[How to] สร้างเนื้อหาบน Facebook และ Instagram ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง
ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยเดินหน้ารับมือการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สาม ซึ่งอยู่ในช่วงเดียวกันกับวันแห่งการตระหนักถึงความเท่าเทียมกัน หรือ Global Accessibility Awareness Day นั้น Facebook ประเทศไทย ร่วมนำเสนอเคล็ดลับสำหรับการเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์อย่างเท่าเทียมเพื่อเชื่อมต่อทุกๆ ชุมชนเข้าด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่มีความพิการด้วย
รายงานการสำรวจจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่จัดทำขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ระบุว่ามีผู้พิการขึ้นทะเบียนในระบบกว่า 2 ล้านคนในประเทศไทย หรือหมายความว่าทุกๆ 100 คน จะมีผู้พิการประมาณ 3 คน โดยในจำนวนดังกล่าว มีผู้พิการกว่าหนึ่งล้านคนที่ประสบปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และมีอีกหลายแสนคนที่ต้องใช้ชีวิตกับการมองเห็น หรือการได้ยินที่บกพร่อง หรือมีภาวะบกพร่องทางสมอง
พันธกิจของ Facebook คือการเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายต่างๆ ด้วย ความสามารถในการการเข้าถึงข้อมูลถือเป็นการสร้างโอกาสไปสู่สิ่งใหม่ๆ และสังคมก็ล้วนได้รับประโยชน์เมื่อทุกคนสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ในปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานชาวไทยกว่า 160,000 คน เป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆ บน Facebook กว่า 770 กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันประสบการณ์ การอาสาสมัคร การบริจาค การให้การสนับสนุน และการหางานสำหรับผู้ที่มีความพิการ
เป้าหมายของเราคือ การสร้างผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าพวกเขาจะมีความแตกต่างทางด้านร่างกายอย่างไร Facebook จึงเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีการเข้าถึงเนื้อหาอย่างเท่าเทียม (accessibility) แบ่งปันประสบการณ์การทำงานด้านนี้เพื่อต่อยอดการพัฒนาและเรียนรู้ เน้นการอบรมเกี่ยวกับการเข้าถึงเนื้อหาอย่างเท่าเทียมในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และร่วมสร้างมาตรฐานใหม่บนโลกออนไลน์เพื่อให้อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่นฟีเจอร์คำบรรยายใต้ภาพ
ซึ่งรวมไปถึงการบรรยายแบบเรียลไทม์สำหรับวิดีโอบน Facebook Live หรือฟีเจอร์ข้อความกำกับภาพ (Automatic Alt Text) ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการสร้างคำบรรยายแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ใช้งานโปรแกรมอ่านหน้าจอ โดยสามารถบรรยายได้ทั้งเนื้อหาแบบข้อความหรือบรรยายรูปภาพแบบละเอียด และภายในเดือนนี้ เราก็จะเพิ่มเทคโนโลยีข้อความบรรยายวิดีโอแบบอัตโนมัติในกลุ่มต่างๆ บน Facebook ในภาษาท้องถิ่น รวมถึงภาษาไทยเพื่อทำให้เนื้อหาวิดีโอนั้นเข้าถึงคนทุกกลุ่มได้ง่ายขึ้น
คุณแม๊กซ์ ซิมป์สัน ผู้ก่อตั้ง Steps with Theera ศูนย์ฝึกทักษะอาชีพให้กับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ มีความเชื่อว่าคนเราทุกคนล้วนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี และใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม โดยเขากล่าวว่า “ในยุคดิจิทัลนี้ ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ที่ยอมรับทุกคนในแบบที่พวกเขาเป็น การสร้างชุมชนบนโลกออนไลน์ที่ให้การยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน จะช่วยทำให้พวกเรารู้สึกมีศักยภาพในการทำสิ่งต่างๆ และมีความมั่นใจในตัวเอง ทั้งยังเชื่อมโยงเราเข้าด้วยกันในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้”
ในขณะที่ผู้คนยังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับบ้านเพื่อลดความเสี่ยง และเลือกที่จะใช้ช่องทางออนไลน์ในการเชื่อมต่อถึงกันนั้น การคำนึงถึงผู้พิการ หรือผู้ที่อาจมีข้อจำกัดในด้านต่างๆ ก่อนที่จะโพสต์เนื้อหาลงบน Facebook และ Instagram ก็เป็นสิ่งสำคัญ เราจึงขอนำเสนอเคล็ดลับดีๆ ที่จะทำให้โพสต์ของคุณนั้น เป็นโพสต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง และเข้าใจได้
ใช้ภาษาเรียบง่าย
เลือกใช้คําที่เข้าใจง่ายและประโยคที่สั้น กระชับ ได้ใจความ ประโยคที่ยาวเกินไปอาจทําให้เข้าใจยาก หากคุณเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็แนะนําให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของตัวอักษรแรกเมื่อขึ้นต้นประโยคเท่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้ที่มีความบกพร่องด้านสมองหรือมีปัญหาในการอ่านตัวหนังสือ
การใช้แฮชแท็ก
สําหรับภาษาอังกฤษ ขึ้นต้นคําด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกครั้งสําหรับการเขียนแฮชแท็ก เช่น ใช้ #BestFriendForever แทน #bestfriendforever วิธีนี้เรียกว่า CamelCase หรือการเขียนติดกันโดยไม่เว้นวรรค โดยจะช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถอ่านแฮชแท็กได้แม่นยํามากขึ้น
สัญลักษณ์อีโมจิ
หลีกเลี่ยงการสร้างอีโมติคอนจากตัวอักษร เช่น ̄_(ツ)_/ ̄ เนื่องจากผู้ใช้งานหลายคนไม่สามารถอ่านหรือถอดความหมายได้ และยังยากต่อฟีเจอร์ช่วยอ่าน (screen reader) ในการอ่านคําให้ผู้พิการทางสายตา ควรใช้สัญลักษณ์อีโมจิหรือรูปเล็กๆ เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกหรือบอกกล่าวความคิดของคุณ
การใช้สี
ข้อความต่างๆ จะอ่านได้ยากขึ้นเมื่อปรากฏอยู่บนรูปภาพที่มีความซับซ้อน หากต้องวางเนื้อหาลงบนรูป แนะนําให้สร้างสีพื้นหลังที่มีค่าความแตกต่างของสี (คอนทราสต์) สูงเพื่อช่วยแยกตัวข้อความออกจากภาพพื้นหลัง
รูปภาพ
ใส่คําบรรยายสั้นๆ ประกอบรูปภาพบนโพสต์ของคุณ หรือที่เรียกว่า ข้อความอธิบายรูปภาพ (alt text) ซึ่งจะช่วยอ่านออกเสียงคําบรรยายของรูปภาพให้กับผู้ใช้งานที่บกพร่องทางการมองเห็น อธิบายรูปภาพด้วยคําที่สั้นกระชับ แต่เก็บใจความสําคัญได้ครบถ้วน เช่น “เดินเล่นในสวนกับน้องหมาตัวใหม่” คุณอาจเลือกเพิ่มคําบรรยายแต่ละรูปภาพที่คุณโพสต์ ยิ่งใช้ถ้อยคําง่ายเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น การใช้คำสั่ง atl + text กับรูปภาพที่โพสต์บน Facebook หรือ Instagram ทำได้โดยการปรับ (edit) รูปภาพขณะหรือหลังอัพโหลด ให้เลือกเมนู change/edit alt txt หรือคลิกที่เมนูสามจุดเมื่อโพสต์รูปภาพแล้วเพื่อเพิ่มคำบรรยาย
ภาพเคลื่อนไหว GIF
ภาพเคลื่อนไหวบางชนิดที่มีแสงจ้า มีการกระพริบหรือไฟสาดไปมา จะทําให้ยากต่อผู้ใช้งานที่มีความบกพร่องทางสมองหรือการเรียนรู้ ในการเข้าใจในสิ่งที่คุณจะสื่อ ยิ่งไปกว่านั้นภาพเคลื่อนไหวประเภทนี้อาจทําให้บางคนเกิดอาการชักได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าว แนะนําให้ภาพเคลื่อนไหวของคุณขยับไปมาด้วยความเร็วน้อยกว่า 3 ครั้งต่อวินาที และเคลื่อนไหวไม่นานกว่า 5 วินาที
การใช้เสียงประกอบ
อย่าลืมใส่คําบรรยายข้อความประกอบไฟล์เสียงต่างๆ นอกจากจะช่วยอํานวยความสะดวกให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยินแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานที่รับชมวิดีโอในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน หรือในเวลาที่พวกเขาไม่ต้องการเปิดเสียงและไม่มีหูฟังอยู่กับตัว คําบรรยายที่ดีควรอธิบายการใช้เสียงประกอบต่างๆ และระบุว่าใครกําลังพูดอะไรอยู่
วิดีโอ
ควรใส่คําบรรยายให้กับวิดีโอเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้ามารับชมคอนเทนต์ของคุณได้เลย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้คนทั่วไปสามารถเลือกรับชมวิดีโอได้แม้อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน หรือในกรณีที่ไม่มีหูฟังอยู่กับตัว
คําบรรยายทําได้ง่ายๆ เพียงแค่ใส่ข้อความอธิบายว่ากําลังพูดถึงอะไรอยู่ ควรใส่คําบรรยายเสียงประกอบต่างๆ ลงไปด้วยและระบุว่าใครกําลังพูดประโยคไหนอยู่
ที่มา:
ไอทีจีเนียส เอ็นจิเนียริ่ง (IT Genius Engineering) ให้บริการด้านไอทีครบวงจร ทั้งงานด้านการอบรม (Training) สัมมนา รับงานเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น งานออกแบบกราฟิก และงานด้าน E-Marketing ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้ง SEO , PPC , และ Social media marketting
ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @itgenius (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/xoFlBFeFacebook : https://www.facebook.com/itgeniusonline
Tel : 02-570-8449 มือถือ 088-807-9770 และ 092-841-7931
Email : contact@itgenius.co.th
แนะนำหลักสูตรอบรมที่น่าสนใจ
Pinnacle Studio™ 16 Training
This training will be your indispensable guide to unlocking the incredible editing power within Pinnacle Studio 16. This product is loaded with a host of revolutionary new...
Web Services Using C# and ASP.NET
การสร้าง Web Service และการเรียกใช้งาน Web Service โดยใช้ C# และ ASP.NET สำหรับผู้เริ่มต้นจนถึงประยุกต์ใช้งาน หลายคนคงจะเข้าใจความหมายของคำว่า Web Service...
หลักสูตรสร้างเว็บด้วย Adobe Muse CC
เป็นหลักสูตรที่ทำให้ผู้ที่สนใจสามารถออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นดีไซน์ได้อย่างง่ายๆ และรวดเร็ว ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีพื้น ฐานมาก่อน ก็สามารถเรียนได้ เพียงแค่หลักการง่าย ๆ ในการใ...
Autodesk Maya 2014 Basic
โปรแกรม Maya เป็นโปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ และงาน 3D Animation ที่มีผลงานระดับโลกมากมายหลายชิ้นด้วยกัน เป็นโปรแกรมที่มีผู้นิยมใช้งานเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะความสามารถที่คร...
Advanced iOS Development
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานการพัฒนาโปรแกรมบน iOS แล้วต้องการศึกษา เพิ่มเติมในการ เขียน โปรแกรมติดต่อกับไฟล์และฐานข้อมูล ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานระบบ...
คำค้นหา : facebookinstagramการระบาดของโควิด-19โลกออนไลน์อินเทอร์เน็ตfacebook liveเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์steps with theeraสัญลักษณ์อีโมจิการใช้แฮชแท็กภาพเคลื่อนไหว gifวิดีโอการใช้เสียงประกอบcamelcase