แม่จระเข้ออกไข่ “โดยไม่ผสมพันธุ์” เป็นกรณีแรกของโลก-ตะลึงการกำเนิดบริสุทธิ์
แม่จระเข้ออกไข่ – บีบีซี รายงานข่าวกรณีนักวิจัยพบ จระเข้ ที่ตั้งท้องโดยไม่ต้องทำการสืบพันธุ์ได้เป็นกรณีแรกของโลกที่สวนสัตว์แห่งหนึ่งในสาธารณรัฐคอสตาริกา ประเทศในทวีปอเมริกากลาง โดยแม่จระเข้ออกไข่ที่ตัวอ่อนมีพันธุกรรมเหมือนกับตัวเองถึงร้อยละ 99.9
ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “การกำเนิดบริสุทธิ์” (Virgin Birth) ซึ่งพบได้ในนก ปลา และสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นๆ แต่ไม่เคยพบในจระเข้มาก่อน
นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่าการสืบทอดโดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์นี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของสัตว์ที่มีวิวัฒนาการ โดยงานวิจัยครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรอยัล โซไซตี้ ไบโอโลจี เลตเตอร์ส ว่า ไข่ใบนี้เป็นของจระเข้อเมริกัน เพศเมีย วัย 18 ปี ในสวนสัตว์ปาร์เก เรปติลาเนีย เมื่อเดือนมกราคม 2561 โดยตัวอ่อนที่ตายแล้วมีรูปร่างสมบูรณ์ และไม่ได้ฟักออกมาเป็นตัว
ก่อนหน้านี้จระเข้แม่พันธุ์ที่วางไข่ถูกแยกออกจากจระเข้ตัวอื่นตั้งแต่อายุได้เพียง 2 ปี ด้วยเหตุนี้ทีมวิทยาศาสตร์ของสวนสัตว์จึงติดต่อดร.วอร์เรน บูธ ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค ในสหรัฐอเมริกา ให้ทำการศึกษาการเกิดที่บริสุทธิ์นี้ซึ่งรู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า “การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์” (พาร์ธีโนเจเนซิส-Parthenogenesis) เป็นเวลา 11 เดือน
ดร.บูธทำการวิเคราะห์ตัวอ่อนและพบว่ามีพันธุกรรมเหมือนกับแม่ร้อยละ 99.9 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าไข่ใบนี้ไม่มีพันธุกรรมของตัวผู้เลย ดร.บูธบอกกับบีบีซีว่า “ผมไม่ได้ตื่นตกใจกับผลการค้นพบครั้งนี้ เพราะว่าเราพบกรณีนี้บ่อยๆ ในฉลาม นก งู และกิ้งก่า มันจึงเรื่องธรรมดาที่ยอดเยี่ยมและแพร่หลาย”
นอกจากนี้ดร.บูธได้คาดเดาเหตุผลที่ไม่ค่อยพบการเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์ในจระเข้ เนื่องจากผู้คนไม่ได้ให้ความสนใจกับการเกิดของลูกจระเข้มากนัก “ขณะที่ผู้คนเริ่มสนใจเลี้ยงงูก็มีรายงานเกี่ยวกับการเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่คนเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานส่วนใหญ่มักจะไม่เลี้ยงจระเข้”
อีกหนึ่งทฤษฎีคือ มันเกิดขึ้นในสปีชีส์ที่มีความสามารถในการสร้างพาร์เธโนเจเนซิสได้เมื่อจำนวนลดน้อยลงและพวกมันก็ใกล้จะสูญพันธุ์
ดร.บูธกล่าวเสริมว่า “กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้กับไดโนเสาร์บางสายพันธุ์เมื่อจำนวนของพวกมันลดน้อยลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ข้อเท็จจริงที่ว่ากลไกของการเกิดพาร์ธีโนเจเนซิสนั้นเหมือนกันในสปีชีส์ต่างๆ มากมาย และบ่งชี้ว่ามันเป็นลักษณะโบราณที่สืบทอดมาทุกยุคทุกสมัย” ทฤษฏีนี้จึงสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่าไดโนเสาร์สามารถสืบพันธุ์ได้ด้วยวิธีการนี้ได้เช่นกัน
ที่มา: https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_7705001
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
MySQL for Developer
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเจาะลึกการเขียน SQL statement แบบขั้นเทพเพื่อที่จะได้สามารถดึงเอาความสามารถของ MySQL ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยส่วนมากแล้วเราอาจยังไม่ร...
MySQL Server Advanced
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นศึกษาการใช้งานฐานข้อมูล Microsoft SQL Server ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Microsoft โดยจะครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่รุ่น 2005 ถึง 2008 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์...
Basic Programming (พื้นฐานการเขียนโปรแกรม)
สอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรม สำหรับผู้เริ่มต้น เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ทั้งด้านเว็บไซต์ และ desktop โดยจะปูพื้นเทคนิคทางด้านโปรแกรมมิ่ง อาทิ เรื่องของข้อมู...
Basic Visual C#
Visual C# Programming เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก พัฒนาโดย บริษัทไมโครซอฟท์และมี Anders Hejlsberg เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีรากฐานมาจากภาษาซีพลัส...
Java Servlet and JSP Programming
ปัจจุบันเทคโนโลยี Web เป็นที่แพร่หลายและเข้าถึงได้โดยง่าย ดังนั้นหน่วยงานต่าง ๆ จึงออกแบบระบบงานให้อยู่ในรูปของ Web Applications เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข...
Mobile Web Application
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนา Mobile Web Application เพื่อให้สามารถใช้งานได้บน Mobile ทุกๆค่าย ในหลักสูตรนี้จะเน้นการทำ Wrokshop เป็นหลักดังนั้นจึงเหมะสำหรับ ผู...
คำค้นหา : แม่จระเข้ออกไข่ฝันเห็นจระเข้ ตีเลขการกำเนิดบริสุทธิ์virgin birthสัตว์เลื้อยคลานสืบทอดโดยไม่ผสมพันธุ์บรรพบุรุษจระเข้แม่พันธุ์พันธุกรรมสัตว์สัตว์วางไข่