เรียงช่องทีวีใหม่ตรงกันทุกกล่อง

เรียงช่องทีวีใหม่ตรงกันทุกกล่อง

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

ทำซะที!เรียงช่องทีวีใหม่ตรงกันทุกกล่อง 
ทำซะที!เรียงช่องทีวีใหม่ตรงกันทุกกล่อง เมื่อร่างดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่จาก กสทช. ต้องเรียงลำดับช่องใหม่เช่นเดียวกับกล่องดิจิตอล  

นับจากนี้ ไม่ถึง 2 เดือน โทรทัศน์ในประเทศไทยจะจัดลำดับช่องเป็นเลขหมายเดียวกัน ตาม (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์พ.ศ. ... ที่ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เห็นชอบให้นำไปประกาศลงราชกิจจานุเบกษา

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เปิดเผยว่า เมื่อร่างดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่จาก กสทช. ต้องเรียงลำดับช่องใหม่เช่นเดียวกับกล่องดิจิตอล

โดยให้จัดวางหมายเลข 1-36 ช่องทีวีดิจิตอล เรียงลำดับหมายเลข 1-12 เป็นประเภทสาธารณะ ลำดับหมายเลข 13-36 เป็นช่องบริการธุรกิจ จากนั้นผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี สามารถนำช่องรายการใดมาเสนอก็ได้

ทั้งนี้ การจัดลำดับช่องโทรทัศน์ให้เป็นหมายเลขเดียวกันทุกระบบนั้น เพื่อให้ประชาชนที่รับชมทีวีไม่เกิดความสับสนในหมายเลขช่อง รวมถึงยังส่งผลให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลสามารถประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้ในหมายเลขเดียว เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนต่อผู้ชม จากเดิมที่ผ่านมาการจัดลำดับเดิมนั้น ได้กำหนดให้กล่องทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีสามารถจัดลำดับหมายเลข 1-10 ได้ตามความต้องการ จากนั้นจึงตามมาด้วยช่องทีวีดิจิตอล

ด้าน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า การเรียงช่องฟรีทีวีให้ตรงกันทุกกล่องนั้นจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในการใช้งาน ในขณะเดียวกันยังจะส่งผลดีต่อการแข่งขันกันที่คุณภาพเนื้อหาในอุตสาห กรรมทีวี

อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศเรียงช่องที่กำหนดให้ต้องจัดเรียงลำดับเลขหมายให้ตรงกันทุกกล่องนั้น เคยได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ) มาแล้ว แต่ถูกกลุ่มทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีคัดค้าน ต้องชะงักไประยะหนึ่ง

ทว่าต่อมา กสทช.ได้ถูกกลุ่มทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินจำนวน 5 ช่อง ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ กสทช.ชดเชยค่าเสียหาย โดยได้มีประเด็นเกี่ยวกับการเรียงช่องให้ตรงกันทุกแพลทฟอร์มเพื่อให้ได้หมายเลขช่องตามที่ได้เคาะประมูลมา ทำให้ทั้ง กสท. และ กสทช. ได้กลับมาทบทวนการพิจารณาเห็นชอบให้นำร่างดังกล่าวไปประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากได้ยืนยันต่อศาล เมื่อวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา ในเรื่องการจัดเรียงช่องให้ตรงกันทุกแพลทฟอร์ม อย่างไรก็ตาม อำนาจการเลือกรับชมช่องรายการอยู่ในมือผู้บริโภค หากผู้ประกอบการต้องการให้ช่องเป็นที่ครองใจ คอนเทนต์มีส่วนสำคัญ ส่วนการเรียงช่องให้ตรงกันทุกกล่องจะช่วยทำให้ผู้บริโภคไม่เกิดความสับสนเช่นกัน.

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,901 ครั้ง

คำค้นหา : โทรทัศน์ในประเทศไทยจะจัดลำดับช่องเป็นเลขหมายเดียวกันหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์โดยให้จัดวางหมายเลข 1-36 ช่องทีวีดิจิตอล เรียงลำดับหมายเลข 1-12 เป็นประเภทสาธารณะ ลำดับหมายเลข 13-36 เป็นช่องบริการธุรกิจ จากนั้นผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี สามารถนำช่องรายการใดมาเสนอก็ได้ เพื่อให้ประชาชนที่รับชมทีวีไม่เกิดความสับสนในหมายเลขช่อง