนตัว ซึ่งมีอัตราการเติบโตปีต่อปีอยู่ที่ 4% และเพิ่มขึ้น 13% จากปี 2560 ซึ่งในเวลานั้นมีเพียง 49% ขององค์กรเท่านั้นที่มีโปรโตคอลตรวจสอบความปลอดภัย และเพียง 47% ขององค์กรที่มีการตรวจสอบระบบความปลอดภัยเป็นระยะ องค์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 70% ตรวจสอบระบบความปลอดภัยของการใช้เทคโนโลยี IoT อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าระบบทำงานอย่างสมบูรณ์และการตรวจสอบอย่างแน่นหนาในการอนุญาตเข้าถึงข้อมูลเฉพาะขององค์กร
    - ​หลายองค์กรหันมาใช้บริการพาร์เนอร์เพียงหน่วยงานเดียวในการจัดการโซลูชั่นอัจฉริยะแบบครบวงจร จากรายงาน พบว่า ประมาณ 49% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าพวกเขาทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพียงหน่วยงานเดียวในการจัดการโซลูชันอัจฉริยะทั้งหมดของพวกเขา รวมถึงส่วนประกอบและบริการที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทบุคคลที่สาม
   - ​ผลสำรวจพบว่าธุรกิจ SMB ได้รับคะแนนในดัชนีสูงกว่าองค์กรขนาดใหญ่ (5 คะแนน ต่อ 61.5 คะแนน) โดยคะแนนที่สูงกว่าได้อ้างอิงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ค้นพบ อาทิ ผู้ตอบแบบสอบถามธุรกิจ SMB ระบุว่าองค์กรของพวกเขามีแนวโน้มที่จะมีวิสัยทัศน์เดินหน้าดำเนินการตามแผนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT (69 เปอร์เซ็นต์เทียบกับ 62 เปอร์เซ็นต์)

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Savanna

     - Savanna เป็นส่วนประกอบของจุดปลายการเชื่อมเทคโนโลยี IoT, การบริหารจัดการกระบวนการ, การขนส่งข้อมูล, พื้นที่จัดเก็บข้อมูล, วิเคราะห์ และเป็นองค์ประกอบระบบการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
     - เพื่อยกระดับการเชื่อมต่อและความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ Savanna ช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในขณะปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์สามารถให้ข้อมูลแก่พนักงานอย่างถูกต้องแม่นย้ำ อีกทั้งช่วยให้พนักงานสามารถตัดสินใจดำเนินงานได้อย่างชาญฉลาดที่สุด
     - ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มข้อมูลแบบเปิดที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานของแอพพลิเคชั่นระดับองค์กร Savanna จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของ Zebra® Data-Driven Solutions รวมทั้งแอพพลิเคชั่นและโซลูชั่นอื่น ๆ จากกลุ่มพาร์ทเนอร์ของซีบรา

ความเป็นมาและขั้นตอนการสำรวจ

     - การสำรวจจัดทำขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม – 18 กันยายน 2562 โดยสำรวจองค์กรในกลุ่มธุรกิจ สุขภาพ, อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมค้าปลีก และอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
     - สัมภาษณ์ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 950 คน จาก 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, แม็กซิโก, บราซิล, จีน, อินเดีย, และญี่ปุ่น โดยแต่ละองค์กรมีพนักงานอย่างน้อย 250 คน และมีรายได้ปีละ 5 ล้านดอลลาร์ และข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากธุรกิจ SMB มุ่งเน้นไปที่บริษัทที่มีพนักงานระหว่าง 50-249 คน
     - การสำรวจถูกจัดทำขึ้นภายใต้ 11 หัวข้ออันได้แก่ วิสัยทัศน์ต่อ IoT (IoT Vision), การมีส่วนร่วมทางธุรกิจ (Business Engagement), คู่ค้าด้านโซลูชั่นของเทคโนโลยี (Technology Solution Partner), แผนการนำมาประยุกต์ใช้ (Adoption Plan), แผนการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Plan), การใช้แอพลิเคชั่นหน้างาน(Point of use Application), ความปลอดภัยและมาตรฐาน(Security & Standards), แผนงานระยะยาว(Lifetime Plan), การใช้เทคโนโลยีสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Architecture/Infrastructure), แผนข้อมูล (Data plan) และการวิเคราะห์ฐานข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent Analysis)
     - บรรทัดฐานของการสำรวจถูกกำหนดโดยผู้บริหาร, ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจต่าง ๆ และผู้กำหนดนโยบายโดยรวม ภายใต้การสัมมนาในหัวข้อ Strategic Innovation Symposium – The Intelligent Enterprise ซึ่ง ซีบรา ร่วมกับ Technology and Entrepreneurship Center แห่ง Harvard technology จัดทำขึ้น
     - ขอบเขตของคำว่า “องค์กรอัจฉริยะ” นั้น มาจากการใช้เทคโนโลยีโซลูชั่นที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบคลาวด์ (Cloud computing), ความสามารถในการสื่อสารแบบเคลื่อนที่, และอินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง (IoT) สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆขององค์กร เพื่อ”ตระหนักถึง” ทรัพยากรข้อมูลขององค์กร การนำเอาข้อมูลอาทิ สถานะองค์กร, ทำเลที่ตั้ง, การใช้ประโยชน์จากข้อมูล หรือ การจัดลำดับข้อมูลต่างๆ แล้วนำมา “วิเคราะห์” เพื่อกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกมาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่ง ”มีผล”ต่อการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้ามากขึ้น และ ตัดสินใจได้เหมาะสมมากขึ้น

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย เอ็นโอไอ ไอทีจีเนียส
เข้าชม 2,928 ครั้ง

คำค้นหา : องค์กรอัจฉริยะการลงทุนด้าน iotซีบรา เทคโนโลยีส์การทำงานแบบเรียลไทม์การจัดการข้อมูลธุรกิจsmbเทคโนโลยี iotการขนส่งข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลโซลูชั่น iotการลงทุนใน iotบริการพาร์เนอร์machine learningโลจิสติกส์อุตสาหกรรมการผลิตอุตสาหกรรมค้าปลีกchange management plan