Facebook เผย ประเทศไทย นำเทรนด์ซื้อสินค้าผ่านการแชทออนไลน์มากที่สุดในโลก

Facebook เผย ประเทศไทย นำเทรนด์ซื้อสินค้าผ่านการแชทออนไลน์มากที่สุดในโลก

หมวดหมู่: บทความทั่วไปข่าวไอที

Facebook เผย ประเทศไทย นำเทรนด์ซื้อสินค้าผ่านการแชทออนไลน์มากที่สุดในโลก
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา Facebook (เฟซบุ๊ก) ได้เผยข้อมูลที่น่าสนใจอันว่าด้วยประเทศไทยนั้น “เป็นผู้นำเทรนด์ในการซื้อขายสินค้าผ่านการแชทออนไลน์มากที่สุดในโลก” 

นอกเหนือจาก Facebook จะเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมิเดียในการผูกให้คนทั่วโลกได้รู้จักกันอย่างมีสัมพันธไมตรีแล้ว (รวมไปถึงอนาคตกำลังจะกลายเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยี) หนึ่งในพันธกิจของพวกเขาคือการช่วยเหลือภาคธุรกิจให้มีการเจริญเติบโตและต่อสู้กับการ Disrupt ในภายภาคหน้าได้อย่างยั่งยืน

โดยล่าสุดก็ได้ร่วมจัดทำรายงานกับ Boston Consulting Group (BCG) บริษัทค้นคว้าข้อมูลที่มีสาขาในประเทศไทยมาโดยประมาณ 15 ปี “ด้วยการสำรวจจาก 9 ประเทศร่วม 8,864 คนทั่วโลก และในประเทศไทยได้ทำการสัมภาษณ์เป็นจำนวน 1,234 คน (28 จังหวัด, ต่างอายุและรายได้) ซึ่งประเทศไทยชนะเลิศทั้ง 9 ประเทศ”

โดย BCG ได้อธิบายรายละเอียดว่า ประเทศไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตที่ติดอันดับโลกอยู่แล้ว และสืบเนื่องเป็นประเทศที่นิยมใช้งาน Facebook หรือโซเชียลมิเดียต่าง ๆ จนส่งทอดมายังมีการซื้อขายผ่านการแชตบนโลกออนไลน์ หรือ Conversational Commerce มากที่สุดในโลก

โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจผู้ใช้งานบน Facebook แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้คนชอบที่จะมีการปฎิสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกันมากกว่าการเป็นแชตบอท เพราะการแชตจะสามารถทำอะไรได้ด้วยไปพร้อม ๆ กันซึ่งมากกว่าการโทรคุยด้วยเสียอีก

นอกจากนี้อีกข้อมูลที่น่ารับทราบไว้ คือ การรับรู้ว่าแชตออนไลน์บนโซเชียลมิเดียในไทยมีมาก 86% รับความรู้ข้อมูลจากสินค้าต่าง ๆ ผ่านผู้ทรงอิทธิพล (Influence) ที่ 61% และตัดสินใจซื้อสินค้าเหล่านั้นอยู่ที่ 40% ซึ่งมากกว่าอเมริกา ที่มีรับรู้ว่าแชทออนไลน์บนโซเชียลมิเดียในไทยอยู่ที่ 44%, และตัดสินใจซื้อสินค้าเพียง 5% เท่านั้น (ส่วนรับความรู้ข้อมูลจากสินค้าต่างๆ ผ่านผู้ทรงอิทธิพลทาง BCG ไม่ได้ยกความแตกต่างมากเปรียบเทียบ)

และแน่นอนว่าผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านการแชทออนไลน์คือประชากรหญิงโดยคิดเป็น 48% แต่ทั้งนี้ ประชากรชายก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 34% โดยคนส่วนใหญ่ที่ซื้อบนออนไลน์รายได้จะค่อนข้างสูง และสถานที่อาศัยจะใกล้กับหน้าร้าน และ 3/4 บอกว่าจะซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าช่องทางอื่นๆ แต่กลุ่มอื่นๆ ก็ค่อยๆ ทยอยโตขึ้น

นอกจากนี้ BCG และ Facebook ยังได้เผยถึงการคาดคะเนในอนาคตของธุรกิจการค้าว่าที่มีหน้าร้านว่าจะไปในทิศทางไหน? ซึ่งคำตอบคือบรรดาห้างร้านต่างๆ จะยังคงอยู่ต่อไปได้แค่ต้องมีการปรับตัว เพราะการซื้อขายบนโลกออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่

แต่หลายคนและหลายองค์กรหรือบริษัทอาจยังไม่เข้าใจรูปแบบการซื้อขายประเภทนี้เท่าไหร่ และจากการสำรวจ การซื้อขายออนไลน์ไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องกับจังหวัด หรือสถานที่ใกล้กับหน้าร้านเลย หากแต่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

สาเหตุเพราะโซเชียลมีเดียคือแพลตฟอร์มแรก ๆ ที่การซื้อขายออนไลน์ (การเข้าถึงร้านค้าต่าง ๆ บนเพจร้านค้าง่ายดายและให้ความรู้สึกลื่นไหล ไร้รอยต่อ) รองลงมาคือเว็บไซต์

เพื่อช่วยให้ร้านค้าตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น ๆ ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา Facebook ได้เปิดตัวแคมเปญออนไลน์ในชื่อ “การค้าขายในยุคของการสนทนา (Commerce in The Era of Conversation)”

โดยจัดทำเป็นสมุดปกขาว คู่มือข้อมูลเชิงลึก แรงบันดาลใจ และแนวปฎิบัติที่ดีที่สุด เพื่อช่วยให้ร้านค้าและลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การสนทนาที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ htttps://facebook.com/business/m/cc/messenger และ https://facebook.com/business/m/cc/whatapp

ที่มา:

ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting

ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFe
Facebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th

แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ

user
โดย เอ็นโอไอ ไอทีจีเนียส
เข้าชม 1,402 ครั้ง

คำค้นหา : facebookการแชทออนไลน์โซเชียลมิเดียboston consulting groupการใช้อินเทอร์เน็ตconversational commerceการซื้อขายออนไลน์เฟซบุ๊กผู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีช่องทางออนไลน์