13 สัญญาณโรคแพนิค (Panic Disorder) ภาวะทางจิตที่อันตรายและพบได้บ่อยกว่าที่คิด
เคยไหมกับการเตรียมตัวเต็มพิกัดก่อนออกไปเผชิญโลกภายนอก แต่พอกลับมาจู่ๆ ก็มีอาการระคายคอ ไอแห้งๆ จากร่างกายสบายเต็มร้อยกลับรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีเหตุผล จนอดคิดไม่ได้ว่าเราออกไปเจออะไรมา หรือ #เราติดยังน้า
แม้ว่าจริงๆ แล้วสภาพร่างกายของเรายังสามารถโต้รุ่งดูซีรีส์ได้ทั้งคืนเหมือนปกติ แต่ความกังวลที่ก่อเกิดนั้นมันบอกให้เราอุดอู้อยู่แต่บนเตียง พร้อมนึกไปสารพัดว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ อาการนี้อธิบายตามภาษาโรคได้ง่ายๆ ว่าเรากำลังเกิดภาวะ โรคแพนิค (Panic Disorder) อยู่นั่นเอง
โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร?
โรคแพนิคไม่ใช่โรคที่ทำให้เกิดอาการน่ากังวล แต่ความกังวลต่างหากที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ขึ้น ปฏิกิริยาแรกที่เกิดคืออาการตื่นตระหนก ตกใจกลัว ทั้งโรคนี้ยังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ใกล้ตัวหลายคนที่สุดคงเป็นบรรดาความเครียดที่ถาโถมเข้ามาต่อเนื่องไม่หยุดพัก ตัวอย่างเช่น ความเร่งรีบในชีวิต การอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือจอมือถือเป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลัง หรือแม้แต่คำสั่งล็อกดาวน์ ก็อาจมีส่วนเป็นเหตุของโรคแพนิคได้เช่นกัน และถ้าไม่นับสาเหตุจากความเครียดแล้ว ผลกระทบที่เกิดกับจิตใจอย่างรุนแรง เช่นการสูญเสีย ความผิดหวัง หรือเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ ที่มากพอจะเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนได้ จนส่งผลต่อสารเคมีในสมองเสียสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป ก็เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดอาการแพนิคฉับพลันขึ้นได้เช่นกัน และอาจนับรวมถึงเหตุไกลๆ ในปัจจัยด้านพันธุกรรม ที่ผู้ป่วยบางคนมีโอกาสเกิดโรคแพนิคได้มากกว่า เนื่องจากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล
แล้วสรุปว่าอาการที่เป็นอยู่นี้ คือโรคแพนิคหรือโรคระบาดล่ะ? จริงๆ แล้วในทางการแพทย์ก็มีแบบประเมินเบื้องต้นให้ลิสต์ดูว่าที่เป็นแพนิคอยู่หรือเปล่า แต่ก่อนที่จะเช็คก็ขอแนะนำให้ผ่อนคลายร่างกายลงบ้างเล็กน้อย เพื่อไม่เพิ่มความกังวลให้กัดกินใจมากที่กว่าที่เป็น
13 สัญญาณโรคแพนิค (Panic Disorder)
1.มีอาการใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมาก
2.เหงื่อออก
3.ตัวสั่น มือเท้าสั่น
4.หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจติดขัด
5.รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใน
6.เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
7.คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
8.วิงเวียน โคลงเคลง มึนตื้อ หรือจะเป็นลม
9.ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ เหมือนจะเป็นไข้
10.รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่าๆ (paresthesia)
11.รู้สึกเหมือนสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป (derealization หรือ depersonalization)
12.กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า
13.กลัวว่าตนเองกำลังจะตาย
ในตอนต้นเราเล่าว่าโรคแพนิคไม่ใช่โรคที่ทำให้เกิดอาการน่ากังวล แต่มันจะเป็นอีกกรณีหนึ่ง หากผู้ป่วยมีอาการข้างต้นมากกว่า 4 อาการขึ้นไป รวมถึงอาการยังเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยคาดการณ์ไม่ได้ และตามมาด้วยพฤติกรรมทางลบในหลายๆ ด้านเช่น ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่กล้าอยู่คนเดียว ไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันที่เคยทำเป็นประจำ
PANIC ATTACK
ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คืออาการของ PANIC ATTACK และที่น่ากังวลที่สุดคือสิ่งนี้มักมาพร้อมกับอาการที่น่าเป็นห่วงอื่นๆ ซ้ำยังมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลาราว 1 เดือน (หรือมากกว่านั้น) เช่น โรคกลัวที่ชุมชน (Agoraphobia), โรคกลัวเฉพาะอย่าง (Specific Phobia), โรคกลัวสังคม (Social Phobia) รวมถึงโรคทางจิตเวชอื่นๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือแม้แต่กับโรคซึมเศร้า
แม้อาการครึ่งหลังของโรคแพนิคจะเป็นสิ่งที่น่ากังวล (แบบน่ากังวลจริงๆ) แต่ใช่ว่าโรคนี้จะไม่มีทางรักษา แพทย์หญิงพรทิพย์ ศรีโสภิต ผู้ชำนาญการด้านจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่าโดยทั่วไป โรคแพนิคจะแบ่งการรักษาออกเป็น 2 วิธี หนึ่งคือการรักษาด้วยยา โดยใช้ตัวยาเข้าไปปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมอง ใช้เวลารักษาประมาณ 8-12 เดือน ขึ้นกับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคในแต่ละตัวบุคคล
อีกวิธีหนึ่งคือการรักษาทางใจ หรือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม สามารถทำได้หลากหลายแบบ เช่นพยายามรู้เท่าทันอารมณ์และมีสติบอกกับตัวเองว่าอาการดังกล่าวเป็นเรื่องชั่วคราว สามารถหายได้ หรือใช้วิธีการฝึกฝนเพื่อรักษาอาการในรูปแบบต่างๆ ทั้งการฝึกคลายกล้ามเนื้อ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก และฝึกหายใจในกรณีผู้มีอาการหายใจไม่อิ่ม โดยให้หายใจเข้า-ออก ลึกๆ ช้าๆ เพื่อเบนความสนใจของอาการ และทำให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวจนเริ่มผ่อนคลายและอาการค่อยๆ ดีขึ้น
“โดยการรักษาโรคแพนิคให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด คือใช้วิธีการสองด้านทั้งตัวยาและการรักษาจิตใจควบคู่กันไป พร้อมกับมีสติไม่แตกตื่นกับโรคมากเกินไป เพื่อให้ผู้ป่วยหลังการรักษากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และไม่ต้องกังวลใจกับอาการนั้นๆ อีกต่อไป”
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Laravel 5 Basic
หลักสูตร Laravel 5 นี้ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นก้าวสู่การใช้งาน PHP Framework ยอดนิยมอย่าง laravel 5 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดของ laravel ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง แ...
Laravel 5 Intermediate
หลักสูตร Intermediate Laravel 5 นี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรพื้นฐาน (Basic Lararvel 5) มาแล้ว โดยเนื้อหาในหลักสูตรนี้จะเน้น ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่มีประโยชน์ในการ...
Laravel 5 Advanced
หลักสูตร Advanced laravel 5 เป็นหลักสูตรขั้นสูง โดยเนื้อหาในหลักสูตรนี้จะเน้น ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่มีประโยชน์ในการนำมาประยุกต์พัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น ...
หลักสูตร Basic R Programming
R เป็นภาษาและโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการคำนวณทางสถิติและสร้างกราฟประเภทให้เปล่า ( free open source package ) เหมาะทั้งสำหรับการเขียนโปรแกรมเอง และใช้แบบโปรแกรมสำเร็จรูป มีฟั...
หลักสูตร MongoDB
MongoDB เป็น database แบบ Document-Oriented โดยลักษณะข้อมูลที่ทำการเก็บจะคล้ายกับ JSON เป็นอย่างมาก มีข้อดีอย่างมากคือ Row แต่ละ Row ไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลเหมือนกั...
คำค้นหา : โรคแพนิคเราติดยังน้าอาการน่ากังวลจอคอมพิวเตอร์ล็อกดาวน์ปัจจัยด้านพันธุกรรมอาการใจสั่นใจเต้นแรงหายใจไม่อิ่มเจ็บหน้าอกครั่นเนื้อครั่นตัวโรคกลัวที่ชุมชนโรคกลัวเฉพาะอย่างโรคกลัวสังคมโรคย้ำคิดย้ำทำโรคซึมเศร้า