8 สิ่งที่ควรทำ หากไม่อยากเสี่ยงภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือ

8 สิ่งที่ควรทำ หากไม่อยากเสี่ยงภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือ

หมวดหมู่: บทความทั่วไปMobile AppsAndroidiOSSoftware ReviewHardware ReviewTip & Technic

หลายคนมองโทรศัพท์มือถือเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งในการติดต่อ แล้วก็ใช้งานกันแบบไม่ค่อยได้สนใจ ชนิดที่ว่าเครื่องพังเครื่องหายก็ซื้อมาใหม่ ไม่เคยได้ยี่หระ แต่บางคนกลับมองว่าโทรศัพท์มือถือเหมือนคลังเก็บอาวุธหรือตู้เซฟเก็บของดีๆ นี่เอง เพราะหลายครั้งที่เราเก็บสิ่งต่างๆ เอาไว้ในนี้ เพราะเราเชื่อมั่นว่า โทรศัพท์มือถือ จะกลายเป็นเครื่องมือที่รวบรวมเอาสิ่งต่างๆ มากมายในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน เพื่อการใช้งานในโอกาสต่างได้ตลอดเวลา ที่ว่ามีความคล้ายกับตู้เซฟ ก็เพราะในนั้นเก็บของมีค่าเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งทำธุรกรรมออนไลน์ พาสเวิร์ด ภาพหรือสุดประทับใจและเบอร์โทรติดต่อในการทำธุรกิจอีกมากมาย ซึ่งจะมองด้วยเหตุผลใด ก็ถือเป็นของมีค่ายิ่ง ถ้าหลุดรอดออกไปรับรองต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นมากกว่าราคาโทรศัพท์อย่างแน่นอน เพราะเหตุนี้จึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษในการที่จะใช้งานและการดูแลรักษา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างการใช้งานโทรศัพท์มือถือ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถปลอดภัยตลอดรอดฝั่ง และยังมั่นใจได้

1 ดูแลใกล้ชิดดุจญาติมิตรกันไป เรื่องนี้ใครจะว่าโอเวอร์เกินไป ก็ไม่ว่ากัน เพราะเป็นเรื่องที่ต่างกรรม ต่างวาระ หากเราดูแลให้ดี โอกาสที่จะหายก็น้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหลักพันหรือหลักหมื่น ถ้าหายไป ก็ไม่ต่างจากการทำเงินหายนั่นเอง แต่ถ้าเราลองนึกดูดีๆ ว่า ถ้าในโทรศัพท์มือถือนั้น มีข้อมูลสำคัญเก็บอยู่ ไม่ว่าจะเป็น รูปถ่ายคู่ที่แสนประทับใจที่ไปเที่ยวกันหรือมีข้อความบอกรักกันครั้งแรก ที่ไม่สามารถทำขึ้นมาใหม่ได้อีกแล้วหรือจะเป็นข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อซื้อขายสินค้า รวมถึงแอคเคาต์ที่เอาไว้ใช้ในการพูดคุยบนเว็บบอร์ดต่างๆ สิ่งเหล่านี้ก็จะหายตามไปด้วยและเชื่อว่าน้อยคนที่มีการเตรียมตัวเอาไว้ ดังนั้นการ จัดเก็บโทรศัพท์มือถือให้ปลอดภัย น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดก่อนจะสายไป ซึ่งก็มีวิธีร้อยแปด เช่น ไม่วางทิ้งหรือชาร์จไว้ ไม่มีคนดูแล ระวังโดนล้วงเมื่อใส่กระเป๋าสะพายเมื่อเดินทาง ไม่เล่นโทรศัพท์ระหว่างทางเดินเปลี่ยวๆ เก็บในที่ปลอดภัย อย่าให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากมนุษย์หรือภัยจากธรรมชาติก็ตาม ร้อน หนาว ฝน ล้วนมีผลต่อโทรศัทพ์มือถือด้วยกันทั้งนั้น

2 ล็อคโทรศัพท์ทุกครั้ง เป็นวิธีที่แสนจะง่ายและส่วนใหญ่ก็ทำได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่ว่าจะเคยใช้ฟีเจอร์โฟนหรือสมาร์ทโฟนต่างก็มีให้ล็อคหน้าจอกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้กันหรือไม่ แต่การใช้ Lock screen แม้จะไม่ได้ปลอดภัยสูงสุด แต่อย่างน้อยก็ช่วยลดปัญหาบุคคลภายนอกมาแอบใช้หรือเปิดดูมือถือเรา ซึ่งบางทีก็แค่อยากรู้อยากเห็น แต่บางคนอาจจะอยากจะเก็บข้อมูลสำคัญจากเราหรือถ้าบางครั้งขโมยเอาไป ก็ยังพออุ่นใจหรือประวิงเวลาได้บ้างในการติดตามหรือหาทางแก้ไข ซึ่งอาจจะยังเข้าไม่ถึงข้อมูลของเราได้ทั้งหมด โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญประเภทที่ต้องเข้าไปในเครื่องแล้วล็อคอิน ยกเว้นสิ่งที่อยู่เมมโมรีการ์ด ที่อาจจะกลายเป็นเป้าหมายต่อไป เลือกเอาวิธีล็อคหน้าจอไว้สักแบบตามถนัด ว่าจะเป็น Pattern หรือจะใส่เป็นรหัสแทนก็ยังได้

3 สำรองข้อมูลและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญไม่ต่างจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คเลยด้วยซ้ำ เพราะทุกครั้งเราก็ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญ ไม่ต้องรอให้เครื่องหาย หากจัดเก็บเอาไว้ก่อนได้ ยิ่งเป็นเรื่องดี เพราะไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสเก็บอีกเมื่อไร เกิดโทรศัพท์หล่นหาย โดนขโมยหรือเสียหายจากอะไรก็ตาม หากเราซิงก์ข้อมูลเอาไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทร รูปถ่ายหรือบันทึกต่างๆ ก็สามารถซิงก์ได้ผ่านอีเมล์แอคเคาต์ แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่เป็นไฟล์ใหญ่ๆ อย่าง รูปภาพ เพลงหรือไฟล์งานอื่นๆ ก็ใช้วิธีหาพื้นที่เก็บข้อมูล ซึ่งหากไม่สะดวกในการจัดเก็บ เช่น ฮาร์ดดิสก์เต็ม โน๊ตบุ๊คไม่ว่าง ก็อาจจะใช้บริการจาก Free email หรือ Cloud Computing ที่มีให้บริการมากมายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น Dropbox, Google Drive หรือ SugarSync เป็นต้น

4 เก็บเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น เป็นไปได้ก็ควรจัดระเบียบและเรียงตามความสำคัญในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เลือกเก็บเฉพาะข้อมูลที่สำคัญและต้องใช้งานจริงๆ เป็นประจำ ไม่ควรเก็บแบบพร่ำเพรื่อ เพราะจะทำให้เราไม่มีระเบียบหรือความรู้สึกที่จะอยากจัดการกับข้อมูลต่างๆ ภายในเครื่อง นอกจากนี้การเก็บเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ ก็ยังช่วยลดภาระไม่ต้องหาพื้นที่ใหญ่ๆ เพื่อจะเก็บไฟล์ที่บางครั้งไม่เกิดประโยชน์ในการใช้งานเลยด้วยซ้ำ ซึ่งบางทีก็ต้องมองด้วยว่าไฟล์ที่จะใส่ไว้ในโทรศัพท์มือถือสำคัญแค่ไหน หากมีผลต่อความปลอดภัยหรือไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องใส่ไว้ในโทรศัพท์ก็ควรระงับ ไม่ควรเอามาใส่ให้ต้องลำบากใจนั่นเอง ข้อนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้เอง ว่ามีข้อมูลในส่วนใดที่ต้องจัดการกันบ้าง

5 แจ้งผู้ให้บริการ เมื่อโทรศัพท์หาย ข้อนี้ก็สำคัญ เมื่อโทรศัพท์หายก็ควรต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน เรื่องหนึ่งที่ต้องทำเลยก็คือ การแจ้งให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ อย่างน้อยๆ ก็ญาติ พี่น้องและเพื่อน เพื่อส่วนหนึ่งจะเป็นการป้องกันการเข้าใจผิดหรือมีผู้ไม่หวังดีติดต่อไปหลอกคนใกล้ตัวของเราอีกทีหรือก็อาจจะมาช่วยเราหาอีกแรงหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งที่ต้องแจ้งเลยก็คือ เรื่องของบัญชีที่ใช้ในการติดต่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ e-Banking, e-Transaction รวมไปถึงผู้ให้บริการที่จะต้องแจ้งปิดการใช้งานระบบล็อคอินต่างๆ ชั่วคราวและปิดแบบถาวรในกรณีที่ไม่เจออย่างแน่นอนแล้ว

6 ติดตั้งโปรแกรมเท่าที่จำเป็น ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องคิดให้หนัก โดยอาจจะเลือกติดตั้งจากผู้พัฒนาที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาแอพฯ ที่มีความเสี่ยง อย่างเช่น มีไวรัสหรือมัลแวร์ติดมาด้วย ซึ่งจะทำให้การใช้งานโทรศัพท์มือถือไร้ความปลอดภัย เพราะมีแอบดักข้อมูลสำคัญและส่งไปยังต้นทางของผู้ไม่หวังดี รวมถึงอาจมีปัญหาได้ในภายหลัง อีกทั้งการติดตั้งแอพฯ ที่ไม่มีคุณภาพ ก็อาจส่งผลต่อเสถียรภาพในการทำงานของเครื่อง อาจทำให้เปลืองแบตฯ มากยิ่งขึ้นหรือเครื่องช้าอืด จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกตินั่นเอง

7 อัพเดตระบบปฏิบัติการและโปรแกรมให้ใหม่เสมอ การอัพเดตระบบต่างๆ ให้ใหม่และทันสมัย ส่วนใหญ่นอกจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบของอินเทอร์เฟสหรือการใช้งานบางอย่างแล้ว สาเหตุหลักอีกอย่างหนึ่งก็คือ การอุดรอยรั่วและแก้ไขในจุดที่เป็นปัญหาของระบบ ส่งผลให้การทำงานของโทรศัพท์มือถือมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการอัพเดตระบบให้มีความสดใหม่ แม้อาจจะดูว่าเห่อของใหม่ไปหรือเปล่า แต่หลายคราวก็หมายถึงการใช้งานที่อุ่นใจมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากการแจ้งเตือนของผู้ให้บริการ ที่อาจจะแจ้งมาเป็นอีเมล์หรือข้อความของระบบให้ได้ทราบทั่วกัน

8 ทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยความระมัดระวัง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหมั่นท่องให้ขึ้นใจ ว่าไม่มีสิ่งใดปลอดภัย 100 เปอร์เซนต์ การใช้วิจารณญาณ การตรวจเช็คและสังเกต จะช่วยให้การใช้งานบนโทรศัพท์มือถือปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุกรรมทางการเงินบนโลกออนไลน์ที่ต้องอาศัยความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าจะใช้งานผ่านบัญชีธนาคาร การซื้อขายหรือการทำธุรกรรมอื่นใดก็ตามแต่ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ก็ต้องตรวจสอบได้ทุกครั้ง ทั้งในส่วนของเว็บไซต์และการล้อคอิน ที่วันนี้มีมหันตภัยอย่าง ฟิชชิ่ง (Phishing) หรือมัลแวร์ ที่จะคอยดักและเก็บข้อมูล บางครั้งก็ลวงให้เราเผลอไปโดนกับดักที่วางไว้อีกด้วย การใช้งานทุกครั้ง ต้องไม่วางใจ ตรวจสอบเอาไว้ให้ดี

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัยและวิธีการเตรียมตัวในเบื้องต้น เพื่อให้คนที่ใช้งานไม่พลาดและเกิดความเสียหายในทรัพย์สิน ที่ต้องบอกว่ากว่าจะหามาได้เลือดตาแทบกระเด็นกันเลยทีเดียว

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ 

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
user
โดย Admin ITGenius
เข้าชม 3,924 ครั้ง

คำค้นหา : การดูแลโทรศัพท์การทำธุรกรรมทางโทรศัพท์การสำรองข้อมูลการแจ้งผู้ให้บริการการติดตั้งโปรแกรมเท่าที่ใช้การอัพเดตซอฟแวร์ให้เสมอการเก็บข้อมูลที่สำคัญ ๆ มือถือโทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการ IOSระบบปฏิบัติการ Androidวิธีการใช้มือถือให้ปลอดภัยการใช้งานโทรศัพท์เทคนิคการใช้งานมือถือ