แคสเปอร์สกี้ระบุภัยคุกคามเว็บในประเทศไทยลดลง 16.42% แต่มัลแวร์ใหม่รายวันทั่วโลกเพิ่มขึ้น
แคสเปอร์สกี้ประกาศรายงานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ล่าสุดสำหรับประเทศไทยประจำปี 2021 ซึ่งเป็นข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับการโจมตีทางเว็บ ภัยคุกคามทั่วไป และแหล่งที่มาของภัยคุกคาม รายงานล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ในประเทศได้บล็อกภัยคุกคามทางเว็บต่างๆ กว่า 17.2 ล้านรายการที่กำหนดเป้าหมายไปยังผู้ใช้ภายในประเทศ
ในปี 2021 ผลิตภัณฑ์ของแคสปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการคุกคามทางเว็บ 17,216,656 รายการในคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ในประเทศไทย ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้ว 16.42% ที่มีตัวเลขความพยายามโจมตีผู้ใช้ชาวไทย 20,598,223 รายการในปี 2020
ผู้ใช้ชาวไทยส่วนใหญ่ 32.70% หรือเกือบสามในสิบคน เกือบติดเชื้อจากภัยคุกคามออนไลน์ในปี 2021 ทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 95 ของโลกสำหรับอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต
การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเบราว์เซอร์และปลั๊กอิน (การดาวน์โหลด drive-by) รวมถึงวิศวกรรมสังคมต่างๆ เป็นวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้บ่อยที่สุดในการเจาะระบบ
ประเทศไทยมีสถิติที่น่าสนใจในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในปี 2017 Kaspersky Security Network (KSN) ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ทั่วโลก สามารถตรวจพบภัยคุกคามเว็บไซต์กว่า 12.6 ล้านครั้ง และตรวจพบจำนวนมากที่สุดคือ 30.2 ล้านครั้งในปี 2018 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวก็ลดจำนวนลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การตรวจจับภัยคุกคามทั่วไปก็ลดลงเช่นกัน ในปี 2021 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามโจมตีด้วยภัยคุกคามทั่วไป 33,205,557 รายการในคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วม KSN ในประเทศไทย ซึ่งน้อยกว่าปีที่แล้ว 33.53% ที่แคสเปอร์สกี้ตรวจพบ 49,952,145 รายการในปี 2020 โดยรวมแล้วผู้ใช้ในประเทศไทย 40.5% เกือบถูกโจมตีโดยภัยคุกคามทั่วไปในช่วงดังกล่าว
แม้ว่าอัตราการพยายามโจมตีโดยรวมของประเทศไทยจะลดลง แต่ในปี 2021 แคสเปอร์สกี้ก็พบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่ๆ โดยเฉลี่ยทั่วโลก 380,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งเติบโตมากขึ้น 5.7% (20,000 ไฟล์) เมื่อเทียบกับปีก่อน ภัยคุกคามส่วนใหญ่ (91%) เกิดขึ้นผ่านไฟล์ WindowsPE ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์เฉพาะสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows อย่างไรก็ตาม ในปี 2021 อาชญากรไซเบอร์เริ่มแพร่กระจายภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการ Linux อย่างแข็งขันกว่าที่เคยเป็นมา ส่งผลให้จำนวนมัลแวร์ Linux ที่ตรวจพบและซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น 57%
ทั้งนี้จำนวนการพยายามโจมตีที่ลดลงในประเทศไทยสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่าปริมาณภัยคุกคามหลายประเภทลดลงทั่วโลกในปี 2021 เมื่อเทียบกับปี 2020 ด้วยเหตุปัจจัยอื่นๆ เช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้คาดการณ์และสังเกตอาชญากรไซเบอร์ที่เปลี่ยนจากการโจมตีครั้งใหญ่ๆ ไปเป็นการโจมตีแบบแทรกซึมที่มีเป้าหมายและซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์การโจมตีองค์กรที่มีชื่อเสียงในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย
นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เราพบว่าจำนวนความพยายามในการโจมตีเว็บและภัยคุกคามทั่วไปโดยรวมในประเทศไทยลดลงในปี 2021 อย่างไรก็ตาม จำนวนที่ลดลงไม่ได้หมายความถึงความปลอดภัยเสมอไป สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าอาชญากรไซเบอร์ให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราพบการละเมิดข้อมูลระดับสูงและการโจมตีของแรนซัมแวร์ในปีที่แล้ว”
“ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะสถาบันการเงิน ได้ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อเตือนให้สาธารณชนทราบถึงกลลวงและภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่างๆ อีกทั้งยังจัดการฝึกอบรมและการศึกษาแก่ลูกค้าและพนักงานเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตนเองและธุรกิจจากการโจมตีทางไซเบอร์ แคสเปอร์สกี้รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันนี้ เพราะเราตระหนักดีว่าทรัพย์สินดิจิทัลมีค่าเท่ากับทรัพย์สินที่จับต้องได้เช่นกัน”
ตัวเลขสถิติปี 2021 ของประเทศไทยที่น่าสนใจ
ภัยคุกคามผ่านเว็บ
- ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามผ่านเว็บได้ 17,216,656 รายการ
- ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 95 ของโลก
ภัยคุกคามทั่วไป
- ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถตรวจจับและสกัดภัยคุกคามทั่วไปได้ 33,205,557 รายการ
- ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 82 ของโลก
แหล่งที่มาของภัยคุกคาม
- มีเหตุการณ์ที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยทั้งสิ้น 192,217 เหตุการณ์ คิดเป็นสัดส่วน 01% จากทั่วโลก
- ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 54 ของโลก
ข้อมูลนี้แคสเปอร์สกี้ได้รับจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ที่อนุญาตให้ส่งไปยังบริการคลาวด์ทั่วโลก Kaspersky Security Network (KSN) ผู้ใช้จำนวนหลายล้านคนจากทั่วโลกได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย
แคสเปอร์สกี้แนะนำผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการปกป้องอยู่เสมอ ดังต่อไปนี้
- อย่าดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
- อย่าคลิกลิงก์จากแหล่งที่ไม่รู้จักหรือโฆษณาออนไลน์ที่น่าสงสัย
- สร้างรหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำใคร ซึ่งรวมถึงตัวอักษรพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และเครื่องหมายวรรคตอน รวมถึงการเปิดใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย
- ติดตั้งการอัปเดตเสมอ เพราะอาจเป็นการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยที่สำคัญ
- ไม่สนใจข้อความที่ขอให้ปิดการใช้งานระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับออฟฟิศหรือซอฟต์แวร์ความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ใช้โซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพซึ่งเหมาะสมกับประเภทระบบและอุปกรณ์ เช่น Kaspersky Internet Securityและ Kaspersky Security Cloud ซึ่งจะแนะนำว่าเว็บไซต์ใดไม่ควรเปิดและสามารถปกป้องจากมัลแวร์ได้
แคสเปอร์สกี้แนะนำองค์กรเพื่อการปกป้องอยู่เสมอ ดังต่อไปนี้
- อัปเดตซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีแทรกซึมเครือข่ายโดยการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่
- กำหนดแนวทางปฏิบัติในการใช้รหัสผ่านที่รัดกุมในการเข้าถึงบริการขององค์กร ใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัยสำหรับการเข้าถึงบริการระยะไกล
- เลือกโซลูชันการรักษาความปลอดภัยเอ็นด์พอยต์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว เช่น Kaspersky Endpoint Security for Business ที่มีการตรวจจับตามพฤติกรรมและความสามารถในการควบคุมความผิดปกติ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพจากภัยคุกคามที่รู้จักและไม่รู้จัก
- ใช้ผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับการป้องกันเอ็นด์พอยต์ที่มีประสิทธิภาพ การตรวจจับภัยคุกคามและตอบสนองเพื่อตรวจจับและแก้ไขภัยคุกคามใหม่ ๆ และหลบเลี่ยงได้อย่างทันท่วงที Kaspersky Optimum Securityเป็นชุดการป้องกันเอ็นด์พอยต์ที่สำคัญที่เสริมประสิทธิภาพด้วย EDR และ MDR
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
jQuery Mobile
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้งาน jQuery มาซักระยะแล้วหรือผ่านการอบรมในหลักสูตร Introduction to jQuery มาแล้ว ในหลักสูตรนี้จะอธิบายการใช้งาน Framework ตัวล่าสุดของ jQuery...
Introduction to Joomla
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้าง Website ด้วยตัวเองแต่ไม่ถนัดในการเขียนโปรแกรม โดยในหลักสูตรนี้จะพูดถึงการใช้งาน Joomla ซึ่งเป็น CMS ที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก ณ...
Introduction to WordPress
เหมาะสำหรับสำหรับมือใหม่ Non-IT และผู้ไม่มีพื้นฐาน การเขียนเว็บ ทุกท่าน สอนตั้งแต่ พื้นฐาน การลงโปรแกรม จนถึงสร้างเว็บไซต์ได้ด้วย WordPress สำหรับท่าน ที่ต้องการสร้า...
Introduction to OpenCart
เรียนรู้การใช้งาน Server เบื้องต้นโดย DirectAdmin Control Panel และรู้จักการ Upload File ขึ้น Server จริงผ่านโปรแกรม FileZilla เรียนรู้วิธีการติดตั้งระบบ E-Commerce บน Ser...
MySQL for Developer
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเจาะลึกการเขียน SQL statement แบบขั้นเทพเพื่อที่จะได้สามารถดึงเอาความสามารถของ MySQL ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยส่วนมากแล้วเราอาจยังไม่ร...
คำค้นหา : แคสเปอร์สกี้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์การโจมตีทางเว็บภัยคุกคามออนไลน์ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้kaspersky security networkการใช้อินเทอร์เน็ตการโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์อาชญากรไซเบอร์บริการคลาวด์ทั่วโลกการโจมตีของแรนซัมแวร์โฆษณาออนไลน์